แนวทางจริยธรรมสื่อไทย ในยุคที่กฎหมายยังตามเทคโนโลยี AI ไม่ทัน


Logo Thai PBS
แชร์

แนวทางจริยธรรมสื่อไทย ในยุคที่กฎหมายยังตามเทคโนโลยี AI ไม่ทัน

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1644

แนวทางจริยธรรมสื่อไทย ในยุคที่กฎหมายยังตามเทคโนโลยี AI ไม่ทัน
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เทคโนโลยี AI ก้าวเร็วและไปไกล ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยอาจตามไม่ทัน สู่ความน่าเป็นห่วงที่ AI นอกจากจะถูกนำไปใช้ในทางที่ถูกแล้วยังถูกใช้ในทางที่ผิด จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาถก โดยเฉพาะวงการ “สื่อ” ซึ่งเป็นฝ่ายส่งสารไปยังผู้เสพที่ต้องดำรงจริยธรรมนำเสนอความถูกต้องอยู่เสมอ สู่การจัดงานเสวนา “เทคโนโลยี AI กับความรับผิดชอบทางจริยธรรมในงานสื่อ” ซึ่งจัดที่ไทยพีบีเอส ในวันนี้ (25 ก.ย. 67) จากสาระในงานนี้ Thai PBS และ Thai PBS Sci & Tech จึงขอสรุปประเด็นน่ารู้มาให้ได้อ่านกัน

งานเสวนา “เทคโนโลยี AI กับความรับผิดชอบทางจริยธรรมในงานสื่อ”

รศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล นักวิชาการอิสระ Founder Spectrum Podcast ได้กล่าวถึงข้อกังวลในการ Generative AI เอามาใช้กับอุตสาหกรรมในงานสื่อเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

รศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล

ในปัจจุบันประเทศไทยเป็น user สำหรับใช้งาน AI ยังไม่ได้มีการสร้างและผลิต AI ได้เอง แต่การ Generative AI ออกมาใช้งานนั้นข้อกังวลที่เกิดขึ้นคือ

     1. Deepfake เพราะสามารถตัดต่อหน้าตาและเสียงบุคคลใดก็ได้ มาสร้างเป็นภาพหรือวิดีโอ
     2. Copyright เพราะ AI เป็นสิ่งที่ต้องนำข้อมูล Input เข้ามาและสอน AI ให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง แต่ข้อมูลที่ถูกนำเข้ามานั้นเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากแค่ไหน เพราะหาก AI ได้ Input ข้อมูลที่ผิดเข้ามาก็จะเป็น AI ที่ให้ข้อมูลผิดพลาด ไม่ถูกต้อง
     3. รายได้ในองค์กรสื่อ เนื่องจากนโยบายอัลกอริทึมของ AI มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา AI ใครเป็นคนควบคุมนโยบายเหล่านั้นและมีข้อกังวลว่าจะเป็นการผูกขาดคอนเทนต์ ไม่สร้างความหลากหลายของคอนเทนต์ต่อผู้ชม

คุณศิริลักษณ์ รุ่งเรืองกุลดิษฐ์

ขณะที่ คุณศิริลักษณ์ รุ่งเรืองกุลดิษฐ์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวถึงเรื่อง EU AI ACT (EU Artificial Intelligence Act) เอาไว้ว่า

EU AI ACT หรือพระราชบัญญัติ AI ได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 โดยแบ่งประเภท AI ตามระดับความเสี่ยงทั้งหมด 4 ระดับ เพื่อบอกว่าจะต้องดำเนินการโดยวิธีใดบ้าง หากพบเจอการนำ AI ไปใช้เพื่อสิ่งเหล่านี้ ได้แก่

     1. ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ เช่น การให้คะแนนทางสังคม ความเสี่ยงนี้ห้ามนำ AI ไปใช้โดยสิ้นเชิง
     2. ความเสี่ยงสูง เช่น สาธารณูปโภค, การศึกษา, การจ้างงาน หากนำ AI ไปใช้จะต้องมีการประเมินเพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบของ AI นั้นสอดคล้องกัน
     3. ความเสี่ยงจำกัด เช่น Chatbot, Deepfake ต้องอยู่ภายใต้ความโปร่งใส มีการใส่ลายน้ำหรือข้อความแจ้งเตือนอย่างชัดเจนว่านี่คือ AI
     4. ความเสี่ยงน้อยสุด เช่น AI ในวิดีโอเกมหรือตัวกรองสแปม

AI Media

ด้าน คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล กรรมการบริหาร และ ผอ.สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมสื่อกับการ AI มาใช้ในปัจจุบันว่า

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสื่อได้นำ AI มาใช้ในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น ด้าน Content Production สร้างผู้ประกาศด้วย AI, สร้าง Image and video ด้วย AI แบบ Automated Editing, การตรวจจับ Fake News, workflow Automation, Language Processing and Translation การแปลงเสียงให้เป็นข้อความและการแปลงข้อความให้เป็นเสียง, Audience Analytics นำ AI มาใช้เพื่อ Segmentation Audience และทำ Data Analytics

The Visual by Thai PBS

โดยมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก AI ที่ใช้ในงานของไทยพีบีเอส ได้แก่

     • AI generated illustrations การใช้ซอฟต์แวร์ Generate เพื่อเป็นภาพร่างของผลงาน
     • AI generated Speed to text ใน CapCut นำไปสร้างคำบรรยายในวิดีโอ
     • AI generated News & Program Chatbot ตอบคำถามผู้ชมผ่านแชตบอต 
     • AI generated Visual and Audio AI ผู้ประกาศและบริการอ่านให้ฟัง
     • AI generated Voice on Spot Promote 
     • AI generated Vertical Production ชมสดแนวตั้ง
     • AI generated  Personalized content เพื่อ Analyze Audience และเสิร์ฟคอนเทนต์ให้ตรงกับผู้คนมากขึ้น
     • AI generated Text Summaries สรุปบทความด้วย AI

AI นอกจากมีประโยชน์ ส่งผลกระทบต่องานสื่อมวลชนอย่างไร

     ข้อดี : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เข้าถึงผู้ชมได้เยอะขึ้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
     ข้อเสีย : สูญเสียงาน ความอคติในการนำเสนอ เสี่ยงกับความถูกต้องแม่นยำ ขาดความสร้างสรรค์

โดยมี Case Study ที่ส่งผลกระทบของ AI ในไทยพีบีเอสดังนี้

ภายนอก :

     1. ความเข้าใจของผู้ชม แม้รู้จัก AI แต่วันที่ปล่อยเสียงบอตจากบริการอ่านให้ฟังออกไปพบว่ามีคนติติงเรื่องการอ่านคำและการเว้นวรรคคำของบอตเยอะมาก เนื่องจากผู้ชมเข้าใจว่าเสียงที่ปล่อยออกไปนั้นเป็นเสียงมนุษย์ แต่ความจริงแล้วเป็นเสียงของบอต เพราะเสียงของบอตเหมือนมนุษย์มากจนแยกไม่ออก
     2. ความนิยม ไม่เป็นการยืนยันว่าทุกผลิตภัณฑ์ ที่ลงทุนกับ AI นั้น ๆ ไป จะได้รับความนิยมเสมอไป

ภายใน :

     1. AI เป็นเรื่องทักษะความรู้ เทคโนโลยี คนทำคอนเทนต์ การตลาด กราฟิก วิดีโอ ตัดต่อ ต้องเข้าใจกลไกทางเทคโนโลยี
     2. นโยบายและหลักเกณฑ์ เช่น การนำเสียงบอตที่เป็นเสียงอัตลักษณ์ของผู้ประกาศ สามารถปล่อยออกไปได้ทันทีเลยหรือไม่

business-hand-robot-handshake-artificial-intelligence-digital-transformation


เพราะ “กฎหมายไม่มีทางตามเทคโนโลยีทัน แต่การมี Code of Conduct จะเป็นคู่มือที่จะบอกว่า เราทำอะไรได้ หรือไม่ควรทำอะไรบ้าง” ดังที่ คุณศิริลักษณ์ รุ่งเรืองกุลดิษฐ์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้นิยามไว้เพื่อเป็นเสมือนเข็มทิศนำทางเป็นกรอบให้สื่อทำงานในยุคเทคโนโลยีก้าวล้ำบนความถูกต้อง - เหมาะสม


📌 รับชมงานเสวนา “เทคโนโลยี AI กับความรับผิดชอบทางจริยธรรมในงานสื่อ” ย้อนหลังได้ทาง

• Facebook : https://fb.watch/uPpNOLbiV4/ 
• YouTube : https://youtu.be/T4bQNdlHAyc


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

จริยธรรมสื่อจริยธรรมสื่อไทยเทคโนโลยีAIปัญญาประดิษฐ์Thai PBSThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech นวัตกรรมInnovationInnovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด