“บัตรอิเล็กทรอนิกส์” เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินต่าง ๆ เป็นบัตรที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยบัตรเหล่านี้จะบันทึกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของเราไว้ เตือนภัย ! หากมีมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินที่บันทึกไว้ในบัตรของเราได้ มิจฉาชีพอาจจะนำข้อมูลไปปลอมทำบัตร เพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยกลโกงมี 4 วิธีดังนี้
1. คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตร โดยเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) ที่ติดตั้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็ม
2. คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตร โดยเครื่องสกิมเมอร์ขนาดพกพา หรือแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์ (Handheld Skimmer)
3. ปลอมแปลงเอกสารส่วนตัว หรือใช้เอกสารส่วนตัวของเหยื่อที่ขโมยมา ไปใช้สมัครบัตรเครดิต แล้วนำไปใช้จ่ายในนามของเหยื่อ
4. ขโมยข้อมูลจากใบบันทึกรายการ (ATM Slip) ตามตู้เอทีเอ็มที่มียอดคงเหลือค่อนข้างมาก โดยนำไปใช้ค้นหาข้อมูลสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน
Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !
📌อ่าน : มุกใหม่มิจฉาชีพ ! เลียนแบบ “เว็บสำนักข่าว” แฝงลิงก์ปลอมให้ “แจ้งความออนไลน์”
📌อ่าน : ยืมเงินไม่คืน ! แชตแบบไหน ? ใช้เป็นหลักฐาน “กู้ยืม” ได้
📌อ่าน : เตือนภัย ! “มิจฉาชีพ” สวมรอย กสทช. ช่วง “ยื่นภาษีออนไลน์”
📌อ่าน : ใช้ SAMSUNG ต้องอ่าน ! ทริกแก้เกม “โจรออนไลน์” ไม่โดนติดตั้ง “แอปฯ หลอกดูดเงิน”
📌อ่าน : เตือนภัยคนใช้ iPhone ! แนะทริกตั้งค่าป้องกัน “แอปฯ ดูดเงิน”
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech