ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ “มิจฉาชีพ” หลอกเหยื่อ “ออมทอง” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมทั้งในโซเชียลมีเดีย จนสูญเงินกันไปจำนวนมาก ด้วยความห่วงใย Thai PBS Sci & Tech จึงขอนำ 5 จุดสังเกต หลอกเหยื่อ “ออมทอง” จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) มาให้ได้ทราบกัน
➡️ ปิดบังข้อมูลการลงทุน : ข้อมูลในการลงทุนต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ มักอ้างบุคคลมีชื่อเสียง
➡️ ลงทุนระยะสั้น 1 เดือนได้กำไร : เคลมว่าลงทุนในระยะสั้น ก็สามารถได้ทุนคืน พร้อมกำไร เพื่อดึงดูดให้เหยื่อสนใจ
➡️ ราคาทองถูก แต่ให้ผลตอบแทนสูง : ราคาทองจะถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป แต่ให้ค่าตอบแทนที่สูงยิ่งลงทุนมาก กำไรก็จะยิ่งมาก
➡️ ถ้าหาสมาชิกเพิ่ม รายได้ก็จะยิ่งดี : เน้นการสร้างเครือข่ายสมาชิก นำจำนวนเงินรายได้มาหลอกล่อเพื่อจะได้มีเครือข่ายมากขึ้น
➡️ เมื่อลงทุนไปมากขึ้นจะเริ่มติดต่อยาก : มักสร้างความน่าเชื่อถือ โดยช่วงแรกจ่ายค่าปันผล ได้รับทองคำ หรือค่าตอบแทนจริง แต่พอลงทุนไปจำนวนมาก จะชิ่งหนีและตัดการเชื่อมต่อกับเหยื่อ
ข้อควรระวัง
1. ลงทุนกับผู้ที่มีความน่าเชื่อถือสามารถตรวจสอบยืนยันตัวตนได้
2. ตั้งสติทุกครั้งเมื่อเห็นโพสต์โฆษณาที่ให้กำไรเกินจริง สิ่งเหล่านี้เป็นกลลวงของมิจฉาชีพ เพื่อดึงดูดให้เหยื่ออยากลงทุน
❌ไม่เชื่อ ❌ไม่รีบ ❌ไม่โอน
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์)