ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ?


Logo Thai PBS
แชร์

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/304

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

บล็อกเชนคืออะไร ? คนไทยกำลังให้ความสนใจจนติดคำค้นหา Google Trends หลังจากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับนโยบาย “แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท” ของพรรคเพื่อไทย โดยจะสามารถใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ผ่านระบบ “บล็อกเชน” วันนี้ Thai PBS Sci And Tech พาผู้อ่านไปรู้จักเทคโนโลยีบล็อกเชนให้มากขึ้น ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และใช้อย่างไร 

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร?

บล็อกเชนเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบกระจายศูนย์ ที่ไม่ต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ก้าวข้ามจุดอ่อนของฐานข้อมูลแบบเดิม ๆ หรือแบบรวมศูนย์ที่ต้องอาศัยตัวกลางรวมศูนย์ข้อมูล ซึ่งหากตัวกลางเกิดล้มเหลว ก็ล้มเหลวทั้งหมด บล็อกเชน จึงไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ เพราะมีการเก็บไว้หลายสำเนา

บล็อกเชน เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์

จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน

บล็อกเชน ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในรูปแบบเอกสารงานวิจัยระบบรักษาความปลอดภัยด้วยห่วงโซ่ของบล็อก ที่มีการเข้ารหัสลับ (Chain of cryptographically secured blocks) ในปี พ.ศ. 2535 โดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์

ก่อนนำมาพัฒนาเพื่อการใช้งานโดยโปรแกรมเมอร์ที่ไม่เปิดชื่อและใช้นามแฝงว่า “ซาโตชิ นากาโมโตะ” สาเหตุที่ซาโตชิ นากาโมโตะไม่ยอมเปิดเผยตัว เนื่องจากเขาต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาทำการพัฒนาระบบเงินดิจิทัลที่มีการกระจายศูนย์โดยสมบูรณ์ มีความปลอดภัยสูงและไม่อยู่ใต้อำนาจของบุคคล หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลขึ้นอยู่กับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน

บล็อกเชน มีประโยชน์ในการสร้างเงินดิจิทัล ทำธุรกรรมโดยไม่ผ่านตัวกลาง

บล็อกเชน ใช้ยังไง

วิธีการทำงานของบล็อกเชน คือ ถ้าเราจะบันทึกธุรกรรมภายในของเราในฐานข้อมูลแบบกระจาย ทุกคนที่อยู่ในสายโซ่เดียวกัน (Chain) แต่ละคนก็จะมีการบันทึกข้อมูลลงในบล็อกที่มีการเข้ารหัสไว้พร้อม ๆ กันในฐานข้อมูลของแต่ละคน ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลที่บันทึกรายการใดถูกต้อง

ดังนั้นในแต่ละสายโซ่ Chain จะต้องมีผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมรายการนั้น ซึ่งแต่ละครั้งจะมีผู้ตรวจสอบความถูกต้องได้เพียงคนเดียว ซึ่งผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องนั้น เราจะเรียกว่า Miners ซึ่งการมี Miner คนเดียว ย่อมไม่สามารถไว้ใจได้ ดังนั้นในระบบบล็อกเชน จึงถูกออกแบบให้มี Miner จำนวนมาก เข้ามาแย่งกันทำหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของรายการ

โดยในแต่ละครั้งจะมี Miner เพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะได้รับฉันทามติให้เป็นผู้ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม ผ่านหลักฐานการทำงาน ดังนั้นการที่ Miner จะสามารถเป็นผู้ตรวจสอบรายการได้สำเร็จ Miner จะต้องมีทรัพยากรการคำนวณที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในสายโซ่ (Chain) ด้วยกลไกนี้ ทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชน มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือสูง

บล็อกเชนโดดเด่นอย่างไร

บล็อกเชน มีประโยชน์อย่างไร

บล็อกเชน สามารถประยุกต์ได้ในหลายเรื่อง เช่น การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ให้ปลอมแปลงได้ แก้ปัญหาเรื่อง โฉนดปลอม โฉนดทับซ้อน เป็นต้น บล็อกเชน ยังสามารถนำไปใช้สร้างธุรกิจใหม่ ๆ ได้แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

บล็อกเชน ใช้วิทยาการเข้ารหัสข้อมูลและเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ในการบันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม ซึ่งหากเรานำปริมาณข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ Internet of Things มาใช้บันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ก็จะพบว่ามีรายการข้อมูลธุรกรรมที่จะต้องบันทึก เป็นจำนวนหลายล้านครั้ง

โดยเมื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยพลังของแพลตฟอร์มขนาดใหญ่แต่สามารถประมวลผลผ่านแพลตฟอร์มขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากที่จะเข้ามาช่วยกันประมวลผลให้การบันทึกธุรกรรมมีความปลอดภัย ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ จึงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน กับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและยังพัฒนาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย

ทำไมจึงควรใช้บล็อกเชน

ชมคลิปเพิ่มติม
• รู้จัก "บล็อกเชน" ให้มากขึ้น ผ่านคลิปนี้  
https://thaip.bs/uEipXB4 
• คิดยกกำลังสอง: ใช้บล็อกเชนอย่างไร…ให้เกิดผล?
https://thaip.bs/jdESm1l

ข้อมูลจาก
• รายการคิดยกกำลังสอง ไทยพีบีเอส
www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-change 
www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-electronic 

-----------------------------
.
🌏 “รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ #ThaiPBSSciAndTech

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci & Tech Thai PBS Sci And Tech Blockchainบล็อกเชน
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด