วันนี้ (23 ม.ค.2568) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อ 07:30 น. ตามเวลากรุงดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตรงกับเวลา 13:30 น. ตามเวลาในประเทศไทย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้ส่วนราชการทุกส่วนที่ได้ร่วมประชุม ทั้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะทำงานส่วนราชการในการแก้ไขฝุ่นควัน เมื่อวันพุธที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ก่อนการเดินทางมาประชุมWorld Economic Forum ที่ดาวอส
โดยนายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งแก้ไขปัญหาทันที ตามที่มีการกำหนดแนวทางในการประชุม และขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งการแก้ไขแบบเร่งด่วนทันที และแผนการระยะสั้น และระยะยาว โดยขอหน่วยงานต่าง ๆ รายงานการดำเนินการทุกวัน โดยกรุงเทพมหานคร ขอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตัดสินใจทันที
ทั้งเรื่องการประกาศหยุดเรียนของนักเรียนในสังกัด กทม. โดยส่วนราชการอื่น ๆ อาทิ กระทรวงศึกษาธิการให้ตัดสินใจพิจารณาดำเนินการ และกำชับให้ กทม. ใช้ 9 มาตรการ เช่น เข้มงวดตรวจวัดตรวจจับรถยนต์ควันดำทุกประเภทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนที่กำหนด ขอความร่วมมือทำงานหรือปฏิบัติงานในที่พัก (Work From Home) เข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท อย่างเข้มข้น
ขณะที่กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
- กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เข้มข้นในการดำเนินมาตรการงดการรับซื้ออ้อยไฟไหม้ และได้กวดขันโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปรามเขาตรวจสอบเป็นระยะ
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้บังคับใช้กฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดกับผู้เผาป่า เผาตอซังข้าว ข้าวโพด อ้อยและพืช ในทุกหมู่บ้านทุกอำเภอทั้งประเทศ และตั้งศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่ 14 กลุ่มป่า ตั้งจุดเฝ้าระวังไฟในพื้นที่ป่า และแผนการจัดจ้างคนในชุมชนประจำจุดเฝ้าระวังอีก 1,585 จุด และดำเนินคดีกับผู้เผาป่า ด้วยกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ และบังคับใช้กฎหมายกับผู้เผา อาทิ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และประมวลกฎหมายอาญา โดยให้รายงานสถิติการจับกุม
- กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการห้ามนำเข้าอ้อยไฟไหม้ รวมทั้งพืชเกษตรอื่น ๆ ที่ผ่านการเผา อย่างเด็ดขาดและให้ตรวจสอบตามด่านพรมแดนที่มีการนำเข้าอย่างเข้มงวด
- นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานความมั่นคง และกรมศุลกากรตรวจสอบการลักลอบการนำเข้าพืชที่ผ่านการเผาทุกชนิดตามแนวชายแดนต่าง ๆ อย่างเข้มงวดตลอดเวลา
สำหรับส่วนราชการอื่น ๆ รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กวดขันจับกุม ห้ามใช้ยานพาหนะที่ปล่อยควันดำเกินมาตรฐานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะรถพิกอัป รถโดยสาร รถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ปล่อยควันดำรวมทั้งรถโดยสารของ ขสมก. และรถร่วมบริการเส้นทางต่าง ๆ ที่อยู่ในความดูแลของรัฐ โดยขอให้ตรวจสอบและกวดขันการจับคุมให้เข้มข้น โดยในกรุงเทพมหานคร กองบังคับการตำรวจจราจร ได้ตั้งด่านตรวจควันดำใน 4 มุมเมืองของกรุงเทพมหานคร
- กระทรวงมหาดไทย ได้กำชับ กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ให้ควบคุมการก่อสร้างในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันการปล่อย PM 2.5 จากไซต์งานก่อสร้าง รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดให้กับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรการดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามกฎหมายกับผู้เผาและให้รายงานสถิติการดำเนินการ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขอให้ขึ้นบินปฏิบัติการต่อเนื่องการเจาะชั้นบรรยากาศเร่งระบายและลดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ กรมการข้าว และ กรมฝนหลวง และการบินเกษตร ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการทำเกษตรกรรมแบบปลอดการเผา
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนา Platform ฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับ hotspot และ ventilation โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม หรือ low cost sensors เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ในการแก้ปัญหาการฟุ้งกระจายของ PM2.5 อย่างบูรณาการ
- ด้านกระทรวงการต่างประเทศ หารือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อร่วมมือและให้ความช่วยเหลือในการลดปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน
- ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ให้ สธ. ทั่วประเทศ เข้ม 5 มาตรการ
- ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขเตรียมพร้อม
- เร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสร้างความรอบรู้ภัยสุขภาพ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ (สสจ.) จัดทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ลงพื้นที่ดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง
- ขยายบริการด้านการแพทย์สาธารณสุขให้ครอบคลุม เช่น เพิ่มห้องปลอดฝุ่น มุ้งสู้ฝุ่น
- สนับสนุนอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น หน้ากากอนามัย อย่างเร่งด่วนต่อไป
ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (วันศุกร์ที่ 24 ม.ค.2568) นายกรัฐฯ จะวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อประชุมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอีกครั้ง
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ประจำวันที่ 23 ม.ค.2568 เวลา 13.00-15.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
- ตรวจวัดได้ 56.8-96.6 มคก./ลบ.ม.
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 74.0 มคก./ลบ.ม.
- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีแดง
อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 30 พื้นที่ คือ
- เขตยานนาวา
- เขตลาดกระบัง
- เขตบางกอกน้อย
- เขตภาษีเจริญ
- เขตบางขุนเทียน
- เขตสาทร
- เขตคลองเตย
- เขตหลักสี่
- เขตบึงกุ่ม
- เขตลาดพร้าว
- เขตคลองสามวา
- เขตสายไหม
- เขตจอมทอง
- เขตบางกอกใหญ่
- เขตตลิ่งชัน
- เขตทวีวัฒนา
- เขตหนองแขม
- เขตบางบอน
- เขตทุ่งครุ
- เขตบางนา
- เขตคันนายาว
- เขตมีนบุรี
- เขตหนองจอก
- เขตประเวศ
- เขตราษฎร์บูรณะ
- สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ
- สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
- สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา
- สวนหนองจอก เขตหนองจอก
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม
อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 40 พื้นที่ คือ
- เขตราชเทวี
- เขตสัมพันธวงศ์
- เขตพญาไท
- เขตวังทองหลาง
- เขตปทุมวัน
- เขตบางรัก
- เขตบางคอแหลม
- เขตจตุจักร
- เขตบางกะปิ
- เขตธนบุรี
- เขตคลองสาน
- เขตบางเขน
- เขตบางพลัด
- เขตพระนคร
- เขตบางซื่อ
- เขตสวนหลวง
- เขตห้วยขวาง
- เขตสะพานสูง
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- เขตบางแค
- เขตดอนเมือง
- เขตดินแดง
- เขตพระโขนง
- เขตดุสิต
- เขตวัฒนา
- สวนลุมพินี เขตปทุมวัน
- สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร
- สวนจตุจักร เขตจตุจักร
- สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ
- สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง
- อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย
- สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง
- สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย
- สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย
- สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค
- สวนพระนคร เขตลาดกระบัง
- สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน
- สวนสันติภาพ เขตราชเทวี
- สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด
ข้อแนะนำสุขภาพ
สีแดง : คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกคน งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
สีส้ม : คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
อ่านข่าวอื่น :
ฝุ่นยังคลุม กทม.ฝุ่นเกินมาตรฐานทุกเขต พื้นที่สีแดง 14 เขต
ครั้งแรก! ชงใช้กม.ควบคุมโรคป้องกันฝุ่น PM2.5