4 ปี เหตุการณ์กราดยิงโคราช กับการถอดบทเรียน จนอยากถอดใจ ?


วันสำคัญ

8 ก.พ. 67

Thai PBS Digital Media

Logo Thai PBS
แชร์

4 ปี เหตุการณ์กราดยิงโคราช กับการถอดบทเรียน จนอยากถอดใจ ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/787

4 ปี  เหตุการณ์กราดยิงโคราช กับการถอดบทเรียน จนอยากถอดใจ ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เหตุการณ์กราดยิงครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เมื่อ นายทหารยศ "จ.ส.อ." สังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ กองทัพภาคที่ 2 จ. นครราชสีมา ใช้อาวุธปืนยิง พ.อ. อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ ผู้บังคับบัญชา และ อนงค์ มิตรจันทร์ แม่ยายของผู้บังคับบัญชา เสียชีวิต จากปมขัดแย้งเรื่องบ้านพักทหาร ก่อนที่จะเข้าไปกราดยิงที่หน่วยของตนเพื่อเอาอาวุธที่คลังอาวุธ และยิงเจ้าหน้าที่เวรเสียชีวิต

จากนั้นผู้ก่อเหตุได้ขโมยรถฮัมวีขับออกมาจากหน่วย และกราดยิงประชาชนจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย สุดท้ายจึงหลบหนีเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ทำให้มีประชาชนและพนักงานของห้างติดอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก

หลังความพยายามในการช่วยเหลือตัวประกันนานหลายชั่วโมง เกิดเสียงปืนดังเป็นระยะ ๆ ระหว่างการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่และคนร้าย ในที่สุด เมื่อถึงเช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 09.00 น. จ.ส.อ. จักรพันธ์ จึงถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเสียชีวิตบริเวณชั้นล่างของห้าง ก่อนจะช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือออกมาได้สำเร็จ

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 30 ราย (รวมคนร้าย) และบาดเจ็บอีก 58 ราย

ภายหลังเหตุการณ์ พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในขณะนั้น ออกมาให้สัมภาษณ์เปิดใจ ระบุว่า 

“วินาทีลั่นไกสังหาร เขาเป็นอาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว” 


พร้อมหลั่งน้ำตาและสัญญาว่าจะปฏิรูปกองทัพใน 100 วัน แต่เวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของกองทัพยังคงไม่คืบหน้าจนหลายฝ่ายต้องออกมาใช้เหตุการณ์นี้ในการทวงคำสัญญาของการปฏิรูปกองทัพอีกครั้ง 

ย้อนเหตุการณ์ “ยิง” โดยตำรวจ-ทหาร

  • 8 กุมภาพันธ์ 2563 เหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญ ที่หลายคนคงจำได้ไม่ลืม กับเหตุ “กราดยิงโคราช” กรณี “จ่าคลั่ง” ทหารสังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ คลั่งกราดยิงประชาชนในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ก่อนหลบหนีเข้าไปในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 นครราชสีมา จับคนในห้างเป็นตัวประกัน และยิงประชาชนเสียชีวิตรวม 31 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกเกือบ 60 คน ก่อนถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นเรื่องราวที่ฝังใจคนไทยตลอดมา
     
  • 8 ตุลาคม 2565 เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนทั้งโลก อดีตตำรวจ ก่อเหตุบุกเข้าไปกราดยิง ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 37 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 10 คน ซึงส่วนใหญ่เป็นเด็ก โดยต่อมาได้ ยิงตัวตาย พร้อมลูกและภรรยา ซึ่งมูลเหตุ เกิดจากความเครียด ที่ถูกไล่ออกจากราชการ จากพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
     
  • 14 กันยายน 2565 จ่าสิบเอก เสมียนวิทยาลัยการทัพบก กราดยิงเพื่อนร่วมงานเสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 1 ราย เหตุเกิดภายในวิทยาลัยการทัพบก เขตดุสิต โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารได้ร่วมกันจับกุมตัวเอาไว้ได้ ทั้งนี้พบว่า ผู้ก่อเหตุเคยประสบอุบัติเหตุ มีอาการทางจิต โดยอยู่ระหว่างรักษาตัว
     
  • • 2 สิงหาคม 2565 รองสารวัตร สภ.ไทรย้อย จ.พิษณุโลก ก่อเหตุยิงภรรยาเสียชีวิต ก่อนปลิดชีพตัวเองตาม พบว่าป่วยซึมเศร้าและเคยคิดสั้นมาหลายครั้งแล้ว
     
  • 18 สิงหาคม 2565 สิบโท ใช้อาวุธปืนสั้นขนาด 9 มม. จ่อยิง สิบตรี สังกัดกองร้อยทหารสารวัตร มณฑลทหารบกที่ 210 เพื่อนรุ่นน้องค่ายเดียวกันจนเสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์หน้าทางเข้า-ออก ค่ายพระยอดเมืองขวาง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาส่วนตัวไม่พอใจที่รุ่นน้องไม่เคารพ
     
  • 10 กุมภาพันธ์ 2566 อดีตพลทหาร ยิงผู้โดยสารบนรถบัสสายภูเก็ต-พัทลุง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน ก่อนตัดสินใจปลิดชีพตัวเอง บนรถคันเกิดเหตุ
     
  • 14 มีนาคม 2566  สารวัตรกานต์ กราดยิง ภายในบ้านพักของตนย่านสายไหม ก่อเหตุนานกว่า 26 ชั่วโมง ถึงแม้ครั้งนี้จะไม่ได้เกิดความสูญเสียเหมือนเหตุการณ์อื่น ๆ แต่เรื่องราวเหล่านี้จะต้องถูกตั้งคำถามขึ้นว่า เหตุการณ์แบบนี้ทำไมแนวโน้มส่วนใหญ่ถึงเป็น ตำรวจ หรือ ทหาร ทั้ง ๆ ที่เหตุความรุนแรงจากการทำร้ายผู้อื่นด้วยปืนในประเทศไทยไม่ได้เยอะเท่าประเทศอื่น

อาชีพ ตำรวจ-ทหาร มีผลต่อความเครียด ?

การกราดยิง ถูกตั้งคำถามขึ้นว่า เหตุการณ์แบบนี้ทำไมแนวโน้มส่วนใหญ่ถึงเป็น ตำรวจ หรือ ทหาร ทั้งๆ ที่เหตุความรุนแรงจากการทำร้ายผู้อื่นด้วยปืนในประเทศไทยไม่ได้เยอะเท่าประเทศอื่น

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตเห็นว่า เหตุกราดยิงน่าจะเกิดจากความเครียดสะสม ส่งผลให้ส่วนใหญ่มีปัญหาทางจิต และการเข้าถึงอาวุธปืนได้ง่าย คำถามจึงย้อนกลับไปที่มาตรฐานหน่วยงาน การป้องกัน และดูแลไม่ให้กำลังพลที่เผชิญสภาวะความเครียด ออกไปก่อเหตุอาชญากรรมกับผู้บริสุทธิ์ ทำไมยังแก้ไม่ได้ ?

ความเครียดกับอาชีพ

กรมสุขภาพจิต ได้สถานการณ์ความเครียดของกลุ่มที่อยู่ในอาชีพที่ครอบครองอาวุธ เช่น ตำรวจ ทหาร มีนัยความเครียดว่า เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับอาวุธร้ายแรง ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบสูง

สอดคล้องกับในสถานการณ์ของนานาประเทศที่เคยมีการสำรวจก็บ่งชี้ว่าจากความรับผิดชอบสูง และลักษณะเฉพาะตัวของงาน มีแนวโน้มที่พบอัตราความเครียดที่เพิ่มกว่ากลุ่มคนทั่วไปได้ เหตุผลเพราะผู้ที่อยู่ในหน้าที่นี้ต้องอยู่ในหน้าที่และความกดดัน หากสังคมมีความเครียดสูง คนกลุ่มนี้ก็มีความเครียด

เพิ่มเติมคือการรับผิดชอบกับความเด็ดขาด ความปลอดภัย ความเป็นความตาย เมื่อต้องสัมผัสกับเหตุ ความเครียดอื่น ความรับผิดชอบในตัวเองและคนรอบข้าง จึงต้องสูงขึ้นเป็นแรงกดดันเสริมขึ้นไปอีก 

สังคมคาดหวัง "ถังขยะทางอารมณ์"

กลุ่มอาชีพนี้มีความคาดหวังจากสังคม ความคาดหวังในความกล้าหาญ รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ขณะที่ทั้ง 2-3 ส่วนนี้มีความเสี่ยงชีวิตแขวนอยู่บนความเสี่ยง และเป็นปัจจัยที่โน้มทำให้มีความเครียดมากกว่าปกติได้ง่าย

อีกทั้งใน ระยะหลังที่สังคมคาดหวังและมีกระแสด้านลบ และอาชีพนี้มีความคาดหวังสูง และถูกตำหนิสูงเช่นกันในทุกกลุ่มคนทำงานและสังคมก็มีทั้งคนดีไม่ดีปนกัน แต่หากมีคนไม่ดี ก็จะยิ่งกลายเป็นกระแสขุ่นเคือง กดดันต่อทั้งกลุ่มวิชาชีพเช่นกัน

“เคยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบว่าตำรวจ คนด่านหน้าที่ที่ต้องใช้ความกล้าหาญไปเผชิญนั้นเรียกว่าเป็นถังขยะทางอารมณ์ ถ้าไม่ได้ดั่งใจและคาดหวัง จึงมีเสียงต่อว่าเกิดขึ้นได้
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เหตุการณ์กราดยิงโคราชวันนี้ในอดีตวันสำคัญ
ผู้เขียน: Thai PBS Digital Media

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด