จริงไหม ? “ความเครียด” ทำให้ผมหงอก


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

9 ต.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

จริงไหม ? “ความเครียด” ทำให้ผมหงอก

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1694

จริงไหม ? “ความเครียด” ทำให้ผมหงอก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ด้วยความที่ “ผมหงอก” (ผมสีขาว) มักถูกกล่าวโยงถึงอายุและความเครียด (Stress) ดังนั้น Thai PBS Sci & Tech จึงขอพาไปหาคำตอบให้คนที่สงสัยว่า “ความเครียด” สามารถทำให้ผมหงอกได้จริงไหม

ผู้หญิงผมหงอก

“ความเครียด” ทำให้ "ผมหงอก" เป็นเรื่องจริง

แม้ทั่วไปแล้วผมจะเริ่มหงอกเมื่ออายุประมาณ 35 ปีขึ้นไปผู้ที่มีผมหงอกก่อนวัย คือ ผู้ที่มีผมหงอกก่อนอายุ 25 ปี ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่

     - การขาดแร่ธาตุและวิตามินบางชนิด
     - พันธุกรรม (เป็นสาเหตุหลักของการมีผมหงอกก่อนวัย)
     - ความเครียด
     - การพักผ่อนไม่เพียงพอ
     - โรคบางชนิด เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคไทรอยด์
     - การสูบบุหรี่
     - มลภาวะทางอากาศ

ผมหงอก

อธิบายการเกิดของสีดำของเส้นผม

เส้นผมแต่ละเส้นถูกสร้างขึ้นโดยรูขุมขน ซึ่งเป็นช่องเปิดมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ในผิวหนัง โดยรูขุมขนประกอบด้วยเซลล์ต้นกำเนิด 2 ชนิดที่แตกต่างกันคือ

     - เซลล์เคอราติโนไซต์ (Keratinocyte) : ผลิตเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างและสร้างเส้นผมใหม่
     - เซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) : ผลิตเมลานิน (Melanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ทำให้เส้นผมและผิวของเรามีสีสัน

ทั้งนี้ เมลานิน 2 ประเภทหลักที่กำหนดสีผมยูเมลานินเป็นเม็ดสีดำน้ำตาล และฟีโอเมลานินเป็นเม็ดสีแดงเหลือง โดยปริมาณของเม็ดสีที่แตกต่างกันจะกำหนดสีผม ผมสีดำและสีน้ำตาลมีเมลานินเป็นส่วนใหญ่ ผมสีแดงมีฟีโอเมลานินมากที่สุด และผมสีบลอนด์มีเมลานินทั้งสองชนิดเพียงเล็กน้อย

ผู้หญิงผมหงอก

แล้วอะไรทำให้ผมหงอก ?

เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ จะทำงานน้อยลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เซลล์ต้นกำเนิดในรูขุมขนจะผลิตเมลานินน้อยลง ซึ่งจะทำให้เส้น “ผมหงอก” และเคราตินจะน้อยลง ทำให้ผมบางและหลุดร่วง

เนื่องจากเมลานินถูกผลิตน้อยลง เม็ดสีที่ใช้สร้างสีผมจึงน้อยลง ผมหงอกจะมีเมลานินน้อยมาก ในขณะที่ผมขาวจะไม่มีเมลานินเหลืออยู่เลย

ผมที่ไม่มีเม็ดสีจะมีลักษณะเป็นสีเทาขาว หรือเงิน เนื่องจากแสงสะท้อนจากเคราตินซึ่งเป็นสีเหลืองอ่อน โดยผมหงอกจะหนากว่า หยาบกว่า และแข็งกว่าผมที่มีเม็ดสี เนื่องจากรูปร่างของรูขุมขนจะไม่สม่ำเสมอเมื่อเซลล์ต้นกำเนิดเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และสิ่งที่น่าสนใจคือผมหงอกจะยาวเร็วกว่าผมที่มีเม็ดสี

ผมหงอก

อธิบาย “ความเครียด” ทำให้ “ผมหงอก”

“ความเครียด” จะไปทำลายรูขุมขน - เซลล์ต้นกำเนิด ทำให้หยุดการผลิตเมลานิน รวมถึงมีการกระตุ้นประสาทซิมพาเทติก ทำให้สเต็มเซลล์สร้างเม็ดเลือดสีบริเวณรากผมหมดอย่างรวดเร็วและทำให้ผมหงอกก่อนวัย

ทั้งนี้ “เซลล์เมลาโนไซต์” มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายมากกว่า “เซลล์เคอราติโนไซต์” เนื่องจากมีขั้นตอนที่ซับซ้อนในการผลิตเมลานิน ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมการแก่ก่อนวัยและความเครียดจึงมักทำให้ผมหงอกก่อนผมร่วง


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : theconversation, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ความครียดทำให้ผมหงอกผมหงอกความเครียดStressวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด