ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"สงครามข้อมูล" โจทย์ใหญ่สื่อ ในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

สังคม
6 เม.ย. 68
15:25
86
Logo Thai PBS
"สงครามข้อมูล" โจทย์ใหญ่สื่อ ในยุควิกฤตความเชื่อมั่น
ไม่ใช่แค่ตึกที่ถล่ม แต่ความเชื่อมั่นในข้อมูลก็ร้าว งานสัมมนา "สงครามข้อมูล 2025" ชูภารกิจสื่อ-สังคม ต่อต้านข่าวลวงในยุคที่ใครๆ ก็สื่อสารได้ ทุกคนมีไมโครโฟนเป็นของตัวเอง

เหตุอาคารสำนักงาน สตง. ถล่มจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 ส่งแรงสั่นสะเทือนมาถึงวงการสื่อสารมวลชนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดปรากฏการณ์ ที่รู้สึกได้ว่า เวียนหัว ตึกสั่น อาคารร้าว ผู้คนต่างอพยพวิ่งลงจากอาคารหลายแห่งทั่วกรุงเทพมหานคร และในทันทีข่าวสารก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในโซเชี่ยลมีเดีย ทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม สร้างความตระหนกตกใจในวงกว้าง

นี่จึงกลายเป็นประเด็นหารือสำคัญในงานสัมมนาที่จัดขึ้นหลังวัน "โกหก" (1 เมษายน April Fools' Day) 1 วัน เพื่อสถาปนาให้วันที่ 2 เมษายน เป็นวัน "ตรวจสอบข่าวลวงโลก" หรือ International Fact-Checking Day ภายใต้หัวข้อ "สงครามข้อมูล 2025 : โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น (The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust)"

โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากวงการสื่อ เทคโนโลยี และนโยบายสาธารณะ เพื่อหาทางออกให้สังคมท่ามกลางความท้าทายของยุคดิจิทัลที่สถานการณ์ข่าวลวงทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

วิกฤตข่าวลวง โลกและประเทศไทย

ข้อมูลของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม หรือ Anti-Fake News Center ในปี 2567 พบว่า การแพร่กระจายข่าวปลอมในโซเชียลมีเดียมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ การเมือง และภัยพิบัติ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกและบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างยิ่ง

คุณคิดว่าจะเห็นข่าวลวงหรือการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงในหนังสือพิมพ์ไหม

นั่นเป็นคำถามที่ กิตติ สิงหาปัด ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ ตั้งเป็นประเด็นคำถามใหญ่ขึ้นในวงสนทนา เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมกับสื่อออนไลน์

กิตติ สิงหาปัด ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ

กิตติ สิงหาปัด ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ

กิตติ สิงหาปัด ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ

"หนังสือพิมพ์ แม้จะเป็นเพียงกระดาษในเชิงกายภาพ แต่กระบวนการผลิตที่มีการตรวจสอบหลายขั้นตอนช่วยกรองข้อมูลให้มีความถูกต้องสูง ในขณะที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องทางหลักที่ข่าวลวงแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและควบคุมได้ยาก ดังนั้น สื่อหลักจึงยังเป็นแหล่งข้อมูลข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุด เพราะสื่อมวลชนมืออาชีพ จะมีองคาพยพที่ช่วยกลั่นกรองข้อมูลก่อนจะปล่อยสู่ประชาชน"

กิตติ ย้ำให้เห็นว่า สื่อมวลชนในสำนักข่าวที่ยังมีกระบวนการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำเสนอ ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการต่อสู้กับข่าวลวง

สอดคล้องกับความเห็นของ "เบนซ์" เจ้าของบัญชี TikTok "ตุ๊ดย่อยข่าว" ซึ่งเห็นด้วยว่า แม้ประชาชนจะเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายและเร็วกว่าสื่อหลัก แต่อินฟลูเอนเซอร์ผู้ผลิตคลิปข่าว คอนเทนต์ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็ยังต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงมาจาก "สื่อหลัก" ก่อนเสมอ เพราะเชื่อว่าสื่อหลักมีคลังทรัพยากร มากมายและหลากหลายกว่า

จะดูข้อมูลจากสื่อใหญ่เป็นหลัก เพราะมีนักข่าว แหล่งข้อมูลที่ตรง เข้าถึงลึกกว่า มีความน่าเชื่อถือ คนในยุคนี้อยู่กับสื่อโซเชียลมากกว่า เลยทำให้พวกเขาเข้าถึงได้เร็วกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าคนจะเชื่อข่าวจากอินฟลูฯมากกว่าสื่อหลัก ยังไงสื่อหลักก็ยังมีความน่าเชื่อถืออยู่

"Half Truth" อันตราย "ขั้นกว่า" จากความจริงที่มีเพียงครึ่งหนึ่ง

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ Thai PBS ยอมรับว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลในโซเชียลมีเดียเป็นความท้าทายที่อยู่ในขั้น "หนักหนาสาหัส" โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตอย่างแผ่นดินไหว มีอาคารถล่ม มีอาคารร้าว มีข้อมูลมาจากทุกทิศทาง ซึ่งมาพร้อมข่าวที่ไม่จริงแต่มีองค์ประกอบที่รวมกันอยู่ในข่าวลวงชิ้นนั้นที่ทำให้คนพร้อมจะเชื่อได้ คือ มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง เช่น ข่าวลวงเรื่อง "ตึกใบหยกในกรุงเทพฯ เอียงและร้าวจากแรงสั่นสะเทือน" ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเพียงรอยสีแตกมาตั้งแต่ปี 2554

ความจริงครึ่งเดียวนี้อันตรายยิ่งกว่าข่าวปลอมทั้งหมด เพราะมันผสมความจริงเข้ากับความเท็จ ทำให้คนเชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม ผู้อำนวยการ Thai PBS ย้ำ

"เจดีย์ชเวดากอง ถล่มลงแล้วจากแผ่นดินไหว" เป็นอีกหนึ่งข่าวที่ถูกส่งต่อกันอย่างรวดเร็วพร้อมภาพตัดต่อที่ดูสมจริง ท่ามกลางความโกลาหลหลังแผ่นดินไหว

นี่เป็นอีกหนึ่งข่าวลวงที่สร้างความเข้าใจผิดเป็นวงกว้าง เป็นกรณีศึกษาที่สำนักข่าวหลายแห่งต้องเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจำกัดการเผยแพร่ข่าวลวงโดยเร็ว

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผอ.ส.ส.ท. และ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ อดีต ผอ.สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผอ.ส.ส.ท. และ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ อดีต ผอ.สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผอ.ส.ส.ท. และ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ อดีต ผอ.สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

AFP สำนักข่าวจากต่างประเทศที่มีสาขาทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ทำการตรวจสอบข่าวนี้จากแหล่งข่าวโดยตรง เนื่องจากมีนักข่าวประจำอยู่ที่เมียนมา จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ยืนยันความจริงได้อย่างชัดเจนว่า เจดีย์ชเวดากองไม่ได้ถล่ม ภาพที่ถูกเผยแพร่เป็นภาพของเจดีย์จากเมืองอื่นของเมียนมาที่ถล่มจริงจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

เช่นเดียวกับการหาความจริงของ Thai PBS Verify ที่ใช้วิธีค้นหาข้อมูลจาก Google Map ดูแผนที่ เพื่อให้เห็นสภาพแวดล้อมรอบข้าง นำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับภาพเจดีย์ถล่มในข่าว ประกอบกับการยืนยันจากสื่อของเมียนมาในเวลาต่อมา จึงได้ข้อสรุปว่า ภาพข่าวเจดีย์ถล่มไม่ใช่เจดีย์ชเวดากอง โบราณสถานสำคัญของชาวเมียนมาแน่นอน

"ในภาวะที่ทุกคนตกใจและค้นหาคำตอบ เช่น แผ่นดินไหวรุนแรงแค่ไหน เราเสี่ยงหรือไม่ ข้อมูลแบบนี้ยิ่งซ้ำเติมความโกลาหล และเน้นว่า สื่อมีหน้าที่ส่งมอบความจริงที่ชัดเจนและรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายจากความสับสน บทบาทของ Thai PBS คือการทำให้ประชาชนเข้าถึงความจริงได้ง่ายที่สุด (Making truth easy to find) ด้วยการเอาความจริงไปให้ถึงมือประชาชน แม้ทุกคนจะสามารถค้นหาข้อมูลได้จากหลายช่องทาง แต่สื่อหลักต้องเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้"

รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวย้ำถึงบทบาทของสื่อมืออาชีพที่ต้องเป็นหลักในการนำเสนอความจริงให้ได้ในภาวะเช่นนี้

"AI" ผู้ช่วยหรือผู้ร้ายในยุคสงครามข้อมูล

"AI Deepfake สามารถแต่งเรื่องเพื่อหลอกลวงแบบเจาะจงได้ หลาย ๆ ข้อมูลอาจถูกสร้างด้วย AI โดยใช้ภาพเก่าและการตัดต่อวิดีโอให้ดูสมจริง"

เจฟฟ์ กัว CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกโกลุก จำกัด หรือที่รู้จักกันทั่วไป คือ แอปพลิเคชัน Whoscall อธิบายถึงวิวัฒนาการของภัยไซเบอร์ตั้งแต่ยุคของการใช้มัลแวร์เข้าโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ มาสู่ยุคดาร์กเว็บซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย ยุคสแกมเมอร์ที่หลอกลวงผ่านอีเมลและ SMS จนถึงปัจจุบันคือยุค Deepfake ที่ผสาน AI เข้ากับการสร้างเนื้อหาเท็จ

เจฟฟ์ กัว CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกโกลุก จำกัด

เจฟฟ์ กัว CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกโกลุก จำกัด

เจฟฟ์ กัว CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกโกลุก จำกัด

วาเนสซา สไตน์เม็ทซ์ ผอ.โครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริชเนามัน เพื่อเสรีภาพ กล่าวว่า สิ่งที่ท้าทายก็คือ AI ที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่นักข่าวที่ประสบความยากลำบากกับสิ่งเหล่านี้ แม้แต่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียก็ประสบด้วยเช่นกัน เรากำลังอยู่ในยุคของการปล่อยข่าวลวงและพัฒนาเป็นวิกฤต

ข่าวลวงไปได้ทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่ในทำเนียบขาว คำถามคือ แล้วเราจะใช้ AI ต่อสู้กับความจริง หรือใช้ให้หาความจริง
วาเนสซา สไตน์เม็ทซ์ ผอ.โครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริชเนามัน

วาเนสซา สไตน์เม็ทซ์ ผอ.โครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริชเนามัน

วาเนสซา สไตน์เม็ทซ์ ผอ.โครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริชเนามัน

ด้าน ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) มองว่า สื่อสามารถใช้ AI ให้เป็นผู้ช่วยที่มีประสิทธิภาพได้ หากเข้าใจการใช้อย่างถูกต้อง เช่น ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวจากเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนทั่วโลก เพื่อยืนยันความรุนแรงและผลกระทบ แต่หาก AI ไปอยู่ในมือมิจฉาชีพ ก็อาจกลายเป็นเครื่องมือทำลายความน่าเชื่อถือของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการทำให้ประชาชนรู้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่เช่นนี้ด้วย

"นายทวารข่าวสาร" (Gatekeeper) สื่อป้องกัน "ข่าวลวง" สู่สังคมอย่างไร ?

เมื่อไล่เรียงขั้นตอนกระบวนการนำเสนอข่าวของนักข่าวก่อนจะเผยแพร่ไปยังผู้รับสาร สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ "การยืนยันแหล่งที่มาของข่าว" ตามหลักวารสารศาสตร์ 5 W 1 H (Who, What, Where, When, Why and How) ซึ่งถือเป็นหลักในการทำงานของคนทำข่าว หลักนี้มีชื่อเรียกว่า "นายทวารข่าวสาร" หรือ "ผู้กลั่นกรองข่าวสารก่อนนำเสนอ" (Gatekeeper)

หนึ่งในผู้ทำหน้าที่ "ส่งสาร" ในฐานะพิธีกรและเจ้าของเพจ "เคนโด้ช่วยด้วย" เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ให้ความเห็นว่า ช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติมักจะมีข่าวลวงและข่าวปลอมเกิดขึ้นมากที่สุดเพื่อปั่นกระแส จึงต้องตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือและต้องเข้าถึงแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือให้ได้ในช่วงเวลานั้น พร้อมย้ำว่า ข่าวลวง จะมีประสิทธิภาพน้อยลง ถ้าไม่ถูกนำเสนอต่อผ่านสื่อหลัก

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

ข่าวปลอมจะไม่มีอานุภาพใด ๆ หากสื่อไม่นำมาเสนอต่อ เพราะปัจจุบันสื่อกระแสหลักไม่ได้มีแค่ทีวี แต่ยังมีสื่อออนไลน์ที่ประชาชนรับข้อมูลข่าวสาร จึงอยากให้สื่อมวลชนช่วยกันตรวจสอบ สะกิดเตือนกันได้หากมีการนำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องแม้จะอยู่คนละช่องก็ตาม เกรียงไกรมาศ กล่าว

ส่วนเจ้าของเพจ "หมอแล็บแพนด้า" หรือ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน กล่าวในฐานะอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 3 ล้านคน ถึงวิธีการตรวจสอบข้อมูลก่อนสื่อสารผ่านเพจ ว่า หลักแรกต้อง "เอ๊ะ" ไว้ก่อน ตั้งข้อสงสัยและข้อสังเกต โดยใช้ประสบการณ์ที่เคยเสพข่าวมา จากนั้นเช็กข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือที่มีส่วนรับผิดชอบกับเรื่องนั้น ๆ รวมถึงสำนักข่าวหรือสำนักข่าวต่างประเทศ

สังเกตได้ว่าเพจที่ค่อนข้างอยู่มานานและมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง จะไม่รีบนำข่าวอะไรที่น่าเอ๊ะมาลง เพราะมีโอกาสผิดพลาดสูง ดังนั้นต้องดับเบิลเช็กจากหลาย ๆ ที่ที่มีความน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การตรวจสอบด้วยสายตา ค้นคว้า หาข้อมูลเปรียบเทียบโดยนักข่าวอาจไม่เพียงพอ สำนักข่าว, องค์กรสื่ออย่าง Cofact หรือ เพจชัวร์ก่อนแชร์ และองค์กรหลายๆแห่งจะมีเครื่องมือและทีมงานช่วยในการกลั่นกรองข่าวอีกขั้น เช่น Thai PBS Verify, AFP Fact Checking Team

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานสัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 หัวข้อ สงครามข้อมูล 2025 โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

งานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 ปิดท้ายด้วยการเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ทั้งสื่อมวลชน ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ร่วมมือกันเพื่อรับมือกับสงครามข้อมูลที่ทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุแผ่นดินไหวที่ไม่เพียงทำลายโครงสร้างพื้นฐาน แต่ยังเขย่าความเชื่อมั่นของสังคมผ่านข่าวลวงอย่างมาก ขณะที่ผู้ร่วมเสวนาทุกคนเห็นพ้องว่า การเข้าถึงความจริงและการสร้างความเชื่อมั่นในยุคนี้ต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยี ความรับผิดชอบของสื่อ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

อ่านข่าวอื่น :

จีนเร่งช่วยเมียนมา วิกฤตหนักไฟไหม้ซ้ำเติม ยอดตายพุ่ง 3,470 คน

“3 อยู่” เพื่อรับมือสงครามการค้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง