ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

140 ปี “กรากาตัว” เรียนรู้อดีต รับมือภัยพิบัติในอนาคต


รอบโลก

21 ธ.ค. 66

ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ (DXC)

Logo Thai PBS
แชร์

140 ปี “กรากาตัว” เรียนรู้อดีต รับมือภัยพิบัติในอนาคต

https://www.thaipbs.or.th/now/content/600

140 ปี “กรากาตัว” เรียนรู้อดีต รับมือภัยพิบัติในอนาคต
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ คงไม่มีลูกไหนมีชื่อเสียงโด่งดังเท่าภูเขาไฟ “กรากาตัว” บริเวณช่องแคบซุนดา ระหว่างเกาะชวา กับ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกิดเหตุปะทุครั้งใหญ่ เมื่อ 140 ปีก่อน (เดือนสิงหาคม 1883)

เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่ได้สร้างความเสียหายหนักที่สุดในโลก แต่ถือเป็นภัยพิบัติที่มีการบันทึกไว้ ว่า เกิดเสียงดังไปไกลแสนไกล  ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชุมชนชายฝั่ง มีเถ้าถ่านปกคลุมท้องฟ้ามืดมิด และมีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการมากถึง  36,417 คน

ภูเขาไฟ “กรากาตัว” บริเวณช่องแคบซุนดา ระหว่างเกาะชวา กับ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกิดเหตุปะทุครั้งใหญ่ เมื่อ 140 ปีก่อน (เดือนสิงหาคม 1883)
แผนที่ภูเขาไฟกรากาตัว


เหตุการณ์ภูเขาไฟ “กรากาตัว” เมื่อปี 1883 ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ภัยพิบัติโลก ฝังอยู่ในความทรงจำทางสังคม และถูกผลิตซ้ำผ่านสื่อหลายรูปแบบ เช่น ภาพยนตร์ สารคดี ภาพและกราฟฟิกจำนวนมหาศาล 

ที่น่าสนใจ คือ วงการศึกษาใช้กรณี “กรากาตัว” มาเป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยม ในการกระตุ้นให้คุณครูและนักเรียนเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ที่ยึดโยงกับการเตรียมเด็กและเยาวชน เพื่อรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต

โปสเตอร์ภาพยนตร์ กรากาตัว (1969)

 

ล่าสุด เว็บไซต์ด้านการเรียนรู้ ชื่อ The Advocate ได้เผยแพร่บทความ การจัดการสอน “กรากาตัว” ให้กับนักเรียน โดยแนะนำคุณครูให้ใช้ ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนโลกแห่งนี้ มาจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน 

1. การให้นักเรียนทำความเข้าใจภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ด้วยการใช้ “แผนที่” และตั้งคำถามหลัก ๆ เพื่อสืบค้นว่า ทำไม บางพื้นที่ของโลกจึงมีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ (จะทำให้นักเรียนค้นพิกัด แผ่นเปลือกโลก วงแหวนแห่งไฟ)

2. การให้นักเรียนเข้าสู่ การทบทวนเหตุการณ์ในอดีต ผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นสึนามิ มลพิษทางอากาศและผลสืบเนื่อง เช่น ภูมิประเทศของเกาะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร

ภูมิศาสตร์ภูเขาไฟ “กรากาตัว” บริเวณช่องแคบซุนดา ระหว่างเกาะชวา กับ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ภูมิศาสตร์ภูเขาไฟ “กรากาตัว” บริเวณช่องแคบซุนดา ระหว่างเกาะชวา กับ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

 

3. นักเรียนต้องตรวจสอบ “สถานะปัจจุบัน” ของภูเขาไฟ “กรากาตัว” ว่าเป็นอย่างไร มีการปะทุเพิ่มอีกกี่ครั้งหลังปี 1883 หรืออาจเน้นบางโจทย์ที่ให้นักเรียนไปค้นคว้า และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นการดีเบต เช่น แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ทำไมสังคมพืชและสัตว์บริเวณเกาะใหม่ถึงเกิดขึ้นได้

4. สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ ต้องสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างกรณีศึกษาภูเขาไฟ “กรากาตัว” กับ ธีมหลักของการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ โดยผู้เขียนบนหน้าเว็บฯ ระบุว่า

“ครูวิทยาศาสตร์ อาจมุ่งเน้นไปที่การให้นักเรียนเรียนรู้สัณฐานของแผ่นเปลือกโลก กระบวนการปะทุของภูเขาไฟ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่วนครูสอนประวัติศาสตร์ อาจพูดถึงผลกระทบต่ออินโดนีเซียในยุคอาณานิคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร (เนื่องจากข่าวเกี่ยวกับการปะทุแพร่กระจายไปทั่วโลก) หรือการให้เปรียบเทียบระหว่างเหตุปะทุของกรากาตัว กับภัยพิบัติอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์”

5. การกระตุ้นให้นักเรียนสำรวจแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ หรือหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความสนใจของนักเรียน บทความนี้ย้ำว่าการจัดการเรียนรู้ “กรากาตัว” เป็นแนวทางสำคัญในการปลูกฝังบทเรียนที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยาประวัติศาสตร์ และผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติต่ออารยธรรมมนุษย์

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ “เหตุภัยพิบัติในอดีต” มาออกแบบ และจัดการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ ด้วยการเน้นกรณีศึกษาที่มีความโดดเด่น และนักเรียนสามารถสืบค้นได้ในโลกออนไลน์
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภัยพิบัติอินโดนีเซียภูเขาไฟ
ผู้เขียน: ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ (DXC)

ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ (DXC) ไทยพีบีเอส

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด