พาไปหาคำตอบ กับข้อกังวลที่ว่า ห้วงหน้าร้อน อากาศร้อนจัด ไม่ควรดื่มน้ำเย็นทันทีเพื่อคลายร้อน เนื่องจากมีเรื่องเล่า เช่น เคยมีคนดื่มแล้วเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดอันตรายจริงหรือไม่ ตามมาอ่านกันได้เลย
ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนข้อกล่าวอ้างที่ว่า การดื่มน้ำเย็นจัดอาจทำให้เกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองในอากาศร้อนได้
สำหรับการดื่มน้ำเย็นในอากาศร้อน สมองจะสั่งให้หลอดเลือดหดตัวและกล้ามเนื้อสั่น เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย ดังนั้น “การดื่มน้ำเย็นจึงไม่เป็นอันตราย” แต่ช่วยให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกติและคลายความร้อน
ทั้งนี้ ร่างกายมีกลไกการรักษาอุณหภูมิที่ประมาณ 36 - 37.5 องศาเซลเซียส เพื่อคงสมดุล
สรุปแล้ว ในช่วงหน้าร้อนนี้ สิ่งสำคัญคือลดอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเครื่องดื่มเย็น ๆ เหมาะกับคนส่วนใหญ่ แต่หากรู้สึกไม่สบายใจ เครื่องดื่มที่ไม่เย็นก็อาจจะเหมาะกับเรามากกว่า
ควรทำอย่างไร ? เมื่อต้องเผชิญกับ “อากาศร้อน”
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการช็อกจากการขาดน้ำ
- ระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยการเปิดพัดลม เครื่องปรับอากาศ หรืออาบน้ำเย็น
- ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบายช่วยให้อากาศผ่านได้ดี ช่วยระบายความร้อน
- สามารถวางผ้าขนหนูเปียกบนคอหรือหน้าผาก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย
อย่าลืม ! ดูแลตัวเอง และดื่มน้ำเพื่อรักษาสุขภาพในวันที่อากาศร้อนกันด้วยนะทุกคน รักนะ จุ๊บ ๆ
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : kaizenmed, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สำนักงานเชียงใหม่
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech