ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“สัตว์เลี้ยง” ได้รับสารพิษ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร ?


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

11 พ.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

“สัตว์เลี้ยง” ได้รับสารพิษ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1875

“สัตว์เลี้ยง” ได้รับสารพิษ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ปัญหาสัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา ได้รับสารพิษนั้นเป็นเหมือนกับฝันร้ายที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง (ทาสแมว - ทาสหมา) ทุกคนไม่อยากเจออย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ดีด้วยนิสัยของทั้งน้องหมาน้องแมวที่มักจะอยากรู้อยากเห็นทำให้อาจจะเผลอไปสัมผัสหรือกินสารเคมีเข้าไปได้ ดังนั้นคงจะดีกว่าถ้าเรารู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาและทำให้น้อง ๆ มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โดยแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษมีดังต่อไปนี้

แมวซึมหลังผ่าตัด

กรณี “สัตว์เลี้ยง” สัมผัสกับสารพิษที่ผิวหนัง

      - ส่วนใหญ่สารพิษที่อันตรายต่อผิวหนังมักเป็นสารที่มีความเป็นกรดหรือเบสสูง ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือล้างด้วยน้ำสะอาดหรือใช้สบู่อ่อน ๆ ผสมกับน้ำ โดยล้างบริเวณที่โดนทันที

      - ไม่ควรนำน้ำสบู่ล้างบริเวณดวงตาและจมูกของสัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองหรือสำลักฟองได้

      - พาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วแม้ว่าสัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา จะไม่มีอาการรุนแรง และควรหยิบขวดผลิตภัณฑ์หรือฉลากสารเคมีที่สัตว์สัมผัสโดนไปด้วย

veterinary-doctor-taking-care-pet

กรณีที่ “สัตว์เลี้ยง” ได้รับสารพิษทางการกิน

1. ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่าสัตว์เลี้ยงกินสารพิษชนิดอะไรเข้าไป

2. หากสัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา ได้รับสารพิษยังไม่เกิน 1 ชั่วโมง ให้กระตุ้นการอาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงลำคอ หรือใช้วิธีป้อนไข่ขาวดิบ หรือป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) 3% ในขนาด 1-2 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากเกิน 1 ชั่วโมงให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

3. ห้ามทำให้สัตว์อาเจียนเด็ดขาด หากพบว่า

     - สัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา ไม่ได้สติ อ่อนแรง ชัก ยืนทรงตัวไม่อยู่ เพราะเมื่อสัตว์อาเจียนอาจจะสำลักเข้าหลอดลมได้
     - สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่เป็นกรดหรือด่างรุนแรง เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ
     - สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่มีส่วนประกอบของพาราฟิน น้ำมันปิโตรเลียม และสารระเหย
     - สัตว์เลี้ยงกินสารพิษที่มีส่วนผสมของผงซักฟอกหรือสารที่ทำให้เกิดฟอง

4. รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมกับหยิบขวดสารเคมี ซองยา ฉลาก หรือวัตถุต้องสงสัยที่คาดว่าสัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา ของเรากินเข้าไปด้วย โดยพบว่าหากยิ่งพาไปพบสัตวแพทย์เร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสมีชีวิตรอดสูงขึ้นเท่านั้น

การที่สัตว์เลี้ยง เช่น แมว - หมา เผลอกินสารพิษเข้าไปนั้นเป็นอันตรายไม่น้อยเลย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราเสี่ยงอันตรายกับสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ เราจึงควรเก็บสารพิษหรือสารเคมีให้มิดชิด โดยเก็บในตู้ที่ปิดล็อกหรือเก็บในตู้สูงที่สัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่วางขวดสารพิษหรือสารเคมีทิ้งไว้ระเกะระกะ ใช้เสร็จแล้วให้เก็บเข้าที่ทันที และเมื่อมีการใช้เคมีในบริเวณบ้าน เช่น น้ำยาถูพื้น ยาฆ่าแมลง ควรกันสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับสารเคมี


📌อ่าน : ต่างกันอย่างไร ? การวางยาสลบสัตว์ “แบบยาฉีด” กับ “ใช้เครื่องดมยา”

📌อ่าน : แสงที่ออกมาจากดวงตาของ “แมว” เวลากลางคืนคืออะไร ?


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : wagwalking, curadio.chula, ผศ. ดร. สพ.ญ.นรรฆวี แสงกลับ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษกินสารพิษกินสารเคมีแมวหมาสุนัขทาสแมวทาสหมาเจ้าของสัตว์เลี้ยงสารพิษวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

(เซบา บาสตี้ : 0854129703) : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด