ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เตือนคนชอบกินไข่ดิบ สัตว์ปีก อาหารไม่สุก ระวังติดเชื้อซาลโมเนลลา


Logo Thai PBS
แชร์

เตือนคนชอบกินไข่ดิบ สัตว์ปีก อาหารไม่สุก ระวังติดเชื้อซาลโมเนลลา

https://www.thaipbs.or.th/now/content/736

เตือนคนชอบกินไข่ดิบ สัตว์ปีก อาหารไม่สุก ระวังติดเชื้อซาลโมเนลลา
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ อาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะอาการเหล่านี้เป็นลักษณะบ่งชี้ที่ทำให้รู้ว่าเรากำลังมีการติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนอย่างไม่ระวัง

"ซาลโมเนลลา" เป็นแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิปานกลาง (mesophilic bacteria) และเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษโดยส่วนมากมักตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุด โดยแบคทีเรียชนิดนี้จะบุกรุกและทำลายเซลล์ที่อยู่ในลำไส้ ทำให้ร่างกายดูดซับน้ำได้ยากจนอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาเจียนได้

พิษจากเชื้อซาลโมเนลลามีความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายจะรับมือได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ ท้องเสีย อาเจียน และมีอาการอื่น ๆ ซึ่งแบคทีเรียซาลโมเนลลาอาจปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทาน หรือเครื่องดื่มได้ โดยเชื้อซาลโมเนลลาพบมากในอาหารบางประเภท เช่น ไข่ดิบ เปลือกไข่ เนื้อแดง อาหารทะเล สัตว์ปีก ผัก ผลไม้ นมหรือชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัด

ซาลโมเนลลาพบในอาหารดิบเกือบทุกชนิด แต่คนส่วนมากมักติดเชื้อจาก "สัตว์ปีก" และ "ไข่ดิบ" ซึ่งการรับเชื้อซาลโมเนลลาเกิดขึ้นได้จากการปรุงอาหารไม่สุก หรือการเตรียมอาหารไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล และไข่ที่ยังไม่สุก หรือปรุงไม่สุกดี การรับประทานผักหรือผลไม้ที่ปนเปื้อน ดื่มนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และไม่ล้างมือขณะเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร

นอกจากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่แล้ว การสัมผัสก็อาจทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยหรือต้องทำงานกับสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ไก่ เป็ด เต่า และกิ้งก่า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสขน เกล็ด ผิวหนัง อุจจาระของสัตว์เหล่านั้น และสถานที่ที่พวกมันอาศัยอยู่ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาด้วย

การติดเชื้อซาลโมเนลลาอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือ 2 วัน กว่าจะออกอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหัว เป็นไข้ และเบื่ออาหาร แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยการรักษาทำได้หลายวิธี ซึ่งจะเน้นให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไป

ที่มาข้อมูล: clevelandclinic, mayoclinic, foodnetworksolution, samitivejhospitals, pobpad
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech The BeatlesScienceSalmonellaซาลโมเนลลา
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด