ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

7 เทคนิค “Search Engine” ได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

2 พ.ย. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

7 เทคนิค “Search Engine” ได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

https://www.thaipbs.or.th/now/content/467

7 เทคนิค “Search Engine” ได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เคยไหม ? ใส่คำค้นหาใน “Search Engine” เช่นในกูเกิล แต่ผลลัพธ์ที่ได้ค่อนข้างกว้างมาก หรือไม่ตรงกับคำตอบที่เราอยากได้เท่าที่ควร ต้องใช้เวลา - เกิดความยุ่งยากในการตามหา สู่ทริกในการเสิร์ชเอนจิน ซึ่งบทความนี้จะเจาะจงไปที่ค้นหาแบบข้อความ (Text Search) ที่ Thai PBS Sci & Tech ได้ความรู้มาจาก “การอบรม การตรวจสอบข่าวบิดเบือน (ข่าวลวง ข่าวปลอม)” หรือ [Digital Investigation (Fact-Check) Training Program] ซึ่งจัดโดย “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” มาแบ่งปันให้ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ในการ Search Engine ได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น พร้อมแล้วตามมาอ่านกันได้เลย

7 เทคนิค “Search Engine” เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ค้นหาโดยการใช้ “OR”

1. ค้นหาโดยการใช้ “OR”

     เพื่อให้ Algorhythm ทำการค้นหาข้อมูลให้เราเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องการค้นหาเกี่ยวกับ เทศกาลออกพรรษา ในจังหวัด หนองคาย และต้องการค้นหา ออกพรรษา ในจังหวัด บึงกาฬ ด้วย ก็ใส่คีย์เวิร์ด “ออกพรรษา หนองคาย OR บึงกาฬ” ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาคือเนื้อหาเทศกาลออกพรรษา ในจังหวัดหนองคาย และ บึงกาฬ เป็นต้น

ค้นหาได้โดยการใช้เครื่องหมายลบ ( - )

2. ตัดบางเรื่องที่ไม่ต้องการค้นหาได้โดยการใช้เครื่องหมายลบ ( - )

     การค้นหาวิธีนี้ จะช่วยให้ผู้ค้นหาตัดเรื่องที่ไม่ต้องการหรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ต้องการค้นหาการ “เดินป่า” ต่ไม่ต้องการ เนื้อหาเดินป่าจังหวัดน่านเนื่องจากไปมาบ่อยแล้ว ให้พิมพ์คีย์เวิร์ด เดินป่า -น่าน Algorhythm ก็จะทำการค้นหาข้อมูลให้เรา เกี่ยวกับการเดินป่า จังหวัดต่าง ๆ แต่จะไม่มีจังหวัดน่านเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้น

การใช้ดอกจันค้นหาคำที่ขาดหาย

3. การใช้ดอกจัน (*) ค้นหาคำที่ขาดหายหรือคิดไม่ออก

     หากเราจำได้เพียงบางคำหรือบางประโยค อย่างเช่น วรมหาวิหาร แต่ไม่รู้ว่าวัดชื่อเต็มว่าอะไร ให้นำดอกจันมาใส่ข้างหน้า วรมหาวิหาร = *วรมหาวิหาร เมื่อกดเสิร์ชจะมีชื่อวัดเต็มที่มีคำว่าวรมหาวิหารไล่เรียงมาให้เราดู 

การใช้ดอกจันค้นหาคำที่ขาดหายหรือคิดไม่ออก

หรือหากจำได้เพียงชื่อ เช่น ศุภชัย แต่ไม่ทราบนามสกุล ให้นำดอกจันไปใส่หลังชื่อ “ศุภชัย*” เมื่อเสิร์ช ก็จะมีชื่อศุภชัย ไล่เรียงนามสกุลต่าง ๆ มาได้เราดูว่ามีใครบ้างที่ถูกเสิร์ชมากที่สุดไปเรื่อย ๆ ไปจนถึงคนที่เราตามหา

ค้นหาโดยการระบุเว็บไซต์

4. ค้นหาโดยการระบุเว็บไซต์ (Site:)

     ทำได้โดยพิมพ์คำว่า site:แล้วตามด้วยชื่อเว็บไซต์ติดกัน จากนั้นเว้นวรรคกับ คำที่ต้องการค้นหา ตัวอย่าง site:thaipbs.or.th ยานอวกาศ เมื่อกดเสิร์ช ก็จะพบเนื้อหาของเว็บไซต์ไทยพีบีเอส ที่เกี่ยวกับ ยานอวกาศ เรื่องต่าง ๆ มาแสดงเท่านั้น

การสืบค้นโดยประเภทข้อมูล

5. การสืบค้นโดยประเภทข้อมูล (filetype:)

     หากต้องการค้นหาไฟล์นามสกุลต่าง ๆ เช่น .pdf, .ppt ค้นหาโดยพิมพ์ชื่อเรื่องนั้น ๆ แล้วตามด้วย  “filetype:” เช่น เทคโนโลยี filetype:pdf หรือ filetype:pdf เทคโนโลยี เมื่อทำการเสิร์ชก็จะได้ผลลัพธ์เกี่ยวกับเนื้อหาเทคโนโลยีที่ไฟล์เป็นนามสกุล PDF 

การสืบค้นโดยประเภทข้อมูล (filetype)

แต่หากต้องการแอดวานซ์กว่านั้น เช่น ต้องการไฟล์ PDF ของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ อย่างเช่น สหประชาชาติ ประเทศไทย ให้เสิร์ช filetype:pdf เว้นวรรค ตามด้วย site:Thailand.un.org (filetype:pdf site:Thailand.un.org) ก็จะได้การแสดงเนื้อหา PDF ของสหประชาชาติ ประเทศไทย เท่านั้น

ใช้ตัวกรองค้นหาข้อมูลที่ต้องการเฉพาะช่วงเวลา

6. ใช้ตัวกรองค้นหาข้อมูลที่ต้องการเฉพาะช่วงเวลา

     หลังจากเสิร์ชคำที่ต้องการเรียบร้อย ให้คลิกที่ “ปุ่มเครื่องมือ” (Tool) แล้วเลือกเวลาตามที่ต้องการ จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในช่วงเวลาที่ต้องการ พร้อมกับได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นจากการค้นหาโดยใช้ข้อความทั่วไปในครั้งแรก

ค้นหาข้อมูลให้เฉพาะมากขึ้นด้วยตัวกรองสถานที่

7. ค้นหาข้อมูลให้เฉพาะมากขึ้นด้วยตัวกรองสถานที่

     บางทีคำที่เราเสิร์ชค้นหาอาจกว้างเกินไป อย่างเช่น เที่ยว กทม. หากอยากเฉพาะเจาะจงสถานที่ให้เจาะจงมากขึ้นโดยการกดปุ่ม “เลือกพื้นที่” (Choose Area) เพื่อเจาะจงสถานที่ที่ต้องการได้

     ในปัจจุบันวิธี Search Engine บนเว็บไซต์อย่างเช่นใน Google มีหลากหลายวิธีมาก ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผ่านข้อความ, เสียง, ภาพ ไปจนถึงใช้ตัวกรองต่าง ๆ ช่วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการค้นหาแบบเดิมอยู่ไม่น้อย หาอะไรก็ง่ายขึ้น หากใครมีเทคนิคดี ๆ ที่ช่วยให้การเสิร์ชเอนจินเป็นเรื่องแสนง่าย ต้องการฝากไปยังผู้อ่านท่านอื่น ๆ สามารถส่งความรู้มาที่ Thai PBS Sci & Tech เราพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางแบ่งปันความรู้ให้กับทุกคน

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Search Engineเสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Social Mediaโซเชียลมีเดีย
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด