ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด “ข้อกฎหมาย” ชาวต่างชาติทำผิดในไทยลงโทษอย่างไร ?


Insight

5 มี.ค. 67

อธิเจต มงคลโสฬศ

Logo Thai PBS
แชร์

เปิด “ข้อกฎหมาย” ชาวต่างชาติทำผิดในไทยลงโทษอย่างไร ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/887

เปิด “ข้อกฎหมาย” ชาวต่างชาติทำผิดในไทยลงโทษอย่างไร ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

จากเหตุการณ์สาวประเภทสองชาวฟิลิปปินส์เปิดฉากตะลุมบอนกับสาวประเภทสองชาวไทย ที่ซอยสุขุมวิท 11 จนมีประเด็นต่อเนื่อง ทั้งเหตุที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ตลอดจนการลักทรัพย์ ไปจนถึงข้อสงสัยในประเด็นค้าบริการทางเพศ เรื่องเหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขออนุญาติเข้าเมือง ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับชาวต่างชาติ หรือ พรบ.คนเข้าเมือง

Thai PBS ชวนมารู้จักวีซา (Visa) และ พรบ.คนเข้าเมือง หากคนต่างชาติเข้ามาทำผิดในประเทศไทยจะมีการจัดการอย่างไร ?

เหตุการณ์ที่สุขุมวิท 11

วีซา คืออะไร ?

วีซา คือ เอกสารที่ออกเพื่อให้บุคคลได้รับการพิจารณาเข้าประเทศได้ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาตามแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเดินทางไปประเทศนั้น ๆ เช่น คนไทยไปอเมริกา จะต้องทำวีซ่าผ่านการสอบและคุณสมบัติต่าง ๆ โดยระยะเวลา ในขณะที่ หากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวไปประเทศญี่ปุ่น จะได้รับยกเว้นวีซ่าไม่เกิน 15 วัน ในมุมกลับกัน ประเทศไทยเอง อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่ทำวีซ่าแล้ว สามารถท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นต้น 

ส่วนกรณีของสาวประเภทสองชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นข่าวนั้น ตามหลักการขออนุญาตเข้าเมืองของทั้งสองประเทศ ฟิลิปปินส์ถือเป็นหนึ่งใน 60 ประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าสำหรับท่องเที่ยวในไทย โดยสามารถพำนักอยู่ได้สูงสุด 30 วัน ขณะที่วีซาสำหรับประกอบธุรกิจนั้น มีการระบุไว้ไม่เกิน 1 ปี

ข้อกฎหมายที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง

กรณีคนต่างชาติเข้ามาทำผิดในประเทศไทย มีหลักการจัดการอย่างไรบ้าง ? 

ตาม “พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522” ได้มีการระบุถึงลักษณะต้องห้ามสำหรับการเข้าและออกประเทศเอาไว้ โดยมีทั้งในส่วนของเป็นบุคคลที่มีประวัติทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุร้ายอันตรายต่อผู้อื่น รวมถึงการค้าประเวณี ซึ่งมีบทลงโทษให้ยกเลิกการอนุญาตเข้าประเทศ และส่งตัวกลับประเทศต้นทาง โดยมีระบุเป็นข้อความไว้ดังนี้

 

หมวด 2 การเข้าและออกราชอาณาจักร

มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร

(7) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ

(8) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิง หรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

...

หมวด 6 การส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

มาตรา 53 คนต่างด้าวซึ่งเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วภายหลังปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 12 (7) หรือ (8) ให้อธิบดีเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าควรเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งเพิกถอนการอนุญาตต่อไป...

...

มาตรา 54 คนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้

 

จากเนื้อความที่ระบุใน “พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522” เห็นได้ว่า หากชาวต่างชาติเข้ามาทำสิ่งผิดกฎหมาย ไทยสามารถเพิกถอนการอนุญาตและส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้นั่นเอง

ทว่านอกจากส่งตัวกลับแล้ว ในส่วนของบทลงโทษทางอาญา หากชาวต่างชาติ ทำผิดในประเทศไทย ศาลไทยสามารถลงโทษได้ตามขอบเขตการใช้กฎหมายอาญาตามหลักดินแดน มาตรา 4 ผู้ใดกระความผิดในราชอาณาจักร ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

อ้างอิง
- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒
- ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา โดย เจริญชัย อัศวพิริยอนันต์ รองเลขาธิการศาลฎีกา
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สุขุมวิท 11กฎหมายชาวต่างชาติฟรีวีซาพรบ.คนเข้าเมือง
อธิเจต มงคลโสฬศ
ผู้เขียน: อธิเจต มงคลโสฬศ

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส สนใจเนื้อหาด้านสุขภาพจิต สาธารณสุข และความยั่งยืน รวมถึงประเด็นทันกระแสที่มีแง่มุมน่าสนใจซ่อนอยู่

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด