ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โปรดระวัง! อากาศร้อนสุดขั้ว ตากแดด 1 ชั่วโมง อาจเสียชีวิตได้


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

25 เม.ย. 68

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

โปรดระวัง! อากาศร้อนสุดขั้ว ตากแดด 1 ชั่วโมง อาจเสียชีวิตได้

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2615

โปรดระวัง! อากาศร้อนสุดขั้ว ตากแดด 1 ชั่วโมง อาจเสียชีวิตได้
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

อากาศร้อนจัด สิ่งที่ต้องกังวลก็คือการเกิดอาการ “ฮีตสโตรก” (Heat Stroke) ซึ่งเราสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ เช่น การดื่มน้ำ อยู่ในที่ร่ม แต่สำหรับคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง นั้นควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ยากกว่า แถมยังอาจต้องตากแดดทั้งวัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากมีงานวิจัยเผยว่า การตากแดด 1 ชั่วโมง ช่วงอากาศร้อนสุดขั้ว อาจทำให้เสียชีวิตได้ สู่วิธีรับมือเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น

ในเรื่องนี้ ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ว่า

จากงานศึกษาวิจัยของ Dr Fiona Rennie, Family Medicine at Valiant Clinic ซึ่งได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนในบรรยากาศกับอาการป่วยของผู้สัมผัสหรือ Heat related illnesses (HRI) ที่ศึกษาในเมืองดูไบประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ระบุว่าประชาชนที่อยู่ทั้งในสถานที่ร่มหรือกลางแจ้งเมื่อได้สัมผัสอากาศร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ กันประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 50-55% ซึ่งตรงกับประเทศไทยในช่วงนี้ จะทำให้คนส่วนใหญ่มีอาการ ดังนี้

- อุณหภูมิในบรรยากาศอยู่ระหว่าง 39 – 40 องศาเซลเซียส สมองจะสั่งงานช้าลง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานช้าลงและมีจะอาการเหนื่อยง่าย  หายใจเร็วขึ้น

- อุณหภูมิในบรรยากาศอยู่ระหว่าง 40- 41 องศาเซลเซียส จะมีอาการหมดแรง เหนื่อยอ่อน อยากลงไปนอนกับพื้น

- อุณหภูมิในบรรยากาศมากกว่า 41-45 องศาเซลเซียส ร่างกายจะเริ่ม Shut Down คือระบบการทำงานของร่างกายจะเริ่มล้มเหลวนำไปสู่อาการ heat cramps หรือเป็นตะคริวจากการสูญเสียเกลือแร่และเริ่มเกิดอาการ heat exhaustion หรือเกิดอาการเพลียแดด หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อจะออกมาก
- หากอุณหภูมิสูงมากกว่า 45 องศาเซลเซียส จะเริ่มมีอาการของ heat strokeหรือจะมีอาการเป็นลมแดดซึ่งเกิดจากสภาพอา กาศที่ร้อนจัดทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนร่างกายไม่สามาร ถระบายความร้อนออกได้จนอาจมีโอ กาสเสียชีวิต

- อุณหภูมิในบรรยากาศถึง 50 องศาเซลเซียส ร่างกายจะรับไม่ไหวและโอกาสเสียชีวิตทันทีสูงมากจากการที่หัวใจล้มเหลว

สำหรับบุคลที่ต้องทำงานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป งานวิจัยมีข้อแนะนำคือ

- ไม่ควรอยู่กลางแดดในช่วงเวลา 09.00 -15.00น.
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน
- ถ้าออกแดดต้องแต่งตัวมิดชิด กางร่ม ใส่หมวก พกพัดลมมือถือ สวมแว่นกันแดด UV มากกว่า 400 นาโนเมตร เพื่อป้องกันรังสี UVA ทำลายม่านตาและทาครีมกันผิวที่มีค่าSPF30++ อย่างน้อย โดยออกแดดให้น้อยที่สุด
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ๆ เพราะจะเร่งทำให้เกิดการเพลียแดดและเร่งการเกิดอาการ Heat Stroke หรือลมแดดเร็วขึ้น
- หลบอยู่ในที่ร่มในอาคาร เปิดพัดลมระบายอากาศ หากมีแอร์เปิดแอร์ จิบน้ำเย็นบ่อย ๆ

ทั้งนี้ อาชีพที่ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ จากโรคลมแดดเนื่องจากอากาศร้อนในช่วงนี้คือ พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของกลางแจ้ง, กรรมกรที่ทำงานกลางแจ้ง, ไรเดอร์ และผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์บนถนน, ตำรวจจราจรที่โบกรถยนต์ทางสี่แยก รวมทั้งผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปที่เดินอยู่บนถนนกลางแจ้ง


📌อ่าน : หน้าร้อน ! รู้จัก Heat Stroke อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม  

📌อ่าน : ระวัง! Extreme Heat ร้อนสุดขั้ว ตากแดดนาน ร่างกายอาจ Over Heat

📌อ่าน : “หน้าร้อน” เหงื่อออกมาก “กลิ่นตัว” แรงขึ้น ปัญหานี้มีทางแก้


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ดร.สนธิ คชวัฒน์

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

อากาศร้อนอากาศร้อนจัดอากาศร้อนสุดขั้วร้อนจัดร้อนแดดตากแดดตากแดดนานทำงานกลางแจ้งฮีตสโตรกฮีทสโตรกHeat Strokeวิทย์น่ารู้วิทยาศาสตร์น่ารู้วิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด