รู้ไว้..ไม่ทำผิดกฎหมาย Thai PBS Sci & Tech ขอนำความรู้เกี่ยวกับการแอบเข้าโทรศัพท์ของผู้อื่น หรือเข้าใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียของผู้อื่นหรือการแฮกเข้าไปโดยมิชอบ ที่ถือเป็นพื้นที่ข้อมูลส่วนตัว จะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 5 โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากแอบเข้าถึงข้อมูลโทรศัพท์ของผู้อื่น ที่มีการตั้งรหัสป้องกันไว้ ก็จะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 7 โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของ สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือใช้หลอกลวงผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นโดยมิชอบ ตามแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 หากผู้เสียหายได้รับความเสียหายก็มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้กระทำความผิดได้
Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !
📌อ่าน : เปิด 4 กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ รู้ไว้..ไม่ตกเป็นเหยื่อ
📌อ่าน : มุกใหม่มิจฉาชีพ ! เลียนแบบ “เว็บสำนักข่าว” แฝงลิงก์ปลอมให้ “แจ้งความออนไลน์”
📌อ่าน : ยืมเงินไม่คืน ! แชตแบบไหน ? ใช้เป็นหลักฐาน “กู้ยืม” ได้
📌อ่าน : เตือนภัย ! “มิจฉาชีพ” สวมรอย กสทช. ช่วง “ยื่นภาษีออนไลน์”
📌อ่าน : ใช้ SAMSUNG ต้องอ่าน ! ทริกแก้เกม “โจรออนไลน์” ไม่โดนติดตั้ง “แอปฯ หลอกดูดเงิน”
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech