ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ค้นพบทางพันธุกรรม ! ทำให้แมวไม่ก่อ “ภูมิแพ้” แก้ปัญหาคนแพ้แมว


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

17 ธ.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ค้นพบทางพันธุกรรม ! ทำให้แมวไม่ก่อ “ภูมิแพ้” แก้ปัญหาคนแพ้แมว

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2036

ค้นพบทางพันธุกรรม ! ทำให้แมวไม่ก่อ “ภูมิแพ้” แก้ปัญหาคนแพ้แมว
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เรื่องนี้น่าจะถูกใจคนแพ้ขนแมว เมื่องานวิจัยใหม่ซึ่งเผยแพร่ใน PNAS Nexus โดยได้วิจัยเกี่ยวกับโปรตีนที่กระตุ้น “แมว” (Cat) ทำให้มนุษย์เกิดภูมิแพ้ ก่อนค้นพบว่าการตัดแต่งยีน อาจทำให้ “แมว” ไม่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ในที่สุด

ในสหรัฐอเมริกา ประชากรประมาณร้อยละ 15 เป็น “โรคภูมิแพ้แมว” โดยมีอาการต่าง ๆ เช่น ไอ จาม ระคายเคืองตา หรือหอบหืด ซึ่งอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง โดยมีการเกิดอาการหอบหืดประมาณ 500,000 ครั้งต่อปี และต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินประมาณ 350,000 ครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับความหลากหลายของ “สารก่อภูมิแพ้” ที่ทำให้เกิดโรคนี้หรือที่มาของการเกิดโรคนี้

แมวทำให้เกิดอาการภูมิแพ้

จากงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้าทำให้เรารู้ว่า มีโปรตีนในแมวหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยโปรตีนหลักคือ Fel d 1 ซึ่งแมวทุกตัวผลิตขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับสายพันธุ์ ความยาวของขน เพศ อายุ หรือน้ำหนักตัว โดยแมวจะผลิต Fel d 1 ในต่อมไขมัน น้ำลาย ต่อมรอบทวารหนัก และต่อมน้ำตา

ซึ่ง Fel d 1 นี่เองทำให้คนเข้าใจว่า “แพ้ขนแมว” แต่แท้จริงแล้วแพ้ Fel d 1 บนขนต่างหาก ทั้งนี้แมวแต่ละตัวจะผลิตโปรตีนในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายความว่าบางตัวอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้มากกว่าตัวอื่น ๆ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีแมวตัวไหนที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ผู้หญิงหอมแก้มแมว

โดย Fel d 1 ประกอบด้วยโซ่ 2 เส้น และมียีน 2 ตัวที่เรียกว่า CH1 และ CH2 ซึ่งเข้ารหัสโซ่แต่ละสายตามลำดับ แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบหน้าที่ทางชีววิทยาของ Fel d 1 แต่จากการวิจัยโปรตีนที่คล้ายคลึงกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น พบว่า “สารก่อภูมิแพ้” นี้อาจเกี่ยวข้องกับการควบคุมภูมิคุ้มกัน การปกป้องเยื่อบุผิว หรือการสื่อสารทางเคมีระหว่างแมว

ในการศึกษาวิจัยครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบลำดับ Fel d1 ระหว่างแมวต่างถิ่นและแมวบ้านจำนวน 276 สายพันธุ์ พบว่าลำดับดังกล่าวมีความแปรผันตลอดสายวิวัฒนาการแต่ละสาย โดยที่จริงแล้ว ทีมงานได้ระบุการกลายพันธุ์ที่ไม่ซ้ำกันมากกว่า 100 รายการในลำดับโปรตีน โดยพบว่า ยีน CH1 และ CH2 ก็มีความแปรผันสูงเช่นกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหน้าที่ของ Fel d 1 อาจแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของแมวหรือ Fel d 1 อาจไม่จำเป็นสำหรับแมว

woman-holding-her-adorable-kitty-home

การค้นพบนี้ได้รับการสนับสนุนจากแมว 2 ตัว ได้แก่ แมวพูมาและแมวดำจากแอฟริกาใต้ มีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้โปรตีน Fel d 1 เสียหายอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่าแมวที่แข็งแรงมี CH2 ที่แก้ไขด้วย CRISPR (ระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรีย)

นักวิจัยเผยว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า Fel d 1 เป็นเป้าหมายที่เหมาะสม สำหรับการลบยีนเพื่อพัฒนาแมวที่ปราศจาก Fel d 1 เพราะการลบหรือทำให้ยีน Fel d 1 ไม่ทำงาน อาจส่งผลต่อการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้แมว เนื่องจากสามารถกำจัดสารก่อภูมิแพ้ได้

woman-hugging-cat

โดยพื้นฐานแล้ว ด้วยการปรับแต่ง CRISPR เพียงเล็กน้อยเพื่อลบ CH1 และ CH2 ก็สามารถทำให้แมวไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเห็นสิ่งนี้บรรลุผลสำเร็จ โดยแนวทางการวิจัยนี้มีอนาคตที่ค่อนข้างสดใส เนื่องจากจะช่วยให้คนรักแมวผู้โชคร้ายที่ต้องเผชิญกับอาการแพ้สัตว์เลี้ยงที่พวกเขารักได้อยู่ร่วมกับแมวอย่างมีความสุข


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : academic.oup, iflscience

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ทาสแมวภูมิแพ้แมวแพ้ขนแมวแมวภูมิแพ้โรคภูมิแพ้แมวสารก่อภูมิแพ้CatFel d 1วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด