ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ภาวะฝาชีครอบ” เกิดจากอุณหภูมิผกผัน ทำสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรงขึ้น


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

23 ม.ค. 68

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

“ภาวะฝาชีครอบ” เกิดจากอุณหภูมิผกผัน ทำสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรงขึ้น

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2217

“ภาวะฝาชีครอบ” เกิดจากอุณหภูมิผกผัน ทำสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรงขึ้น
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

พาไปรู้จัก “ภาวะฝาชีครอบ” ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับ “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” อย่างไร จึงนำพาให้สถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 รุนแรง - คลี่คลายได้ยากขึ้น Thai PBS Sci & Tech มีคำตอบมาอธิบายให้เห็นภาพ

ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร

รู้จัก “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” สู่การเกิด “ภาวะฝาชีครอบ”

ในสภาวะปกติแล้ว อากาศบริเวณพื้นดินจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าอากาศที่อยู่ในระดับสูงๆ นั่นเป็นเพราะว่า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้แผ่ความร้อนไปยังพื้นผิวของโลก ทำให้อากาศบริเวณพื้นดินจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่า โดยหลักการแล้วอากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นไป แล้วช่วยพาพวกฝุ่น PM 2.5 - มลพิษต่าง ๆ ลอยตัวขึ้นไปด้วย จากนั้นก็จะมีลมช่วยพัดพาฝุ่น - มลพิษต่าง ๆ ให้กระจายตัวออกไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นและมลพิษได้

“สภาวะอุณหภูมิผกผัน” “อุณหภูมิผกผัน” ทำให้เกิด “ภาวะฝาชีครอบ”กราฟิกจาก Chemistry IPST

สำหรับ “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” (Temperature Inversion) คือการผกผันของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศจากสภาวะปกติ ซึ่งอธิบายง่าย ๆ ให้เข้าใจก็คือ ปกติแล้ว “อากาศเย็น” จะอยู่ข้างบน ส่วน “อากาศอุ่น” จะอยู่ใกล้พื้นผิว จากนั้นอากาศอุ่นจะถ่ายเทไปที่อากาศเย็น โดยการเกิดกระแสลมที่จะพัดอากาศด้านล่างขึ้นไปด้านบน แต่ “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” จะตรงข้ามก็คือ “อากาศอุ่น” อยู่เหนือ “อากาศเย็น” ทำให้เกิดชั้นอากาศเหมือนกำแพงปิดครอบอยู่ พร้อมกับขวางกระแสลมซึ่งจะช่วยพัดอากาศให้ถ่ายเท ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 - มลพิษอื่น ๆ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวในกำแพงดังกล่าว ก่อนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ภาวะฝาชีครอบ” นั่นเอง

ทั้งนี้ ในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิของอากาศใกล้พื้นดินจะเย็นกว่าชั้นอากาศที่อยู่ด้านบน จึงทำให้อากาศไม่สามารถลอยขึ้นได้ ส่งผลให้มลพิษและฝุ่น PM 2.5 สะสมอยู่ใกล้พื้นดิน ไม่ลอยตัวสูงขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ฝุ่นจึงถูกกักอยู่ในพื้นที่ แล้วยิ่งพื้นที่ในกรุงเทพมหานครซึ่งมีตึกล้อมรอบบังทางลม ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท จึงยิ่งมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สะสมจำนวนมาก จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น

สำหรับวิธีแก้ไขปัญหา คงแก้ไขปรากฏการณ์ “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” ได้ยาก ดังนั้นเราจึงควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของการเกิดฝุ่นควัน - มลพิษทางอากาศ นั่นก็คือ ต้องมีการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ควันไฟจากไฟ้ไหม้ป่า รวมถึงการเผาจากมนุษย์อย่างจริงจัง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้เกิด “สภาวะอุณหภูมิผกผัน” ขึ้น ก็จะไม่เกิดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 มลพิษต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงเช่นปัจจุบัน


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : weather, Chemistry IPST, คณะกรรมการพลังงานหอการค้าไทย

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สภาวะอุณหภูมิผกผันอุณหภูมิผกผันภาวะฝาชีครอบPM 2.5ฝุ่น PM 2.5ต้นตอ PM 2.5ค่าฝุ่นสิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด