ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พี่มิจฯ ขยันปลอม ! อ้างศูนย์บริการปชช. "กรมการปกครอง"


Verify

24 ต.ค. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

พี่มิจฯ ขยันปลอม ! อ้างศูนย์บริการปชช. "กรมการปกครอง"

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1772

พี่มิจฯ ขยันปลอม ! อ้างศูนย์บริการปชช. "กรมการปกครอง"
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

Thai PBS Verify ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กชื่อ "สมาคมคุ้มครองทางเทคโนโลยี" นำรูปภาพโปรไฟล์ของ "ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง" มาใช้ ตรวจสอบเนื้อหาภายในเพจพบว่า มีการนำเอาเนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ของ ปปง. ไปแชร์ในเพจให้ดูน่าเชื่อถือ แต่กลับไม่ใช่ภาพข่าวจริง

ภาพบันทึกหน้าจอเพจปลอม

ภาพโปรไฟล์ของเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า "สมาคมคุ้มครองทางเทคโนโลยี" มีการนำโลโก้ของ ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง มาใช้เป็นรูปโปรไฟล์ของเพจดังกล่าว (ลิงก์บันทึก)

โลโก้ของศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโลโก้เพจปลอม (ซ้าย) และภาพจากเว็บไซต์ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง ที่มิจฉาชีพนำมาใช้เป็นหน้าปก (ขวา):

ภาพบันทึกหน้าจอเพจปลอม (ซ้าย) เปรียบเทียบกับ ภาพบันทึกหน้าจอเว็บไซต์ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง (ขวา)

จากการตรวจสอบพบว่า บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว ระบุว่าเป็นหน่วยงานราชการ ขณะที่ข้อมูลในช่องแนะนำตัว ระบุว่า ”รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ขับเคี่ยวความไม่เป็นธรรม ประสบการณ์ช่วยหนุนนำ ความยุติธรรมสู่สังคม” และเมื่อตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ พบว่าเพจดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา

ภาพบันทึกหน้าจอ เพจดังกล่าวถูกสร้างเมื่อ 22 ตุลาคม 2567

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเพจจริงของ กรมการปกครอง พบว่า เพจจริงใช้ชื่อว่า "กรมการปกครอง fanpage" ปัจจุบันมีผู้ติดตาม 270,000 คน สร้างมาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2011 (ลิงก์บันทึก)

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างเพจปลอม (ซ้าย) และภาพจากเพจ กรมการปกครอง (ขวา):

ภาพบันทึกหน้าจอเพจปลอม (ซ้าย) เปรียบเทียบกับ ภาพบันทึกหน้าจอเพจกรมการปกครอง (ขวา)

นอกจากนี้จากการตรวจสอบเนื้อหาภายในเพจพบว่า มีการนำเนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ไปแชร์ในเพจเพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย แต่เมื่อตรวจสอบภาพข่าวดังกล่าวพบว่า เป็นข่าวแถลงจับเครือข่ายแก๊งไฮบริดสแกม “จีน-ไทย-สิงคโปร์” ที่ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข่าวเก่า และไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ที่ถูกนำมาใช้แต่อย่างใด (ลิงก์บันทึก)

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างเพจปลอม (ซ้าย) และภาพข่าวที่มิจฉาชีพนำมาใช้ (ขวา):

ภาพบันทึกหน้าจอเพจปลอม (ซ้าย) เปรียบเทียบกับ ภาพบันทึกหน้าจอข่าวที่ถูกนำมาแอบอ้าง (ขวา)

ทั้งนี้หากประชาชนต้องการทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวของกรมการปกครอง ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารได้ที่เพจทางการของกรมการปกครอง ทาง https://www.facebook.com/dopafanpage เพียงเท่านั้น

ภาพบันทึกหน้าจอเพจกรมการปกครอง

ทั้งนี้หากสงสัยว่าเพจที่ท่านติดต่อเป็นเพจจริงหรือไม่ สามารถสังเกตได้ดังนี้

-สังเกตชื่อเพจแท้ จะใช้ชื่อ "กรมการปกครอง fanpage"
-สังเกตยอดผู้ติดตาม เพจแท้มีผู้ติดตามกว่า 2.7 แสนคน (ระวังมิจฉาชีพพิมพ์ยอดผู้ติดตามของปลอมไว้ที่รายละเอียดของเพจ)
-สังเกต URL โดยกดที่จุด 3 จุด กดที่ลิงก์เพจ เพจของแท้ URL หลังเว็บไซต์เฟซบุ๊กต้องเป็น /dopafanpage
-สังเกตความโปร่งใสของเพจ เพจแท้ถูกสร้างเมื่อ 18 พฤษภาคม  ค.ศ.2011

ภาพบันทึกหน้าจอเพจกรมการปกครอง ระบุสร้างเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.2011

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอมเพจปลอมเงินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกลงทะเบียนหลอกลวงโดนหลอกหลอกลงทะเบียนยืนยันตัวตนข้อมูลเท็จข้อมูลส่วนบุคคล
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

จากทหารถือปืน เปลี่ยนมาเป็นนักข่าวถือไมค์ สู่การเป็นนักเขียนถือปากกา

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด