ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

4 ปีรัฐประหารเมียนมา ความสูญเสียทางสังคม-เศรษฐกิจ ผู้อพยพทะลักเข้าไทย


รอบโลก

2 ก.พ. 68

มินนี่ นัฐชา กิจโมกข์

Logo Thai PBS
แชร์

4 ปีรัฐประหารเมียนมา ความสูญเสียทางสังคม-เศรษฐกิจ ผู้อพยพทะลักเข้าไทย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2276

4 ปีรัฐประหารเมียนมา ความสูญเสียทางสังคม-เศรษฐกิจ ผู้อพยพทะลักเข้าไทย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

 

ย้อนกลับไปวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 4 ปีที่แล้ว หรือปี 2021 กองทัพเมียนมานำโดย พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนในช่วงเช้า

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เป็นประธานในการประชุม หลังเกิดการรัฐประหาร ในวันที่ 1 ก.พ. 2021 Credit: MRTV

ภาพเมื่อสี่ปีที่แล้ว มีทหารเข้าควบคุมเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของเมียนมา พร้อมกับรถถังเข้าประจำการในขณะที่ออง ซาน ซูจี ประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยถูกควบคุมตัว

ทหารเข้าควบคุมภายในบริเวณศาลาว่าการในย่างกุ้งเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2021 หลังจากที่กองทัพเมียนมาควบคุมตัวนาง ออง ซาน ซู จี

หลังจากนั้นประชาชนชาวเมียนมาได้รวมตัวกันประท้วงรัฐประหารครั้งดังกล่าว แต่สุดท้ายได้ถูกปราบปรามโดยกองทัพ ผู้ประท้วงหลายรายถูกจับกุม

ตัวเลขจากสหประชาชาติชี้ว่า มีผู้เสียชีวิตหลังเกิดรัฐประหารในเมียนมากว่า 5,000 คน 

ชาวเมียนมาออกมาประท้วงเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2021 ที่กรุงเนปิดอว์ จนนำมาสู่การสลายการชุมนุม

เมียนมาต้องเผชิญกับ “วิกฤตหลายมิติ” ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งมีทั้งการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรง ภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่ซับซ้อน และปัญหาความยากจน ซ้ำเติมปัญหาผู้อพยพที่ล้นทะลักเข้ามาในไทย

“ตราบใดที่ยังคงมีการโจมตีประชาชน มีความรุนแรงที่เกิดขึ้นรายวัน ปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อไทยในระยะยาวคือการมีผู้อพยพหนีเข้ามาในฝั่งไทย” 

ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวทันโลก กับ ไทยพีบีเอสออนไลน์ 

 

4 ปีผ่านไป สหประชาชาติได้ชี้ให้เห็นความท้าทายในเมียนมาไว้หลัก ๆ คือ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการย้ายถิ่นฐาน ตั้งแต่ปี 2020 จีดีพี ของเมียนมาหดตัวลง 9 เปอร์เซ็นต์ และยังต้องเผชิญปัญหารอบด้าน ที่ทางยูเอ็นระบุว่าเป็น “Polycrisis” ซึ่งผสมโรงระหว่างการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจน รวมถึงพิษจากสภาพอากาศสุดโต่งที่ไร้การจัดการปัญหาอย่างจริงจัง

ส่วนอุตสาหกรรมหยก ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าพันล้านดอลลาร์ต่อปี ไร้การจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดการทุจริตและทำลายสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อแตะ 25.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2024 ในขณะที่ขบวนการดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายกลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด 

วิกฤตผู้อพยพ

สงครามกลางเมืองหลังรัฐประหารทำให้เยาวชนจำนวนมากหลบหนีข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ชาวเมียนมาอพยพเข้ามามากที่สุดในโลก มีแรงงานพม่าลงทะเบียน 2.3 ล้านคน และยังมีแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้รับการลงทะเบียนอีก 1.8 ล้านคน
 

ชาวเมียนมาข้ามแม่น้ำเมย หนีภัยการสู้รบในเมียนมา เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2023 Credit: AFP PHOTO / ROYAL THAI ARMY

ด้านสำนักข่าว เอเอฟพี รายงานเสียงสะท้อนของชาวเมียนมาที่ระบุว่าพวกเขาสูญเสียทุกอย่างไปกับรัฐประหารเมื่อ 4 ปีก่อน

มา ผิ่ว แรงงานชาวเมียนมาในห้องพักของเธอ ในจังหวัดสมุทรสาคร Credit: AFP

“หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร ฉันสูญเสียความฝันทุกอย่างไป” 

มา ผิ่ว ชาวเมียนมาวัย 28 ปี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี

มา ผิ่ว เคยเป็นครูสอนเด็กเล็กในมหาวิทยาลัยในย่างกุ้ง แต่หลังจากที่เกิดรัฐประหาร ฝันที่จะเป็นคุณครูของเธอก็ดับลง เมื่อเธอตัดสินใจหลีกหนีจากรัฐบาลทหารและเดินทางเข้ามาอยู่อาศัยอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย 

มา ผิ่ว แรงงานชาวเมียนมา กำลังเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ Credit: AFP

กรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในหลายพันกรณีของผู้อพยพในเมียนมาที่ตัดสินใจเดินทางข้ามพรมแดนมายังประเทศไทยหลังเกิดรัฐประหาร 

ไทยมีชาวเมียนมาอาศัยอยู่มากที่สุดในโลก มีแรงงานเมียนมาที่ลงทะเบียนแล้ว 2.3 ล้านคน และมีที่ยังไม่ลงทะเบียนอีกราว 1.3 ล้านคน

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ปัญหาความรุนแรงคือสิ่งที่น่ากังวล 

ทันโลกออนไลน์ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชี้ว่า สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าน่ากังวลมากที่สุด คือ “ปัญหาด้านมนุษยธรรม” และยังคงเกิดความรุนแรงต่อประชาชนอยู่เรื่อย ๆ ปีนี้เมียนมาอาจจัดการเลือกตั้งและเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลยุคใหม่ ซึ่งเดาได้ไม่ยากว่าเป็นการผสมกันของขั้วอำนาจเก่า และขั้วอำนาจเก่ากว่า 

สิ่งหนึ่งที่สำคัญ และไทยเองอาจมีส่วนช่วยในการเรียกร้องคือ การเรียกร้องต่อรัฐบาลทหารว่า เกิดการโจมตีทางอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน

ความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพเมียนมาต่อหมู่บ้านในรัฐยะไข่ Credit: AFP PHOTO / ARAKAN ARMY (AA)

เช่นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่รัฐอาระกัน ระหว่างที่ประชาชนออกมาเดินตลาด ได้เกิดการโจมตีทางอากาศขึ้น ทำให้ประชาชนเสียชีวิตหลายสิบคน ซึ่งความรุนแรงในลักษณะนี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง 4 ปีผ่านไป ยังคงเกิดคำถามเสมอว่า ความรุนแรงจะสามารถยุติหรือบรรเทาลงได้อย่างไร เพราะนี้ไม่ใช่เหตุการณ์แรก และยังไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย 

หากเรามองถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับไทย ความรุนแรงที่ยืดเยื้อทำให้มีผู้อพยพจากเมียนมาหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลไทยเช่นกันว่าจะมีบทบาทในการเจรจาอย่างไร

เมียนมาขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ก่อนวันครบรอบรัฐประหาร 4 ปี ในวันที่ 31 ม.ค. 2025 รัฐบาลทหารเมียนมาได้ประกาศขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปอีก 6 เดือน ท่ามกลางการสู้รบในหลายจุดของประเทศ ด้านโทรทัศน์ช่องทางการเมียนมา รายงานว่า ยังคงมีอีกหลายสิ่งที่ต้องจัดการก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งทั่วไป โดยเฉพาะการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประกาศขยายสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ในวันที่ 31 ม.ค. 2025 1 วันก่อนครบรอบ 4 ปี รัฐประหารเมียนมา Credit: AFP PHOTO /MYANMAR MILITARY INFORMATION TEAM

ขณะที่นานาชาติจับตาว่าเมียนมาจะจัดการเลือกตั้งเมื่อใด แล้วการเลือกตั้งครั้งสำคัญจะเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ขั้วการเมืองเก่าอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์หรือไม่ แล้วผลการเลือกตั้งจะเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติหรือไม่ 

ที่มาข้อมูล: 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เมียนมารัฐประหารเมียนมาชายแดนไทยเมียนมาสู้รบในเมียนมาไทยเมียนมาออง ซาน ซู จี
มินนี่ นัฐชา กิจโมกข์
ผู้เขียน: มินนี่ นัฐชา กิจโมกข์

“มินนี่” ชอบ “เมาท์” เรื่องต่างประเทศ รักเปียโน กีตาร์ และเพลงแจ๊ส เป็นพี่สาวแมวสองตัวชื่อโมเนต์กับมิวทู <3

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด