ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

11 เมษายน “World Parkinson's Day” ชวนเข้าใจโรคพาร์กินสัน ไม่ใช่แค่มือสั่น แต่ส่งผลถึงสภาพจิตใจด้วย


วันสำคัญ

10 เม.ย. 66

อธิเจต มงคลโสฬศ

Logo Thai PBS
แชร์

11 เมษายน “World Parkinson's Day” ชวนเข้าใจโรคพาร์กินสัน ไม่ใช่แค่มือสั่น แต่ส่งผลถึงสภาพจิตใจด้วย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/109

11 เมษายน “World Parkinson's Day” ชวนเข้าใจโรคพาร์กินสัน ไม่ใช่แค่มือสั่น แต่ส่งผลถึงสภาพจิตใจด้วย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วันที่ 11 เมษายนนี้ตรงกับวันพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Day) โรคที่มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ เราอาจคุ้นเคยกับอาการมือสั่น แต่โรคนี้มีอะไรมากกว่านั้น ไทยพีบีเอสชวนทุกคนมารู้จัก เข้าใจเพื่อสามารถรับมือ เฝ้าระวังและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคทางระบบประสาทที่ไม่ใช่แค่มือสั่น แต่ส่งผลถึงสภาพจิตใจด้วย

โรคพาร์กินสันคืออะไร ? ใครเสี่ยงบ้าง ?
    โรคพาร์กินสันหรือที่รู้จักกันในชื่อโรคสันนิบาตลูกนก คือ โรคทางสมองอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของก้านสมองทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อ “โดพามีน” ลดลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น และเพราะโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองที่จะหรั่งออกมาในเวลาที่มนุษย์มีความสุข ความผิดปกติของสารนี้จึงส่งผลถึงสภาพจิตใจด้วย
โรคนี้มีกลุ่มเสี่ยงหลักคือกลุ่มผู้สูงอายุ ขณะที่กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองและกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม โรคพาร์กินสันไม่ได้เกิดเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น มีสถิติพบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่อยู่ในวัยทำงานหรืออายุน้อยกว่า 40 ปี อยู่ 8% จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั้งหมด

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคพาร์กินสันแล้ว
    โรคพาร์กินสันถือเป็นโรคจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย ยิ่งได้รับการรักษาช้าก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ทุกคนสามารถสังเกตอาการของตัวเองหรือคนใกล้ชิดเมื่อป่วยได้ ดังนี้
    • มือสั่น เคลื่อนไหวช้า การเดินมีลักษณะซอยเท้าสั้น และปวดตามเนื้อตัวเล็กน้อย
    • มือสั่นและเคลื่อนไหวช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ลายมือเ ปลี่ยนไปเขียนตัวเล็กลงเรื่อย ๆ พูดเสียงเบาลง
    • เริ่มทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เหมือนเดิม กล้ามเนื้อไม่มีแรง หยิบจับของแล้วทำตกหลุดมือง่าย

รู้เร็วรักษาเร็วยิ่งดี สัญญาณเตือนที่ผู้คนมักคาดไม่ถึง
    โรคพาร์กินสันมีกลุ่มอาการนำที่จะเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า 3-5 ปี โดยอาการนำเหล่านี้มาจากข้อมูลการสอบอาการย้อนหลัง ได้แก่
    • อาการท้องผูกเป็นประจำและเรื้อรัง
    • จมูกไม่ได้กลิ่น
    • มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ซึมเศร้าไม่ทราบสาเหตุ
    • เกิดปัญหาด้านการนอนหลับ มีการนอนละเมอบ่อย ๆ
    • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน
    • ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืช 
    เหล่านี้ถือเป็นอาการนำและปัจจัยเสี่ยง แม้อาการหลายอย่างจะเกิดขึ้นได้เป็นปกติในกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดเฝ้าระวัง สังเกตพบอาการนำและปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกันก็ควรรีบพบแพทย์ตรวจเพื่อให้เกิดการเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มผู้ป่วยพาร์กินสันที่อายุน้อยกว่า 40 ปี มักจะไม่มีอาการสั่นทำให้วินิจฉัยได้ยาก ดังนั้นหากพบอาการนำและปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้

สัญญาณโรคพาร์กินสัน

การดูแลรักษา
    • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ช่วยเรื่องสุขภาพกายและลดอาการซึมเศร้า บางรายอาจต้องใช้การทำกายภาพบำบัดเพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกเดิน ทรงตัว และใช้ไม้เท้าให้เหมาะสมกับอาการเพื่อลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม
    • รับประทานยาที่ช่วยปรับสมดุลของโดพามีนในสมอง โดยคนไข้ต้องรับประทานให้ตรงเวลาตามแพทย์สั่ง ยาดังกล่าวจะช่วยปรับระดับโดพามีนทำให้อาการดีขึ้น คนไข้ห้ามหยุดยาเอง เพราะร่างกายจะผลิตสารโดพามีนไม่ทันและกลับมาป่วยหนักได้
    • ครอบครัวต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า เพื่อดูแลคนไข้อย่างเข้าใจมากขึ้น
    • ใส่ใจเรื่องสุขอนามัย เช่น ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปข้างนอก ล้างมือเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ป่วยโรคอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่าย การกินอาหารควรกินช้าลงเพื่อป้องกันการสำลัก นอกจากนี้ยังควรรับวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคอื่น ๆ ด้วย
    • ผ่าตัดสมอง ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์หากอาการมีความซับซ้อนไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นทั้งการออกกำลังกายและใช้ยา แพทย์อาจเลือกการผ่าตัดเพื่อใช้เครื่องกระตุ้นสมองเป็นการรักษาเฉพาะราย
 

ข้อมูลจาก
คนสู้โรค: โรคพาร์กินสัน รู้เร็ว บรรเทาได้
คนสู้โรค: การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน, จัดท่านอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียง
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
คนสู้โรค แนะนำท่าฝึกเดินในผู้ป่วยพาร์กินสัน : ปรับก่อนป่วย
วันใหม่วาไรตี้ ประเด็นสังคม : นวัตกรรม "ไม้เท้าเลเซอร์" เพื่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
คนสู้โรค : จับสังเกตพาร์กินสันแท้หรือเทียม

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โรคสันติบาตลูกนกWorld Parkinson’s Dayพาร์กินสัน
อธิเจต มงคลโสฬศ
ผู้เขียน: อธิเจต มงคลโสฬศ

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส สนใจเนื้อหาด้านสุขภาพจิต สาธารณสุข และความยั่งยืน รวมถึงประเด็นทันกระแสที่มีแง่มุมน่าสนใจซ่อนอยู่

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด