ชวนยลความงามธรรมชาติรังสรรค์ “กัลปพฤกษ์” ชื่อวิทยาศาสตร์ (𝘊𝘢𝘴𝘴𝘪𝘢 𝘣𝘢𝘬𝘦𝘳𝘪𝘢𝘯𝘢 Craib) พรรณไม้พื้นเมืองที่พบได้ในประเทศไทยและเมียนมา ซึ่งเป็นทั้งไม้มงคลและสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา
พรรณไม้น่ารู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ให้ข้อมูลว่า “กัลปพฤกษ์” หรือที่รู้จักในชื่อ “กาลพฤกษ์” ในภาคเหนือ และ “ชัยพฤกษ์” ในภาคกลาง เป็นไม้ต้นในวงศ์ FABACEAE มีลักษณะเด่นคือดอกสีชมพูสวยงามที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวก่อนร่วง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
ในประเทศไทยพบต้นกัลปพฤกษ์ได้แทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 300-1,000 เมตร
นอกจากความสวยงาม กัลปพฤกษ์ยังมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ โดยเปลือกและเมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพิษไข้และทำให้อาเจียน ส่วนเนื้อในฝักใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ที่เหมาะสำหรับเด็ก และยังมีฤทธิ์ขับเสมหะอีกด้วย
ต้นไม้ชนิดนี้จึงถือเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าทั้งในแง่ความสวยงาม คุณประโยชน์ทางยา และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย
Thai PBS Sci & Tech พรรณไม้น่ารู้
📌อ่าน : หากยังตามหารักแท้ไม่เจอ “ต้นรัก” เต็มเลย ลองลัดเลาะตามข้างทางดูนะ
📌อ่าน : งดงาม ! “ช้างดำ” กล้วยไม้ป่าหายาก ณ อุทยานแห่งชาติคลองพนม
📌อ่าน : สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ! “มันเทศ” วงศ์เดียวกับ “ผักบุ้ง”
📌อ่าน : นักวิจัยไทยค้นพบต่อเนื่อง ! “กระเจียวอาจารย์วันชัย” พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่จากป่าเมืองกาญฯ
📌อ่าน : มหัศจรรย์แห่งป่าภูวัว ! “ก่อบังบาตร” ต้นไม้แหวกแนวญาติร่วมสกุล
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech