การฟังเพลงทำให้เรามีความรู้สึก - อารมณ์ร่วม ซึ่งบางคนมองว่าฟังตอนทำงาน - อ่านหนังสือสอบอาจทำให้ไม่มีสมาธิมากกว่า เพื่อไขความกระจ่างนี้นักวิจัยจึงได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ ก่อนเผยแพร่ในวารสาร PLOS One ว่า การฟังเพลงตอนทำงานนั้นจะช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น – ทำงานดีกว่าเดิม
โดยการศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาว่าดนตรีและเสียงรบกวนประเภทต่าง ๆ ส่งผลต่ออารมณ์และประสิทธิภาพทางปัญญาอย่างไรในขณะที่ทำภารกิจรอง ซึ่งต้องระบุสิ่งเร้าหลักอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจสิ่งรบกวน งานวิจัยนี้ได้รวบรวมผู้เข้าร่วม 196 คน ให้ฟังเพลงในเพลย์ลิสต์ Algorithm แอปพลิเคชันสตรีมมิงชื่อดังสร้างขึ้นในชื่อ “Work Flow” รวมถึงเพลง “ที่จะช่วยให้จดจ่อได้ดีขึ้น” เพลงป๊อปฮิต แล้วผนวกกับเสียงพื้นหลังบรรยากาศทั่วไปในออฟฟิศว่าจะให้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง
ผลการวิจัยพบว่า การฟังดนตรีประกอบการทำงานนั้นส่งผลดีต่ออารมณ์และประสิทธิภาพการทำงานได้ เวลาตอบสนองของผู้เข้าร่วมดีขึ้นเมื่อทำงานเสร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดนตรีช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาสามารถประมวลผลข้อมูลการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการปรับปรุงอารมณ์และการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โดยพบว่าผู้ที่มีการปรับปรุงทั้ง 2 ด้านที่กล่าวมาข้างต้นมากขึ้น จะมีความเร็วในการตอบสนองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีที่เรียกว่า “ทฤษฎีอารมณ์ตื่นตัว” (arousal-mood theory) เมื่อเรารู้สึกดีขึ้น จะทำงานได้ดีขึ้น (อารมณ์ดีสอดคล้องกับประสิทธิภาพที่ดี)
ทีมวิจัย กล่าวว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าดนตรีบรรเลงที่แต่งขึ้นโดยตั้งใจเพื่อสนับสนุนสมาธิและความตั้งใจในระหว่างการทำงาน จะช่วยปรับปรุงอารมณ์และเพิ่มความเร็วในการประมวลผลระหว่างการทำงานที่ต้องใช้ความคิด - ใช้สมาธิให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น หากคุณกำลังทำงานอยู่ แล้วต้องการตัวช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น – ทำงานดีกว่าเดิม แนะนำให้สวมหูฟังแล้วเริ่มบรรเลงเพลงได้เลย !
ชวนฟังเพลงรายการ Music Playlist จาก Thai PBS Podcast
- ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ด้วย Lo-fi Playlist Music
- ปลดปล่อยความสุขผ่านทุกคีย์เปียโน สร้างวันให้สดใสด้วยจังหวะแจ๊ส Piano Jazz
- รวมเพลงเพราะ ๆ จากวงการ K-POP
- ของขวัญพิเศษจาก Thai PBS Podcast Music Playlist ที่จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดเทศกาล Chirstmas "Happy Christmas Song"
- รวม Music Playlist จาก Thai PBS Podcast
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : journals.plos, iflscience
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech