ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก ECMO เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด


Logo Thai PBS
แชร์

รู้จัก ECMO เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2215

รู้จัก ECMO เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด หรือ ECMO (อ่านว่า เอ็ก-โม่) ซึ่งย่อมาจาก Extracorporeal Membrane Oxygenation เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่จะช่วยเลี้ยงเลือดด้วยออกซิเจนก่อนที่จะปั๊มไปเลี้ยงผู้ป่วยทั่วร่างกาย ออกแบบมาเพื่อช่วยหัวใจและปอดของผู้ป่วยที่อาจจะกำลังล้มเหลวและต้องการการพักฟื้น

ECMO เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจรุนแรงหรือหัวใจล้มเหลวมีชีวิตรอดอยู่ได้ และให้เวลาอวัยวะเหล่านั้นได้ฟื้นตัว เช่น ผู้ป่วย COVID-19 รุนแรง ซึ่งมีภาวะระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)

Ecmo

ECMO มีต้นกำเนิดทางเทคโนโลยีมาจาก “Heart-lung Machine” หรือ “Cardiopulmonary Bypass (CPB)” ซึ่งเป็นเครื่องฟอกออกซิเจนและปั๊มเลือด CPB จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นหัวใจและปอดเทียมโดยสมบูรณ์ ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดในบริเวณหัวใจได้ เช่น การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องให้หัวใจหยุดเต้นก่อนจึงจะผ่าได้

ในขณะที่ ECMO นั้นต่างจาก CPB ตรงที่ หัวใจไม่ได้หยุดเต้น แต่ ECMO ทำงานร่วมกับหัวใจและปอดของผู้ป่วย แม้ว่าอวัยวะเหล่านี้อาจจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หน้าที่ของ ECMO เป็นการพยุงอวัยวะเหล่านี้ให้ฟื้นตัวได้มากกว่าการทำหน้าที่แทนอวัยวะ

QUADROX

การใช้งาน ECMO นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานพยาบาลและขั้นตอนการรักษา แต่ส่วนใหญ่แล้ว ECMO สามารถใช้ได้ในกรณีใดก็ตามที่หัวใจหรือปอดของผู้ป่วยล้มเหลวหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าการล้มเหลวดังกล่าวจะเป็นอาการปฐมภูมิหรือทุติยภูมิก็ตาม ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการใช้งานจะแตกต่างกันไป และ ECMO จะได้ผลดีที่สุดในกรณีที่ความเสียหายต่ออวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจหรือปอดนั้น “สามารถฟื้นตัวได้” หากเป็นความเสียหายถาวร การใช้ ECMO มักจะไม่ได้ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ตัวอย่างการใช้งาน ECMO คือ

ระบบหายใจล้มเหลว ค่าออกซิเจนละลายในเลือดต่ำ ค่าพีเอชต่ำ (เลือดเป็นกรดมากเกินไป) ซึ่งบ่งชี้ภาวะ Hypercapnia หรือการมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากผิดปกติ

หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจบ่งชี้โดยการลดลงของการไหลเวียนของเลือดในบริเวณแขนและขา (Impaired Peripheral Tissue Perfusion) ปริมาณปัสสาวะน้อย (Low Urine Output) ความดันเลือดต่ำ (Low Blood Pressure) และปอดบวม (Pulmonary Edema)

การไม่สามารถยกเลิกการใช้ CPB ได้หลังจากการผ่าตัดหัวใจ เนื่องจากหัวใจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ (Cardiac Instability)

การใช้ระหว่างเตรียมการฝังเครื่องช่วยปั๊มหัวใจ (Ventricular Assist Device) หรือการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปอด

ECMO

ในช่วงของการระบาดของ COVID-19 นั้น มีการใช้ ECMO อย่างแพร่หลายในการพยายามประคองผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง เช่น ระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งจากการรายงานเบื้องต้นพบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ระดับหนึ่ง

ในการใช้งานเพื่อรักษา ARDS จากทุกสาเหตุ พบว่า ECMO ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ ทั้งนี้การเพิ่มดังกล่าวไม่สม่ำเสมอและแตกต่างกันไปในแต่ละราย

Veno arterial (VA)

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน ECMO นั้น ผู้ป่วยต้องเข้าเกณฑ์บางอย่างด้วย เช่น โอกาสในการฟื้นตัว เนื่องจาก ECMO นั้นไม่เหมาะแก่การใช้งานในผู้ป่วยที่โรคอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง

นอกจากนี้ การใช้งาน ECMO นั้นจำเป็นต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Blood Thinner/Anticoagulant) เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวในเครื่อง ECMO และบริเวณเข็ม ECMO ซึ่งอาจอุดตันระบบไหลเวียนเลือดได้ อย่างไรก็ตามการใช้ยาเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเลือดออกได้มากขึ้น

Veno-venous_(VV)

ระบบ ECMO มีหลายชนิด การใช้งานแตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วมักจะใช้เพียงแค่สองชนิดนี้ คือ Veno-arterial และ Veno-venous

ใน Veno-arterial อาจใช้สายจากหัวใจห้องบนซ้าย บริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) รับเลือดเพื่อไปฟอกและปั๊มไปยังสาย Central ในบริเวณหลอดเลือดดำใหญ่ด้านล่าง (Inferior Vena Cava) เพื่อคืนเลือด อาจใช้สำหรับกรณีที่ปิดหรือหัวใจล้มเหลว

ใน Veno-venous นั้น จะใช้ Central Line จากหลอดเลือดดำใหญ่ด้านล่าง เพื่อรับเลือดเข้า ECMO ก่อนที่จะใช้สาย Central Line ส่งเลือดกลับเข้าไปในหัวใจห้องบนขวาบริเวณหลอดเลือดดำใหญ่ด้านบน (Superior Vena Cava)

เรียบเรียงโดย 
โชติทิวัตถ์ จิตต์ประสงค์
Department of Biomedical Sciences
College of Veterinary Medicine and Life Sciences
City University of Hong Kong


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ECMOเครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอดเครื่องมือทางการแพทย์ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจรุนแรงผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจภาวะหัวใจล้มเหลวหัวใจล้มเหลวหัวใจปอดเทคโนโลยีTechnologyInnovationนวัตกรรมThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด