ช่วงนี้กระแสการลงทุนมาแรง “มิจฉาชีพ” สบช่องโหนกระแส “Money Guru” และ “ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน” ที่คนเชื่อถือ หลอกให้เหยื่อเชื่อใจยอมลงทุน เพื่อหวังกำไรก้อนใหญ่ ด้วยความห่วงใย Thai PBS Sci & Tech และธนาคาร UOB จึงขอแจ้งเตือนภัยให้ได้ทราบ มาพร้อมจุดสังเกต เพื่อไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่อ
มิจฉาชีพจะแอบอ้างคนดังในแวดวงการลงทุน โดยสร้างบัญชีโซเชียลมีเดียปลอม แล้วโพสต์คอนเทนต์ให้ดูน่าเชื่อถือ จากนั้นจะให้ Add LINE หรือแชตส่วนตัว เพื่อคุยรายละเอียดการลงทุน โดยมีทีมงานมิจฉาชีพในคราบของผู้เชี่ยวชาญการลงทุนคอยแนะนำการลงทุนให้ด้วย บางครั้งมีลิงก์ให้ดาวน์โหลดแอปฯ (ปลอม) ไว้ดูความเคลื่อนไหวของพอร์ตการลงทุน แรก ๆ เมื่อลงทุนก็จ่ายผลตอบแทนให้ตามที่ตกลง แต่เมื่อเริ่มตายใจ เพิ่มจำนวนเงินการลงทุนขึ้น ก็จะเริ่มหลอกให้โอนเงินเพิ่ม เพื่อถอนผลกำไรออกจากพอร์ต และสุดท้ายเงินลงทุนทั้งหมดอาจหายเรียบ
อยากลงทุน นอกจากต้องศึกษาข้อมูลของสินทรัพย์ให้ดีแล้ว ยังต้องศึกษาและเช็กให้แน่ใจก่อนว่าสินทรัพย์หรือธุรกิจที่เราจะร่วมลงทุนนั้นมีตัวตนจริง เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อ ที่นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังอาจถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ได้อีกด้วย
ทริกป้องกันภัย :
• ระวังการแอบอ้างชื่อบุคคล หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย
• หากผลตอบแทนสูงเกินจริง หรือมีการให้โอนเงินลงทุนไปยังบัญชีชื่อบุคคลธรรมดาให้สงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพไว้ก่อน
• ลงทุนกับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
• ตรวจสอบรายชื่อบุคคล ผู้ประกอบการ และหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ก.ล.ต. หรือ SET ทุกครั้งก่อนลงทุน
Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !
📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพแอบอ้างหน่วยงานรัฐ หลอกรับช่วยเหลือเหยื่อคดีออนไลน์
📌อ่าน : รู้ไหม ? มิจฯ ใช้ e-Wallet หลอกอะไรเราบ้าง
📌อ่าน : กลับมาระบาดอีกแล้ว ! “Kids Model” หลอกผู้ปกครอง ปั้นลูกเป็นดารา
📌อ่าน : ระวัง ! “มิจฉาชีพ” หลอก “กดลิงก์รับเงินดิจิทัล”
📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพ “หลอกลงทะเบียน” อ้างรับเงินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์
📌อ่าน : เปิด 7 จุดสังเกต กลโกงมิจฉาชีพ “หลอกลงทุน”
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ธนาคาร UOB
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech