10 เหตุผล เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ทำไมถึงออกมาเรียกร้องเมื่อเวลาผ่านไป


สิทธิมนุษยชน

8 มี.ค. 66

ชาลี นวธราดล

Logo Thai PBS
แชร์

10 เหตุผล เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ทำไมถึงออกมาเรียกร้องเมื่อเวลาผ่านไป

https://www.thaipbs.or.th/now/content/77

10 เหตุผล เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ทำไมถึงออกมาเรียกร้องเมื่อเวลาผ่านไป
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ส่วนใหญ่คือ ผู้หญิง พวกเธอเผชิญความเจ็บปวดวันแล้ววันเล่า ทั้งร่างกายและจิตใจ แม้หลายคนจะตัดสินใจยุติความสัมพันธ์กับคนรัก เพื่อจบการทำร้าย แต่สิ่งเหล่านี้ได้สร้างบาดแผลลึกทางจิตใจมิอาจลืมเลือน

พวกเธอบางคนเยียวยาสภาพจิตใจตัวเอง ด้วยการลุกขึ้นมาเรียกร้องเอาผิดอดีตคนรัก ให้ได้รับผิดทางกฎหมาย อย่างเหตุการณ์ #ดิวอริสรา นักแสดงสาวชื่อดัง ได้รับคำปลอบโยนมากมาย ขณะเดียวก็เจอคำถามบั่นทอนจิตใจ “แล้วทำไมเพิ่งออกมาพูดตอนนี้ เรื่องมันนานมาแล้ว อยากได้เงินหรือเปล่า” 

Thai PBS ชวนทำความเข้าใจเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้รวบรวมข้อมูลจากเคสเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวกับ “10 เหตุผล ทำไมเหยื่อถึงออกมาพูดหรือเรียกร้องความถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว” ดังนี้

1. ตกอยู่ในภาวะความกลัว ถูกข่มขู่ คุกคามจากฝ่ายชาย โดยเฉพาะเมื่อผู้ชายมีอำนาจมากกว่า ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าออกมาเรียกร้องหรือออกจากความสัมพันธ์นั้น

1.ตกอยู่ในภาวะความกลัว ถูกข่มขู่ คุกคามจากฝ่ายชาย

2. ฝ่ายชายมีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี และได้รับการยอมรับจากสังคม การที่ฝ่ายชายได้รับการยอมรับจากสังคม ทำให้ฝ่ายหญิงรู้สึกว่าพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ และถูกตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงแทน 

.ฝ่ายชายมีอำนาจ มีภาพลักษณ์ที่ดี และได้รับการยอมรับจากสังคม

3. มายาคติของสังคมที่มักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย ทุกครั้งที่เกิดความรุนแรงในครอบครัว สังคมมักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงก่อน เช่น ไปยั่วโมโหเขาหรือเปล่า ไปทำอะไรให้เขาไม่พอใจใช่ไหม แทนที่จะเป็นการตั้งคำถามกับฝ่ายชาย

3.มายาคติของสังคมที่มักตั้งคำถามกับฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย

4. เคยรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือคิดว่าฝ่ายชายจะเปลี่ยนได้ เมื่อมีสติก็กลับมาขอโทษ สัญญาว่าจะไม่ทำอีก ทำให้รู้สึกว่าเดี๋ยวฝ่ายชายก็เปลี่ยนได้ ประกอบกับการหล่อหลอมของสังคมที่บอกว่าเรื่องในครอบครัวอย่าเอาไปพูดกับใคร ถ้าคนอื่นรู้จะดูไม่ดี

4.เคยรู้สึกว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือคิดว่าฝ่ายชายจะเปลี่ยนได้

5. กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับลูก ครอบครัว หรือปัญหาเศรษฐกิจ จากการปลูกฝังว่าครอบครัวที่สมบูรณ์คือการมีพ่อ แม่ ลูก เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรง ฝ่ายหญิงจึงมักเลือกที่จะไม่พูด เพราะกลัวจะส่งผลกระทบต่อลูก ครอบครัว บางรายเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูก ความกังวลจะเกิดปัญหาด้านการเงิน จึงทำให้ไม่สามารถออกจากความรุนแรงได้ในทันที

5.กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับลูก ครอบครัว หรือปัญหาเศรษฐกิจ

6. ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ออกมาพูด เพราะสังคมและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลกฎหมายบางครั้งก็ไม่เข้าใจพวกเธอ ยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ปลอดภัย การออกมาพูดก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำตัวเอง แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา

6.ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้ออกมาพูด

7. ที่ผ่านมาไม่มีคนออกมาพูดเรื่องแบบนี้ สังคมไทยสอนต่อกันมาว่าเรื่องภายในครอบครัว ไม่ควรนำออกมาพูด ทำให้การออกมาบอกว่าถูกกระทำความรุนแรงเป็นเรื่องยาก จึงมักเก็บเรื่องราวนี้ไว้ ไม่กล้าออกมาพูด

7.ที่ผ่านมาไม่มีคนออกมาพูดเรื่องแบบนี้ 

8. ระบบกฎหมายที่ไม่เอื้อ ต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมไปถึงผู้บังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้าใจ และอยู่บนพื้นฐานหลักคิดแบบชายเป็นใหญ่ ทำให้ผู้ถูกกระทำไม่อยากพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย คิดว่าถึงเรียกร้องไปก็ไม่เป็นผล

8.ระบบกฎหมายที่ไม่เอื้อ ต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

9. ต้องใช้เวลาเยียวยาสภาพจิตใจและทำให้ตัวเองเข้มแข็งขึ้น ต้องบอกว่าเหยื่อหลายคนมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำ มีภาวะหวาดระแวง ไปจนถึงซึมเศร้า ต้องใช้เวลาในการเยียวยาสภาพจิตใจ จนเมื่อรู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็งขึ้น จึงกล้าออกมาพูดและเรียกร้องความถูกต้อง

9.ต้องใช้เวลาเยียวยาสภาพจิตใจและทำให้ตัวเองเข้มแข็งขึ้น

10. ต้องการหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากสังคมเข้าใจสิ่งนี้ ผู้เสียหายจะกล้าที่จะออกมาพูด เพื่อหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเพื่อไม่ให้ใครถูกกระทำด้วยความรุนแรงเช่นตนเองอีก

10.ต้องการหยุดพฤติกรรมความรุนแรง และเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ใครสักคนจะก้าวออกจากความความรุนแรง หรือกล้าที่จะออกมาพูดและเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละคน แต่ละครอบครัว 

สังคมจึงควรเข้าใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และหยุดการตั้งคำถามว่า “ทำไมเพิ่งออกมาพูด”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ความรุนแรงในครอบครัววันสตรีสากลผู้หญิง
ชาลี นวธราดล
ผู้เขียน: ชาลี นวธราดล

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด