รังสีเพื่อการรักษาโรค เป็นวิธีการรักษาเนื้องอกทั้งชนิดมะเร็ง และไม่ใช่มะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงซึ่งสามารถทำลายสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถแบ่งประเภทของการใช้รังสีออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.รังสีระยะไกล ลำแสงจากภายนอกจะทะลุผ่านผิวหนังไปยังก้อนมะเร็งและพื้นที่รอบ ๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปจะฉายรังสี 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้รังสีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างสม่ำเสมอ และเว้นระยะเวลาให้เซลล์เนื้อเยื่อปกติได้มีเวลาซ่อมแซมตัวเอง เพื่อลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
2.รังสีระยะใกล้ หรือการฝังแร่ คือ การใส่สารกัมมันตรังสีเข้าไปภายในตัวผู้ป่วย ซึ่งต้นกำเนิดรังสีจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่จะทำการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจกลัวว่าการฉายรังสีจะทำให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมาหลังการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตามหลังการรักษาด้วยรังสีนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ของการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคมะเร็งซึ่งมีประโยชน์และสำคัญมากกว่า เพราะฉะนั้นแล้วต้องหมั่นพบแพทย์และรับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาได้อย่างถูกต้องและเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น ติดตามความรู้จาก พญ.น้ำฝน ทวีอัสนี ผู้ช่วยคณบดีด้านบริหาร คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ยาจีนทำให้ไตแย่ลงจริงหรือ ? คำตอบคือ ไม่ หากปรึกษาแพทย์แผนจีนที่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งแพทย์จีนจะวินิจฉัยโรคตามหลักการ คือ ซักประวัติ แมะชีพจร(การจับชีพจร) ดูลิ้น โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถใช้ในการป้องกัน ส่งเสริม และการรักษาผู้ป่วยโรคไตได้ ด้วยวิธีผสมผสานหัตถการต่าง ๆ รวมถึงการใช้ยาจีน นอกจากจะกินยาตามแพทย์สั่งแล้ว ก็ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ติดตามความรู้จาก ดร. พจ.เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล แพทย์แผนจีน
สุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มต้นด้วยการแปรงฟัน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรเช็กกันว่าเราจะเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันแบบไหน ฟลูออไรด์ควรใช้เท่าไหร่ถึงเหมาะกับช่วงอายุเรา พร้อมวิธีการดูแลรักษาสุขภาพฟันให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดฟันผุรวมถึงโรคเหงือกตามมา ติดตามความรู้จาก ทพ.เมธาพันธ์ ชานนท์พงษ์พานิช ทันตแพทย์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รังสีเพื่อการรักษาโรค เป็นวิธีการรักษาเนื้องอกทั้งชนิดมะเร็ง และไม่ใช่มะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงซึ่งสามารถทำลายสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถแบ่งประเภทของการใช้รังสีออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.รังสีระยะไกล ลำแสงจากภายนอกจะทะลุผ่านผิวหนังไปยังก้อนมะเร็งและพื้นที่รอบ ๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปจะฉายรังสี 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้รังสีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างสม่ำเสมอ และเว้นระยะเวลาให้เซลล์เนื้อเยื่อปกติได้มีเวลาซ่อมแซมตัวเอง เพื่อลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
2.รังสีระยะใกล้ หรือการฝังแร่ คือ การใส่สารกัมมันตรังสีเข้าไปภายในตัวผู้ป่วย ซึ่งต้นกำเนิดรังสีจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่จะทำการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจกลัวว่าการฉายรังสีจะทำให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมาหลังการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตามหลังการรักษาด้วยรังสีนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ของการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคมะเร็งซึ่งมีประโยชน์และสำคัญมากกว่า เพราะฉะนั้นแล้วต้องหมั่นพบแพทย์และรับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาได้อย่างถูกต้องและเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น ติดตามความรู้จาก พญ.น้ำฝน ทวีอัสนี ผู้ช่วยคณบดีด้านบริหาร คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ยาจีนทำให้ไตแย่ลงจริงหรือ ? คำตอบคือ ไม่ หากปรึกษาแพทย์แผนจีนที่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งแพทย์จีนจะวินิจฉัยโรคตามหลักการ คือ ซักประวัติ แมะชีพจร(การจับชีพจร) ดูลิ้น โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถใช้ในการป้องกัน ส่งเสริม และการรักษาผู้ป่วยโรคไตได้ ด้วยวิธีผสมผสานหัตถการต่าง ๆ รวมถึงการใช้ยาจีน นอกจากจะกินยาตามแพทย์สั่งแล้ว ก็ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ติดตามความรู้จาก ดร. พจ.เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล แพทย์แผนจีน
สุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มต้นด้วยการแปรงฟัน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรเช็กกันว่าเราจะเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันแบบไหน ฟลูออไรด์ควรใช้เท่าไหร่ถึงเหมาะกับช่วงอายุเรา พร้อมวิธีการดูแลรักษาสุขภาพฟันให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดฟันผุรวมถึงโรคเหงือกตามมา ติดตามความรู้จาก ทพ.เมธาพันธ์ ชานนท์พงษ์พานิช ทันตแพทย์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live