ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

LGBTQ+ Pride Flags ความหมาย ชีวิตและตัวตน


Lifestyle

31 พ.ค. 67

Thai PBS Digital Media

Logo Thai PBS
แชร์

LGBTQ+ Pride Flags ความหมาย ชีวิตและตัวตน

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1229

LGBTQ+ Pride Flags ความหมาย ชีวิตและตัวตน
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

กว่าจะเดินทางมาถึงยุคที่ "ความหลากหลายทางเพศ" เริ่มเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก ก็ผ่านการต่อสู้มาอย่างหนักท่ามกลางกระแสการต่อต้านในแง่มุมต่าง ๆ นับตั้งแต่เหตุการณ์ "1969 Stonewall Uprising" หรือเหตุจลาจลที่สโตนวอลล์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1969 บริเวณย่านเกรนิชวิลเลจ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการกำหนดให้เดือนมิถุนายนของทุกปี เป็น Pride Month เพื่อเป็นการยกย่องและรำลึกถึงรำลึกประวัติศาสตร์อันสำคัญ รวมถึงการแสดงความภาคภูมิใจผ่าน LGBTQ+ Pride Parade การเดินขบวนพร้อมกับการโบก "ธงสีรุ้ง" พลิ้วไหว

ซึ่ง "ธงสีรุ้ง" ที่เห็นนั้น ไม่ใช่การทำขึ้นมาเพื่อความสวยงามประกอบการเดินขบวนเพียงเท่านั้น แต่ยังมีนัยของความหมายที่สะท้อนชีวิตและตัวตนของ LGBTQIAN+

ย้อนประวัติศาสตร์กว่าจะมาเป็น LGBTQ+ Pride Flags

 

 

Gilbert Baker Pride Flag : ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1978 นักกิจกรรมคนหนึ่งนามว่า "ฮาร์วีย์ มิลค์" (Harvey Milk) ได้ขอให้ "กิลเบิร์ต เบเกอร์" (Gilbert Baker) ออกแบบสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกัน ซึ่ง "กิลเบิร์ต" ก็ได้ออกแบบให้ โดยใช้ "สี" เป็นตัวแทนความหมายต่าง ๆ ของกลุ่ม LGBTQ+ ได้แก่

  • Hot Pink (สีชมพูเข้ม) หมายถึง "เพศ" (Sex)
  • Red (สีแดง) หมายถึง "ชีวิต" (Life)
  • Orange (สีส้ม) หมายถึง "การเยียวยา" (Healing)
  • Yellow (สีเหลือง) หมายถึง "แสงอาทิตย์" (Sunlight)
  • Green (สีเขียว) หมายถึง "ธรรมชาติ" (Nature)
  • Turquoise (สีเทอร์คอยซ์ : สีน้ำเงิน) หมายถึง "เวทมนต์" และ "ศิลปะ" (Magic & Art)
  • Indigo (สีคราม : สีน้ำเงินม่วง) หมายถึง "ความสงบ" (Serenity)
  • Violet (สีม่วง) หมายถึง "จิตวิญญาณ" (Spirit) ของ LGBTQ+

 

 

Traditional Pride Flag : หลังการลอบสังหาร "ฮาร์วีย์ มิลค์" ธง Gilbert Baker Pride Flag ก็มีความต้องการสูงมาก แต่เนื่องจากปัญหาด้านการผลิต ก็ทำให้มีการตัดสินใจนำริ้ว "สีชมพูเข้ม" (Hot Pink) และริ้ว "สีเทอร์คอยซ์" (Turquoise) ออก ท้ายที่สุดก็เหลือเพียง "6 สี" ซึ่งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์กลุ่ม LGBTQ+ ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา และเป็นธงที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันมากที่สุด

 

 

Philadelphia Pride Flag : ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในกิจกรรม Pride ของเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยกำเนิดขึ้นจากคณะกรรมการสภาเมืองฟิลาเดลเฟีย ที่มุ่งหวังจะหลอมรวมกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่มักถูกมองข้าม ด้วยการเพิ่มริ้ว "สีดำ" และ "สีน้ำตาล" เป็นสัญลักษณ์ของคนผิวสีที่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

 

 

Progress Pride Flag : สำหรับธงนี้... พัฒนามาจาก Philadelphia Pride Flag ถูกสร้างขึ้นโดย "แดเนียล เควเซอร์" (Daniel Quaser) ซึ่งเขาได้เพิ่มริ้ว "สีขาว, สีชมพู และสีฟ้า" เข้าไป เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม Trans หรือกลุ่มคนข้ามเพศ ขณะเดียวกัน ริ้วสีดำและสีน้ำตาลก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคนผิวสี รวมถึงแทนการโอบรับบุคคลอีกจำนวนมากที่หลุดหายไประหว่างทางในวิกฤต HIV/AIDS ช่วงยุคทศวรรษที่ 1980 และ 1990 โดยธงนี้ก็เป็นหนึ่งในธงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

 

 

Intersex-Inclusive Progress Pride Flag : ถูกสร้างขึ้นโดย "วาเลนติโน เวคคิเอตติ" (Valentino Vecchietti) แห่ง Intersex Equality Rights UK ซึ่งได้เพิ่มกลุ่ม Intersex หรือบุคคลผู้มีลักษณะทางเพศกำกวม เข้าไปในธงด้วย ทั้งนี้ มีการอัปเดตธงในปี ค.ศ. 2021 และทำหน้าที่เป็นธง LGBTQ+ มาจนถึงวันนี้

 

 

Queer Pride Flag : ธงนี้อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 เป็นสัญลักษณ์แทนคำนิยามของ "Queer" โดยริ้ว "สีชมพูและสีน้ำเงิน" แทนเสน่ห์ความดึงดูดเพศเดียวกัน ขณะที่ ริ้ว "สีส้มและสีเขียว" แทน Non-Binary หรือบุคคลที่ไม่ได้นิยามอัตลักษณ์ทางเพศ สำหรับริ้ว "สีดำและสีขาว" แทนกลุ่ม "Asexual, Aromatic และ Agender"

 

นอกจาก "ธงสีรุ้ง" แบบรวมของคนทุกกลุ่มแล้ว ยังมี "ธง" ที่สะท้อนชีวิตและตัวตนของแต่ละกลุ่มด้วย

 

Sexual Orientation Flags

 

Lesbian Pride Flag.jpg

 

Lesbian Pride Flag : ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 และกลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ซึ่งแต่ละเฉดของ "สีแดง, สีชมพู และสีส้ม" สะท้อนความหลากหลายของลักษณะความเป็นเพศหญิงในกลุ่มเลสเบี้ยน (Lesbian)

 

Trans-Inclusive Gay Men's Pride Flag.jpg

 

Trans-Inclusive Gay Men's Pride Flag : เวอร์ชัน 2 ของธง Gay Men’s Pride Flag ซึ่งเดิมทีมีเพียงแค่ "สีเขียว, สีน้ำเงิน และสีขาว" แต่เวอร์ชันนี้มีความหลากหลายของเฉด "สีเขียวและสีน้ำเงิน" มากขึ้น ซึ่งเป็นการรวม non-cisgender gay men เข้าไปด้วย

 

Bisexual Pride Flag.jpg



Bisexual Pride Flag : ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1998 โดย "ไมเคิล เพจ" (Michael Page) ที่จุดประกายการตระหนักรู้เกี่ยวกับ Bisexual Community ซึ่ง "สีชมพู" สะท้อนเสน่ห์ของ Bisexual ที่มีต่อเพศเดียวกัน ขณะที่ "สีน้ำเงิน" สะท้อนเสน่ห์ความน่าสนใจต่อเพศตรงข้าม ส่วนริ้ว "สีม่วง" ที่อยู่ตรงกลางนั้นสะท้อนความน่าดึงดูดใจต่อทั้ง 2 เพศ

 

Pansexual Pride Flag.jpg

 

Pansexual Pride Flag : ถูกสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 2010 เพื่อที่จะสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่เป็น Pansexual หรือผู้ที่รักได้ทุกเพศ มีขอบเขตกว้างกว่าไบเซ็กชวล โดย "ริ้วสีชมพู" สะท้อนเสน่ห์ต่อผู้หญิง ขณะเดียวกันริ้ว "สีน้ำเงิน" ก็สะท้อนเสน่ห์ต่อผู้ชาย ส่วนริ้ว "สีเหลือง" ก็เพื่อทุกคนในระหว่างและเหนือกว่า "เพศทวิลักษณ์" (Gender binary)

 

Asexual Pride Flag.jpg

 

Asexual Pride Flag : ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 หลังการประกวด Asexual Visibility and Education Network สำหรับอัตลักษณ์ของ Asexual (การไม่ฝักใจทางเพศ หรือผู้ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ) ต่อเพศใด ๆ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความรัก แต่ละริ้วจะมีความหมายแตกต่างกัน คือ สีดำแทน Asexuality, สีเทาหมายถึง Gray-asexuality & Demisexuality, สีขาวแทนคู่และพันธมิตร non-asexual และสีม่วงแทน Community

 

Demisexual Pride Flag.jpg

 

Demisexual Pride Flag : ตอนที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้น ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ธงนี้ก็เป็นตัวแทนของคนที่แค่ดึงดูดทางเพศต่อคนที่พวกเขายอมรับความสัมพันธ์ทางอารมณ์เชิงลึกด้วยกัน แต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันไป คือ "สีดำ" แทน Asexulity, "สีเทา" แทน Demisexuality, "สีขาว" หมายถึง Sexuality ขณะที่ "สีม่วง" แทน Communuty

 

Polyamory Pride Flag.jpg

 

Polyamory Pride Flag : ถูกสร้างโดย "จิม อีวาน" (Jim Evans) ในปี ค.ศ. 1995 สำหรับคนที่มีคนรักหลายคน โดยแต่ละสีแทนมุมมองของ Polyamory หลากหลาย คือ "สีน้ำเงิน" แทนการเปิดกว้างและซื่อสัตย์ต่อทุกคนที่เข้ามามีส่วนร่วม, "สีแดง" แทนความรักและความมุ่งมั่น ขณะที่ "สีดำ" แทนความสัมพันธ์ที่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน สำหรับคนที่ต้องการซ่อนความสัมพันธ์แบบ Polyamorous ส่วนสัญลักษณ์พาย (Pi) ที่อยู่ตรงกันเป็นนัยของตัวเลือกที่ไม่สิ้นสุดของพาร์ทเนอร์ที่สามารถเป็น Polyamorous ได้

 

Polysexual Pride Flag.jpg

 

Polysexual Pride Flag : ถูกสร้างทางออนไลน์ในปี ค.ศ. 2012 เพื่อคนที่มีเสน่ห์หลากหลาย แต่ไม่ใช้ทุกเพศ โดยริ้ว "สีน้ำเงิน" แทนเสน่ห์ต่อผู้ชาย, สีชมพู แทนความดึงดูดใจต่อผู้หญิง และสีเขียวความน่าดึงดูดใจต่อคนที่นอกจาก binary

 

ร่วมสำรวจประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านหน้าจอโทรทัศน์และภาพยนตร์ ไปกับ The Visual : เพศ / ซีรีส์ / ภาพยนตตร์ เมื่อพื้นที่ของเรา...ไม่เท่ากัน > https://thevisual.thaipbs.or.th/gender-on-screen/

ที่มา : Human Rights Campaign

แท็กที่เกี่ยวข้อง

LGBTQIAN+ธงสีรุ้งธง Pride MontPride Month
ผู้เขียน: Thai PBS Digital Media

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด