ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ดาวพลูโต" ทำไมถึงเป็นได้แค่ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

18 ก.พ. 66

เชษฐ์ธิดา พิเชษฐไพบูลย์

Logo Thai PBS
แชร์

"ดาวพลูโต" ทำไมถึงเป็นได้แค่ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ

https://www.thaipbs.or.th/now/content/66

"ดาวพลูโต" ทำไมถึงเป็นได้แค่ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

"เหมือนดาวเคราะห์ แต่ไม่ใช่ดาวเคราะห์" มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีดวงจันทร์บริวาร โคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ดาวพลูโต ก็ยังไม่ใช่ดาวเคราะห์อยู่ดี

ในปี ค.ศ. 1930 ไคลด์ ทอมบอก์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การจ้องมองฟากฟ้า ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่อยู่ไกลลิบในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงนั้น ได้รับการตั้งชื่อว่า พลูโต เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งยมโลก

ตั้งแต่เริ่มค้นพบ พลูโตก็เต็มไปด้วยความลับ และความแปลกประหลาด…

ดาวพลูโตยากแก่การศึกษา เพราะระยะทางที่ไกลเกินกว่าจะเก็บข้อมูลได้ เรื่องราวของมันเท่าที่มนุษยชาติรับรู้ได้คือการคำนวนวงโคจรของดาวเท่านั้น กระทั่งในปี 1978 เจมส์ คริสตี นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบว่า พลูโตมีดวงจันทร์บริวาร ดวงจันทร์นั้นถูกตั้งชื่อว่า Charon อันเป็นชื่อของชายผู้พายเรือส่งวิญญาณข้ามแม่น้ำในยมโลก การค้นพบ Charon ทำให้มนุษยชาติสามารถหามวลของดาวพลูโตได้ในที่สุด

ซึ่งนั่นก็ทำให้ได้รู้ว่าดาวพลูโต มีมวลเพียง 0.04 เท่า ของดาวพุธ หรือถ้าเทียบกับดวงจันทร์ของโลก พลูโตมีมวลเพียง 0.2 เท่า เท่านั้น นับเป็นดาวที่มีมวลน้อยมาก แต่ดาวเคราะห์ที่ดวงเล็กขนาดนี้ ก็ยังมีดาวบริวารของตัวเองได้

ที่แปลกมากไปกว่านั้น คือดวงจันทร์ Charon กลับมีขนาดใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของดาวพลูโตเสียอีก ซึ่งผิดปกติของดาวบริวารทั่วไป ที่ต้องมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ นอกจากนี้ วงโคจรของดาวพลูโต ก็มีบางช่วง ที่ไปทับกับวงโคจรของดาวเนปจูนอีกด้วย

และพลูโตยังมีเรื่องพิลึกหนักมากกว่านี้…

ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ จะมีวงโคจรที่อยู่ในระนาบเดียวกัน เรียกว่าระนาบ Ecliptic แต่พลูโตกลับมีองศาการโคจรที่เอียงจากระนาบนี้ถึง 17 องศา ที่ถ้าหากมองไกล ๆ จากระบบสุริยะ เราจะมองเห็นดาวพลูโตหมุนระเกะระกะ ท่ามกลางดาวเคราะห์อื่นที่โคจรอย่างเป็นระเบียบ

ดาวพลูโตถูกนับเป็น 1 ในดาวเคราะห์ทั้ง 9 ของระบบสุริยะมาตลอด จนกระทั่ง ในปี 2006 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้กำหนดนิยามของดาวเคราะห์ใหม่คือ 
- ดาวเคราะห์จะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก 
- มีมวลมากพอที่จะดึงรูปร่างให้เป็นทรงกลมหรือเกือบกลม
- วงโคจรต้องไม่ทับกับดาวอื่น

ด้วยนิยามในข้อหลังนี้เอง ทำให้ ดาวพลูโต ซึ่งมีวงโคจรทับกับดาวเนปจูน ไม่สามารถนับเป็นดาวเคราะห์ได้ และถูกลดสถานะให้เป็นเพียง “ดาวเคราะห์แคระ” (dwarf planet) ในระบบสุริยะของเราเท่านั้น

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดาวพลูโตดาวในระบบสุริยะดาวเคราะห์
เชษฐ์ธิดา พิเชษฐไพบูลย์
ผู้เขียน: เชษฐ์ธิดา พิเชษฐไพบูลย์

เจ้าหน้าที่เนื้อหาออนไลน์ สายสุ่มกาชา

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด