รายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงสำรวจ ที่จะพาทุกคนไปสำรวจวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของผู้คน ที่สะท้อนออกมาจาก ‘อาหาร’ ที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งถูกสนับสนุนข้อมูลโดย GISTDA เพื่อเปิดประสบการณ์และมุมมองใหม่ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของอาหารวัตถุดิบท้องถิ่น ข้อมูลภูมิศาสตร์อันเป็นที่อยู่ของแหล่งอาหาร และการท่องเที่ยวที่จะให้ความรู้สึกแตกต่างไปเดิม ร่วมเดินทางและออกสำรวจได้พร้อมกัน
ติดตามชม The Surveyor 2024 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00-08.30 น. ทางไทยพีบีเอส
รายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงสำรวจ ที่จะพาทุกคนไปสำรวจวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของผู้คน ที่สะท้อนออกมาจาก ‘อาหาร’ ที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งถูกสนับสนุนข้อมูลโดย GISTDA เพื่อเปิดประสบการณ์และมุมมองใหม่ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของอาหารวัตถุดิบท้องถิ่น ข้อมูลภูมิศาสตร์อันเป็นที่อยู่ของแหล่งอาหาร และการท่องเที่ยวที่จะให้ความรู้สึกแตกต่างไปเดิม ร่วมเดินทางและออกสำรวจได้พร้อมกัน
ติดตามชม The Surveyor 2024 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00-08.30 น. ทางไทยพีบีเอส
ป่าชายเลน แหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก โดยสัตว์ทะเลบางชนิดสามารถบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าชายเลนนั้น ๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะ "เพรียง" สัตว์ทะเลลำตัวยาวและมีปล้อง อาศัยอยู่ในท่อนไม้ที่ยืนต้นตาย ทั้งยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยเรื่องพละกำลัง เพรียงจะหน้าตาเป็นอย่างไร
ประเทศไทยนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำ เนื่องจากมีดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ต่อการทำเกษตร โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ นั่นเอง นอกจากนี้ข้าวยังสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำขนมไทยพื้นบ้านได้หลากหลายอย่าง โดยเฉพาะ "ข้าวยาคู" ขนมไทยพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอมจากข้าว รสชาติและหน้าตาจะเป็นอย่างไร
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
‘ใบเหมี้ยง’ หรือชาอัสสัมป่า พืชที่คนเหนือนิยมนำมาหมัก เพื่อเป็นของว่าง หรือเคี้ยวหลังมื้ออาหาร เป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อกันมา และรู้จักกันในชื่อของการอมเหมี้ยง แต่ทำไมใบเหมี้ยงถึงเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมกันที่ภาคเหนือ แล้วใบเหมี้ยงสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง