ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

5 เทคนิคเก็บเงินอยู่ แม้เป็นหนี้


Thai PBS Money Tip

31 ต.ค. 66

วิมลรัตน์ ขันทะคีรี

Logo Thai PBS
แชร์

5 เทคนิคเก็บเงินอยู่ แม้เป็นหนี้

https://www.thaipbs.or.th/now/content/458

5 เทคนิคเก็บเงินอยู่ แม้เป็นหนี้
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ชีวิตทุกวันนี้มีรายจ่ายมากมาย ทั้งการกินใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงของใช้ที่จำเป็น อาจรวมไปถึงของใหญ่ที่เป็นภาระหนี้นานหลายปี และจากข้อมูลเรื่องภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2566 ของ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่าวัยทำงานอายุต่ำกว่า 50 ปี ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย รองลงมาเป็นหนี้รถยนต์ หนี้ส่วนบุคคล หนี้อื่น ๆ และหนี้บัตรเครดิต โดยในช่วง COVID-19 มีการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่เมื่อมีหนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้การใช้จ่ายในแต่ละวันให้ผ่านพ้นเดือนยากลำบากขึ้นไปอีก แต่จะทำอย่างไรให้เราพอมีเงินเก็บไว้บ้าง เผื่อไว้ใช้ยามจำเป็นและสร้างกำลังใจในการทำงาน

เทคนิคเก็บเงินอยู่ แม้เป็นหนี้

  1. มีหนี้ได้ แต่ไม่ควรเกิน 50 %

มีหนี้ไม่เกิน 50 % ของรายได้แบบคงที่ทุกเดือน ไม่นับรวมเงินโอที หรือเงินที่ได้จากส่วนอื่น เพราะหากฉุกเฉินเงินก้อนอื่น ๆ ที่เคยได้รับ ถ้าเกิดวิกฤตไม่ได้เหมือนเดิมอาจประสบปัญหาทางการเงินในการใช้หนี้แน่ ๆ

  • ตั้งสติก่อนซื้อ 

ซื้อของที่จำเป็นเท่านั้น แม้จะเจอในราคา Sale ที่ชวนให้ควักเงินออกจากกระเป๋า หรือถ้าเป็นของจำเป็นให้คิดก่อนว่าเงินที่มีเพียงพอไหม ให้กลับมาคิดทบทวน ก่อนจ่ายเงินซื้อ เพื่อให้มีเงินใช้พอในแต่ละเดือนและเพิ่มเงินเก็บ

  • เก็บเงินออมเท่าที่จะทำได้ และต่อเนื่อง 

ตั้งเป้าออมเงินในจำนวนที่คิดว่าไหว และทำได้ต่อเนื่องแบบไม่ลดเงิน แม้จำนวนเงินเก็บอาจไม่มาก อาจไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งกันไว้ แต่ช่วยสร้างกำลังใจไปพร้อมจ่ายหนี้ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มเงินในการเก็บออมขึ้น

  • บัตรเครดิต รูดแต่ละเดือนเท่าไรจ่ายให้ครบ

เพราะเป็นบัตรที่ใช้ง่าย พกพาสะดวก แต่ก็อาจทำให้เกิดหนี้เพิ่มได้เหมือนกัน เมื่อใช้จ่ายแต่ละเดือนเท่าไร ก็ควรจ่ายให้ครบ ไม่แนะนำให้ผ่อนชำระ เพราะดอกเบี้ยอาจถึง 16 % ต่อปี แล้วยังต้องนำเงินมาจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มในแต่ละเดือน

  • ออมเงินจนได้เงินก้อนแนะให้นำไปลงทุน 

เมื่อออมเงินจนได้เงินก้อนแนะให้นำไปลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ นอกนั้นอาจไปออมแบบไม่เสี่ยงมากแจกเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้

ตัวอย่างการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น กองทุน ตามอายุ

100 - อายุเจ้าของเงินออม = ได้เท่าไร คือจำนวนที่แนะเอาไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง  
ยิ่งอายุน้อยยิ่งลงทุนเสี่ยงได้เยอะ และมีระยะเวลาเล่นได้นานกว่า แต่แนะนำให้เอามาผสมผสานการลงทุนไม่เสี่ยงมาก ให้เหมาะกับความเสี่ยง ความคาดหวัง และเป้าหมายในการลงทุนได้ปีละกี่ 10 % เพื่อวางแผนไปยังวัยเกษียณได้ 

เป็นหนี้บัตรฯ คลินิกแก้หนี้ช่วยได้

เป็นหากคุณประสบปัญหาเป็นหนี้บัตรฯ ค้างชำระอยู่ ก็มียังมีตัวช่วย กับ โครงการคลินิกแก้หนี้ by SAM ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ช่วยรวมหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ไว้ในที่เดียว กับดอกเบี้ยต่ำ 3-5% ต่อปี ผ่อนได้นานสูงสุด 10 ปี

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 

  • เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี
  • เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
  • เป็นหนี้เสีย (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนปัจจุบันต้องมีสถานะค้างชำระตั้งแต่ 121-150 วันขึ้นไป)
  • หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
     

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
Call Center 1443 (เวลา 09.00 - 19.00น. ทุกวัน)
www.debtclinicbysam.com 
 

ที่มา : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  
รายการเศรษฐกิจติดบ้าน ตอน ​เทคนิคการจัดการหนี้แบบมีเงินออม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

วันออมแห่งชาติหนี้หนี้บัตรเครดิต
วิมลรัตน์ ขันทะคีรี
ผู้เขียน: วิมลรัตน์ ขันทะคีรี

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด