ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฤดูใหม่ ? “ฤดูที่ฉันป่วย” เมื่อ “มลภาวะทางอากาศ” กลายเป็น “ปัญหา” เรื้อรังไทย


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

12 มี.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ฤดูใหม่ ? “ฤดูที่ฉันป่วย” เมื่อ “มลภาวะทางอากาศ” กลายเป็น “ปัญหา” เรื้อรังไทย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/918

ฤดูใหม่ ? “ฤดูที่ฉันป่วย” เมื่อ “มลภาวะทางอากาศ” กลายเป็น “ปัญหา” เรื้อรังไทย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ปัญหามลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมานาน และมีแนวโน้มแย่ลงทุกปี ในปี 66 มีคนไทยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศด้วยกันทั้งสิ้น 10.5 ล้านคนและขณะที่เข้าสู่ปี 67 เพียงไม่กี่เดือน พบผู้ป่วยไปแล้วกว่า 1.8 ล้านคน

สอดคล้องกับค่ามลพิษทางอากาศประจำต้นปีที่สูงโด่งเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งจะมีข่าวว่าจังหวัดเชียงใหม่ของไทย มีค่ามลพิษพุ่งนำโด่งยึดอันดับที่ 1 ของโลกไปหมาด ๆ

ทั้งหมดนี้แลกมาซึ่งสุขภาพของประชาชนชาวไทยทุกคน กับโรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็งปอดที่เพิ่มมากขึ้น เด็กเล็ก ๆ ที่สูญเสียโอกาสไม่สามารถออกไปเล่น หรือพัฒนาทักษะที่สำคัญกับกิจกรรมนอกบ้านได้ เพียงเพราะปัญหาเดิม ๆ ซ้ำซากที่เจอกันทุกปี เมื่อฤดูกาลผ่านพ้นไปก็หลงลืม และปล่อยผ่าน จนวนกลับมาพูดถึงใหม่ในปีถัด ๆ ไปเมื่อฝุ่นควันกลับมาอีกครั้ง

ฝุ่น PM 10 และ PM 2.5 นั้น เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆ สำหรับอนุภาคแขวนลอยในอากาศ (particulate matter) ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 และ 2.5 ไมครอนตามลำดับ อาจรวมไปถึงอนุภาคที่เป็นของแข็ง หยดละอองของเหลว แกนของแข็งที่ล้อมไปด้วยของเหลว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี ต้นกำเนิดที่แตกต่างกันไป

ด้วยขนาดที่เล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ (50-70 ไมครอน) หากเราหายใจเอาฝุ่น PM 10 และ PM 2.5 เข้าไป อนุภาคดังกล่าวสามารถเข้าสู่ปอดของมนุษย์ ทำความเสียหายและก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 30 เท่า ซึ่งนอกจากจะกรองได้ยากกว่าแล้ว ยังสามารถแทรกเข้าไปในซอกเล็กของปอด จนถึงซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ผลกระทบในระยะสั้นอาจจะทำให้ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วมีอาการแย่ลง ไปจนถึงผลกระทบระยะยาวที่อาจจะก่อให้เกิดทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ ไปจนถึงโรคหัวใจ และส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

แน่นอนว่าปัญหานี้ค่อนข้างซับซ้อน และทางแก้ที่สามารถทำได้นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ จึงเป็นประเด็นเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขกันได้เสียที

มีคำกล่าวว่า อันดับแรกของการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม คือการยอมรับเสียก่อนว่ามี “ปัญหา” อยู่จริง ถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยจะหันมายอมรับ และวางแผนศึกษาปัญหากันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาทางแก้ไขในระยะยาวที่มากไปกว่าเพียงตื่นตัวกันปีละครั้ง

Thai PBS Sci & Tech ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงขอเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่จะช่วยสื่อสาร สร้างการรับรู้ความเข้าใจให้ประชาชนไทยได้รู้จักกับปัญหาสำคัญดังกล่าวที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

 

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ฤดูที่ฉันป่วยมลภาวะทางอากาศฝุ่น PM 2.5ฝุ่นพิษPM 2.5Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด