ขณะนี้ “มิจฉาชีพ” ออกอาละวาด “แอบอ้างหน่วยงานรัฐ” หลอกลวงรับช่วยเหลือซ้ำเติมเหยื่อคดีออนไลน์ ด้วยความเป็นห่วง Thai PBS Sci & Tech มี 4 ข้อสังเกต สำหรับตรวจเช็กไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่อซ้ำสองมาฝาก
มิจฉาชีพ แอบอ้างชื่อหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจไซเบอร์, บช.สอท. ตั้งชื่อเป็นศูนย์ช่วยเหลือต่าง ๆ เป็นต้น มักยิงสื่อโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก โดยตัดต่อ คัดลอกข้อมูลต่าง ๆ มาจากเพจจริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกให้โอนเงิน
ข้อสังเกต
⚠️ เพจต้องได้รบการยืนยัน มีเครื่องหมายรับรองตัวตน ☑️ Verified badge
⚠️กดที่ปุ่มจุดสามจุด💬 สังเกตที่ URL ของเพจ
⚠️ชื่อเพจสะกดถูกต้องหรือไม่ มิจฉาชีพมักทำเลียนแบบ เช่นมีจุดหรืออักขระพิเศษ
⚠️ ดูรายะเอียดของเพจ วันที่สร้างเพจ และเคยเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนไหม
⚠️ ระวังโดนหลอกยอดคนถูกใจ มิจฉาชีพ อาจพิมพ์ยอดผู้ติดตามปลอมไว้ที่รายละเอียดของเพจ
✅หากประชาชนได้รับความเสียหายหรือถูกหลอกลวงในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์นี้ www.thaipoliceonline.com หรือ โทร.ปรึกษาสายด่วน 1441 เท่านั้น !
Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !
📌อ่าน : รู้ไหม ? มิจฯ ใช้ e-Wallet หลอกอะไรเราบ้าง
📌อ่าน : กลับมาระบาดอีกแล้ว ! “Kids Model” หลอกผู้ปกครอง ปั้นลูกเป็นดารา
📌อ่าน : ระวัง ! “มิจฉาชีพ” หลอก “กดลิงก์รับเงินดิจิทัล”
📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพ “หลอกลงทะเบียน” อ้างรับเงินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์
📌อ่าน : เปิด 7 จุดสังเกต กลโกงมิจฉาชีพ “หลอกลงทุน”
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech