ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“กู้ซื้อบ้าน” จ่ายดอกแพง แก้ได้อย่างไร


Thai PBS Money Tip

3 พ.ย. 66

อธิเจต มงคลโสฬศ

Logo Thai PBS
แชร์

“กู้ซื้อบ้าน” จ่ายดอกแพง แก้ได้อย่างไร

https://www.thaipbs.or.th/now/content/473

“กู้ซื้อบ้าน” จ่ายดอกแพง แก้ได้อย่างไร
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

กลายเป็นประเด็นร้อนเมื่อบิลผ่อนค่าบ้านแสดงรายละเอียดการชำระที่หักเงินต้นออกเพียง 5 บาท ขณะที่มีการเก็บดอกเบี้ยสูงถึงหลักหมื่น สร้างความหวาดหวั่นให้กับคนอยากมีบ้าน แต่อย่าเพิ่งกลัวไป Thai PBS มีข้อควรรู้เกี่ยวการเงินแบบง่ายให้คนอยากมีบ้านมาฝาก หากคุณมีวินัยในการบริหารจัดการด้านการเงิน ก็สามารถแก้ปัญหากับดักดอกเบี้ยมหาศาลนี้ลงได้

🏠 เข้าใจดอกเบี้ยบ้าน “ลดต้นก็ลดดอก”
ดอกเบี้ยบ้านคิดจากเงินต้น สมมติตัวเลขให้เข้าใจง่ายขึ้น
หากมีการกู้บ้าน 100 บาท ดอกเบี้ย 5 บาทต่อปี ผ่อน 30 ปี หากเงินต้นไม่ลดเลย หรือลดน้อยมาก เราจะเสียดอกเบี้ยรวมถึง 150 บาท ซึ่งมากกว่าค่าบ้านแน่นอน นอกจากนี้การเก็บเงินในแต่ละงวดในมุมของธนาคารก็จะเก็บในส่วนของหนี้ที่เป็นดอกเบี้ยก่อนเงินต้น เพราะการเลือกผ่อนต่องวดน้อยในระยะเวลานาน ทำให้เงินต้นในช่วงงวดแรก ๆ ยังสูงอยู่ ซ้ำร้ายหากผ่านช่วงปีแรก ๆ ที่ดอกเบี้ยมักจะเป็นอัตราคงที่ ดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นจะยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวดสูงขึ้นไปอีก
เมื่อเวลาผ่านไปในช่วงหลัง ๆ จะพบว่างวดค่าบ้านจะมีการเก็บดอกเบี้ยน้อยลงเพราะเงินต้นน้อยลง ดอกเบี้ยก็น้อยลงแล้วนั่นเอง ทว่าก็ใช้เวลายาวนานมาก เพราะหากระยะเวลาทั้งหมดของสัญญาคือ 30 ปี กว่าดอกเบี้ยจะลดลง อาจใช้เวลาถึง 18 ปี การผ่อนตามงวดชำระจึงเป็นกับดักทางการเงินที่อาจทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยมหาศาลได้

💰 หมั่นแบ่งเงินโปะเงินต้น – รีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นทุก 3 ปี
เมื่อระบบการคิดดอกเบี้ยบ้านคือ “เงินต้นลด ดอกเบี้ยก็ลด” เทคนิคการโปะเงินต้นจึงสำคัญ ยิ่งปิดหนี้ได้เร็วก็ยิ่งช่วยให้เราประหยัดเงิน ลดดอกเบี้ยที่จะเกิดตามมาได้
เงินที่โปะโดยมากแล้วมักนิยมแบ่งเงินจากโบนัทประจำปี หรือหากพอแบ่งเงินเก็บได้มากพอก็สามารถแบ่งโปะได้ตามความสะดวก วินัยทางการเงินในส่วนนี้ช่วยให้หลายคนปิดหนี้บ้านได้เร็วกว่าระยะสัญญาถึงเกือบ 1 เท่าตัว หากคำนวณดูแล้วสามารถประหยัดได้ถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว
อีกวิธีที่ช่วยลดดอกเบี้ยได้คือการรีไฟแนนซ์หรือก็คือเปลี่ยนไปกู้กับธนาคารแห่งใหม่ เพราะผู้ให้กู้มักมีการเสนอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในช่วงปีแรก ๆ ดังนั้นในทุก 3 ปีการรีไฟแนนซ์เพื่อให้ดอกเบี้ยกลับมาถูกลง จึงช่วยให้สามารถจ่ายดอกเบี้ยลดลงได้
ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ยังควรจะพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง “ดอกเบี้ยที่สามารถประหยัด” กับ “ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์” เช่น ค่าปรับกรณีไถ่ถอนสินเชื่อ ค่าจดจำนอง หากเทียบแล้วพบว่าสามารถประหยัดดอกเบี้ยได้เพียงเล็กน้อย หรือค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์สูงกว่า ก็อาจมองหาตัวเลือกอื่น ๆ หรืออีกทางเลือกก็คือเจรจาลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมหรือที่เรียกกันว่าการรีเทนชั่น ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์เป็นเหมือนการยื่นขอสินเชื่อใหม่ ฉะนั้นคุณจึงควรรักษาเครดิตการชำระหนี้ต่าง ๆ ให้ดีไว้เพื่อให้สามารถยื่นกู้ได้ง่ายขึ้นด้วย

🔍 เหตุใดสินเชื่อบ้านจึงเข้าถึงยาก
เหตุผลเบื้องหลังดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่สูง รวมถึงการเข้าถึง “สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย” ที่ทำได้ยากนั้นมาจากหลายสาเหตุ มีตั้งแต่เงินในอนาคตมีค่ามากกว่าเงินในปัจจุบัน(ตามอัตราเงินเฟ้อ) สภาพเศรษฐกิจที่หากให้มีการกู้ง่ายเกินไปในช่วงเวลานั้น ๆ อาจเกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ขึ้นได้
ดังนั้นในแต่ละช่วงเวลา การกู้บ้านจึงมีความยากง่ายแตกต่างกัน ในช่วงโควิด-19 รัฐอาจมีมาตรการช่วยให้กู้ได้ง่ายขึ้น ขณะที่ในช่วงเวลาปกติ มีความต้องการกู้ซื้อบ้านเยอะ การปล่อยกู้อาจยากขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม บ้านหรือที่อยู่อาศัยถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิต นโยบายด้านการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถออกแบบร่วมกันและช่วยเหลือให้คนเข้าถึงบ้านได้มากขึ้น ถึงตอนนี้คนไทยยังคงเข้าถึงการมีบ้านได้ยาก ปัญหาเหล่านี้มีทางออกอย่างไร รับชมแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายที่ช่วยให้คนเข้าถึงบ้านได้มากขึ้นใน “The visual Talk : บ้านกับความหวังของคนไทย” ที่ thevisual.thaipbs.or.th/home-and-hope/

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
LTV เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ซื้อบ้าน ปี 2023 | เศรษฐกิจติดบ้าน
เปิดเคล็ดลับรีไฟแนนซ์ ผ่อนบ้านให้หมดไว | เศรษฐกิจติดบ้าน
The visual Talk : บ้านกับความหวังของคนไทย
“ราคา-กฎหมาย” คือ ตัวกำหนดชะตากรรม “บ้าน”

 

อ้างอิงข้อมูล
ธนาคารแห่งประเทศไทย : จะเลือกผ่อนบ้าน ต้องเปรียบเทียบอะไรบ้าง
ธนาคารแห่งประเทศไทย : สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ธนาคารแห่งประเทศไทย : ผ่อนไม่ไหวทำอย่างไรดี 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

คนไร้บ้านกู้บ้านดอกเบี้ยบ้าน
อธิเจต มงคลโสฬศ
ผู้เขียน: อธิเจต มงคลโสฬศ

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส สนใจเนื้อหาด้านสุขภาพจิต สาธารณสุข และความยั่งยืน รวมถึงประเด็นทันกระแสที่มีแง่มุมน่าสนใจซ่อนอยู่

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด