หาคำตอบ..ทำไม ? “เอกสารทางกฎหมาย” เข้าใจยาก


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

11 ก.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

หาคำตอบ..ทำไม ? “เอกสารทางกฎหมาย” เข้าใจยาก

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1579

หาคำตอบ..ทำไม ? “เอกสารทางกฎหมาย” เข้าใจยาก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

“เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) เป็นที่รู้กันว่ามีความยากต่อการเข้าใจ ต้องมีการวิเคราะห์ ตีความต่าง ๆ นานา เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าวจึงมีงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์วารสาร PNAS ได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบมาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกัน

lawyer-legal-advice-law-compliance

ณ ปัจจุบัน “ภาษาทางกฎหมาย” ได้แทรกซึมอยู่ในกระบวนการคิดของพวกเรามากมาย ซึ่งไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็น “นักกฎหมาย” ก็มีการนำภาษาเหล่านี้มาใช้ และด้วยความยากในการทำความเข้าใจ - วิเคราะห์ จึงเป็นคำถามที่ต้องการหาคำตอบตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นโจทย์ให้ทีมนักวิจัยจากคณะนิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ทำการวิจัยเพื่อหาคำอธิบายในเรื่องนี้

judges-gavel-with-books

จากการศึกษาพบว่า “เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) จะมีการใช้ภาษาที่มีรูปแบบสร้างความน่าเชื่อถือเป็นเอกลักษณ์ มีการอธิบายในรายละเอียดที่ยาวมากเพื่อเพิ่มความสำคัญ และผู้คนมักจะมีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น “เอกสารทางกฎหมาย” โดยจุดเริ่มต้นนี้น่าจะเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่ง Edward Gibson ทีมนักวิจัยจาก MIT กล่าวว่า เอกสารกฎหมายยุคนั้นเขียนซับซ้อนมากจนไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร และตั้งแต่นั้นมาก็แทบจะไม่มีการปรับปรุงใด ๆ ผู้คนดูเหมือนจะเข้าใจว่าเป็นกฎเกณฑ์โดยนัยว่ากฎหมายควรมีลักษณะแบบนี้ จากนั้นก็ทำตามสืบต่อกันเรื่อยมา ซึ่งขัดกับแรงผลักดันตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นและเข้าใจกันมากขึ้น

โดยการวิจัยก่อนหน้าซึ่งเผยแพร่ในวารสาร sciencedirect ระบุว่า คำจำกัดความยาว ๆ ตรงกลางประโยค ซึ่งเรียกว่า “Center embedding” มีส่วนสำคัญต่อความซับซ้อนของ “เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) ทีมวิจัยจึงหาคำตอบของสมมติฐานดังกล่าว โดยทดลองให้อาสาสมัครที่ไม่ใช่นักกฎหมายจำนวน 286 คน เขียนงานเขียนประเภท ต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อความบรรยายกฎหมาย เรื่องราวเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายเหล่านั้นแก่ผู้คนจากประเทศอื่น ๆ

Legal word

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า “Center embedding” นั้นถือเป็นเรื่องปกติในการเขียนกฎหมาย ไม่ว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับการขอให้กลับไปแก้ไขฉบับร่างในภายหลังหรือไม่ก็ตามก็จะต้องมีอยู่ ซึ่งทำให้ทราบว่าไม่ใช่การแก้ไขหลายรอบที่ทำให้ “เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) มีความซับซ้อน แต่อาจเป็นการบรรยายกฎหมายที่มีความยาวมาก ๆ และการใช้คำยาก ๆ ที่ทำให้เรา ๆ เข้าใจได้ยาก

ทางทีมวิจัยจึงเสนอแนวทางว่า “เอกสารทางกฎหมาย” ควรลดการเขียนบรรยายกฎหมายที่ยาวมาก ๆ พร้อมกับใช้ภาษาที่เรียบง่ายมากขึ้นโดยที่ไม่สูญเสียหรือบิดเบือนเนื้อหาการสื่อสาร ซึ่งจะสามารถช่วยให้ “เอกสารทางกฎหมาย” (Legal Document) มีความตรงไปตรงมามากขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : pnas, sciencedirect, sciencealert

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เอกสารทางกฎหมายLegal Documentกฎหมายภาษากฎหมายวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด