เรานำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจจับภาพที่สร้างโดย Generative
AI ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่ามีความเป็นไปได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ที่ภาพจะถูกสร้างด้วย Generative AI
นอกจากนี้เรายังนำคลิปดังกล่าวไปให้ ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์
สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรวจสอบ ซึ่ง ผศ.ดร.รัชฎา ระบุว่า
ในช่วงแรกที่ไม่ได้สังเกตที่มือของคนที่ใช้รองรับตั๊กแตน ก็เกือบที่จะเชื่อว่าเป็นคลิปที่ถ่ายทำจริง
เพราะหากเป็นภาพที่มีการ Generative AI ส่วนใหญ่จะมีลักษณะของภาพที่สะดุด แต่เมื่อสังเกตเห็นนิ้วมือ
ก็ทำให้ระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นภาพที่สร้างจาก AI (ลิงก์บันทึก)
ทั้งนี้สำหรับการแยกแยะวิดีโอว่าถูกสร้างจาก Generative AI หรือไม่นั้น ต่อไปอาจจะต้องมีการแยกเป็นลักษณะเฟรม
และลงลายละเอียดให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่า การพัฒนาของ Generative AI
ในปัจจุบันถือว่าทำคลิปได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องของตั๊กแตน หรือเรื่องราวอื่น ๆ ที่ถูก
Generative AI ขึ้นมา ก็ไม่แปลกที่จะมีผู้ที่หลงเชื่อว่าเป็นคลิปจริง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือต้องมีความสงสัยเอาไว้ก่อน และอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น เพราะปัจจุบันเป็นยุคของ
Generative AI ดังนั้นต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนเสียก่อน
อย่างไรก็ตามภาพที่เกิดขึ้นจากการสร้างของ AI ก็ถือว่ายังสามารถจับผิด หรือสังเกตความผิดปกติได้ง่าย ๆ โดยดูได้จาก
1. ภาพเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่ รูป AI เพราะภาพจาก AI ที่เราเห็นโดยส่วนใหญ่นั้น
รูปแบบในพิกเซลอาจจะไม่เหมือนกับภาพถ่ายจริง โดยดูได้จากลักษณะทางทัศนมิติของภาพ ลักษณะของแสงเงาในภาพ
2. สังเกตรายละเอียดเล็ก ๆ เช่น ตัวอักษร ทัศนมิติของเลนส์ของภาพที่ไม่สอดคล้องกันของฉากหน้าหรือฉากหลัง และดูที่มาของภาพ
หรือ EXIF
DATA ว่ามาจากที่ใด หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบภาพถ่ายย้อนกลับ และสังเกตลายน้ำของผู้ให้บริการ AI
ติดมาด้วยหรือไม่
3. สังเกตว่าภาพที่ถูกแชร์นั้นมีมุมเดียวหรือไม่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ ก็มักจะมีภาพจากผู้คนในหลายมุมมอง
แต่ในขณะที่ AI มักทำได้แค่มุมมองเดียว หรือมีเพียงไม่กี่รูป และหากมีเหตุการณ์ที่ถูกทำซ้ำ ๆ
ให้สังเกตได้เลยว่าภาพเหล่านี้สร้างขึ้นจาก AI
4. ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ภาพ โดยปัจจุบันมีเว็บไซต์และโปรแกรมที่สามารถช่วยตรวจสอบภาพที่สร้างด้วย AI ได้ เช่น AI-generated image detectors