ปัจจุบัน “มิจฉาชีพ” มักจะใช้ Line Official แอบอ้างเป็นร้านค้าหรือหน่วยงานรัฐต่าง ๆ เพื่อหลอกขอข้อมูลหรือหลอกให้โอนเงิน ทำให้เหยื่อบางรายต้องสูญเงินนับแสนบาท ด้วยความห่วงใย Thai PBS Sci & Tech และ ตำรวจไซเบอร์ จึงขอนำวิธีการสังเกต และแนวทางเมื่อพบบัญชีปลอมควรทำอย่างไรมาฝาก
วิธีการสังเกต :
1. สังเกตสัญลักษณ์โล่หน้าชื่อ
- โล่สีน้ำเงินหรือสีเขียว : บัญชีผ่านการรับรองจาก LINE เรียบร้อยแล้ว สามารถเชื่อถือได้
- โล่สีเทา : บัญชีทางการที่ยังไม่ผ่านการรับรองจาก LINE ผู้ใช้ควรตรวจสอบกับเว็บไซต์หรือเพจของร้านค้าและหน่วยงานอีกครั้ง
2. สังเกตจำนวนเพื่อนของบัญชี ถ้าน้อยเกินไป อาจจะเป็นบัญชีปลอมที่พึ่งสร้างขึ้นมาใหม่
3. กรณีที่เปิดหน้าโปรไฟล์ด้วย PC จะมีประเทศที่ตั้งของบริษัทหรือธุรกิจแสดงอยู่
4. มิจฉาชีพมักจะทักแชต โดยที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่อน ถ้าสังเกตด้านบนจะมีคำว่า “เพิ่มเพื่อน” ซึ่งโดยปกติ LINE Official ของจริงผู้ใช้จะต้องเป็นคนเพิ่มเพื่อนเอง
5. บัญชี LINE ที่เข้าข่ายหลอกลวงมักจะมีการขอข้อมูลส่วนตัวแล้วโน้มน้าวให้โอนเงิน
พบบัญชีปลอมควรทำอย่างไร :
1. หากเจอ LINE ปลอมให้กดรายงานทันที
2. โดยกดปุ่มด้านบนมุมขวาที่เป็นขีดสามขีด
3. เลือกการตั้งค่ารูปฟันเฟือง และกดรายงานปัญหา
4. หากพบการกระทำผิดสามารถส่งหลักฐานได้ที่ contact-cc.line.me
หากพี่น้องประชาชนท่านใดตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์ สามารถแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ (เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ที่เว็บไซต์นี้เท่านั้น www.thaipoliceonline.go.th หรือหากมีข้อสงสัยสามารถโทร.ปรึกษาสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Thai PBS Sci & Tech เตือนภัย..ใกล้ตัว !
📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพหลอกขาย “ลาบูบู้” ฉวยโอกาสกระแสอาร์ตทอยมาแรง
📌อ่าน : แอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ! “มิจฉาชีพ” ส่ง SMS - ลิงก์ปลอม มาหลอกลวง
📌อ่าน : ระวัง ! มิจฉาชีพแอบอ้าง กสทช. ส่ง SMS แนบลิงก์ปลอม หลอกลงทะเบียนยืนยันตัวตน
📌อ่าน : เตือนภัย ! มิจฉาชีพใช้ AI Deepfake หลอกให้โอนเงิน
📌อ่าน : 3 สิ่งไม่ควรโพสต์ลงโซเชียลฯ อาจเกิดผลกระทบ-อันตรายได้
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech