การกินเค็มหรือการบริโภคโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ผู้ที่มีค่าไตสูงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไตและส่งเสริมให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
กรมบัญชีกลางปรับหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันที่อยู่ในภาวะวิกฤตและได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง เบิกจ่ายค่ารักษาวันแรกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มวันที่ 1 เม.ย.นี้
อย่างที่ทราบกันดีว่าการรับประทานของทอดนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไขมันจากของทอดไปสะสมในร่างกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าของทอดส่วนใหญ่มักจะมีแคลอรีสูง สามารถทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย และยังสามารถทำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบและหัวใจตีบตันได้ ล่าสุดมีข้อมูลว่าการรับประทานของทอดเช่นไก่ทอดบ่อย ๆ หรือทุกวันสามารถทำให้เกิดเป็นโรคไตเรื้อรังได้ ข้อมูลนี้จะจริงหรือไม่ น้ำมันที่ร้านใช้ทอดไก่มีผลต่อการทำงานของไตด้วยหรือไม่ หากเปลี่ยนเป็นการทอดด้วยการใช้หม้อทอดไร้น้ำมันจะยังคงเป็นอันตรายต่อไตหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ พญ.ธันยธร วุฒิพุธนันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
ผลไม้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด และยังช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถรับประทานผลไม้ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยโรคไต ซึ่งมีข้อมูลว่าการรับประทานแตงโมที่มากเกินไปเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตข้อมูลนี้จริงหรือไม่ อันตรายรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่ รวมถึงนอกจากแตงโมแล้วยังมีผลไม้ชนิดอื่นที่ผู้ป่วยโรคไตจะต้องระมัดระวังในการรับประทานอีกหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ พญ.ณัฏฐา ส้ำเลิศกุล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคไตในภาวะวิกฤต รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
ก่อนหน้านี้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของโซดามินท์ในสื่อสังคมออนไลน์ว่าสามารถช่วยปรับสมดุลกรดด่างของเลือด ลดการสะสมยูริค ชะลอวัย และชะลอโรคไตได้ ทำให้คนเกิดข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วโซดามินท์คืออะไร สามารถช่วยชะลอวัยและโรคไตได้จริงหรือไม่ ? . จริง ๆ แล้วโซดามินท์ควรใช้กับกลุ่มผู้ป่วยใด และหากมีการซื้อรับประทานจะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ? . ร่วมพูดคุยกับ ผศ. ภก.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
หากพูดถึงการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เรามักจะทราบดีว่าอาหารรสชาติเค็ม หรือมีโซเดียมนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดโรคไตสูง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี และกว่าร่างกายจะแสดงอาการที่บ่งชี้ถึงโรคไต ผู้ป่วยก็เข้าสู่ระยะที่ 4 ซึ่งไตทำงานได้เพียง 30% เท่านั้น ดังนั้นระยะของโรคจึงมีความสำคัญการรักษา ล่าสุดนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดโรคไตด้วยการอ่านผลบนสมาร์ตโฟน ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyThaiInvention
แพทย์สหรัฐฯ ปลูกถ่ายไตหมูให้ผู้ป่วยชายวัย 62 ปี ได้สำเร็จ โดยไตหมูที่ใช้ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ และลดโอกาสที่ร่างกายจะปฏิเสธอวัยวะ ซึ่งการปลูกถ่ายไตหมูก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นในผู้ป่วยสมองตาย ดังนั้น ความสำเร็จครั้งนี้ จึงถือเป็นก้าวใหม่ในการนำอวัยวะสัตว์มาช่วยต่อชีวิตมนุษย์
มารู้จักรังสีเพื่อการรักษาโรค วิธีการรักษาเนื้องอกทั้งชนิดมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงซึ่งสามารถทำลายสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ติดตามความรู้จาก พญ.น้ำฝน ทวีอัสนี ผู้ช่วยคณบดีด้านบริหาร คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
00:00
00:00