ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตรวจสอบพบ : มิจฯ ปลอมเพจรับสมัคร "เชฟ-เด็กเสิร์ฟ" เงินเดือน 180,000 บาท


Verify

26 พ.ย. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

ตรวจสอบพบ : มิจฯ ปลอมเพจรับสมัคร "เชฟ-เด็กเสิร์ฟ" เงินเดือน 180,000 บาท

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1947

ตรวจสอบพบ : มิจฯ ปลอมเพจรับสมัคร "เชฟ-เด็กเสิร์ฟ" เงินเดือน 180,000 บาท
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

Thai PBS Verify พบเพจเฟซบุ๊กชื่อ "Australia by soda" ลงโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กรับสมัคร ผู้ช่วยเชฟ-เด็กเสิร์ฟ ใช้เงินเดือน 120,000-180,000 บาท/เดือน เพื่อลวงเหยื่อ อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบการนำภาพข่าวจากเพจเฟซบุ๊กจริงอื่นมาแอบอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เบื้องต้นพบประชาชนหลงเชื่อสอบถามเข้าไปจำนวนมาก

แหล่งที่มา : Facebook

ภาพบันทึกหน้าจอเพจเฟซบุ๊กปลอม

 

กระบวนการตรวจสอบ

จากการตรวจสอบพบว่า เฟซบุ๊กชื่อ "Australia by soda" ลงโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า รับสมัคร ผู้ช่วยเชฟ-เด็กเสิร์ฟ ใช้เงินเดือน 120,000-180,000 บาท/เดือน โดยระบุคุณสมบัติได้แก่
-ไม่จำกัดวุุฒิ
-รับทุกเพศ
-มีประสบการณ์ในการทำครัวและพร้อมเรียนรู้งานอยู่เสมอ
-ละเอียดรอบคอบ
-มีทักษะภาษาอังกฤษนิดหน่อย (หากไม่มีสามารถไปเรียนเพิ่มที่ออสเตรเลียได้)

เราได้นำข้อมูลดังกล่าวไปตรวจสอบกับ กรมการจัดหางาน ซึ่งได้ระบุว่า การโฆษณาการจัดหางานต่างประเทศไม่ว่าทางสื่อใด ๆ ก็ตาม จะกระทำได้เฉพาะบริษัทจัดหางานต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานเท่านั้น โดยบริษัทนั้น ๆ จะต้องแจ้งข้อความที่จะโฆษณาให้นายทะเบียนแห่งท้องที่ ที่สำนักงานตั้งอยู่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนที่จะทำการโฆษณา และการโฆษณาให้มีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ลงโฆษณา

สมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

ส่วนข้อความการโฆษณาการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ อย่างน้อยต้องระบุตำแหน่งงาน จำนวนความต้องการจ้าง ระยะเวลาการจ้าง ชื่อนายจ้าง ประเทศ ชื่อบริษัทจัดหางาน และเลขที่ใบอนุญาตจัดหางานให้ชัดเจน ตามระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยการโฆษณาการจัดหางาน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564

อย่างไรก็ตามจากข้อกำหนดของกรมการจัดหางานทำให้พบว่า โฆษณาของเพจดังกล่าว มีการโฆษณาที่ขัดต่อระเบียบหลายข้อด้วยกัน ทั้งการไม่ระบุชื่อบริษัท  จำนวนความต้องการ ระยะเวลาจ้าง และไม่มีเลขที่ใบอนุญาตจัดหางานมาแสดงแต่อย่างใด

าพบันทึกหน้าจอแสดงภาพโฆษณาจากเพจเฟซบุ๊กปลอม

นอกจากนี้เราใช้เครื่องมือตรวจสอบภาพด้วย Google Lens พบว่า หนึ่งในภาพโฆษณาที่เพจดังกล่าวลงไว้นั้น ตรงกับภาพของเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ ที่ถูกนำมาโพสต์ในเพจปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (ลิงก์บันทึก)

ภาพบันทึกหน้าจอหน้าปกเพจเฟซบุ๊กปลอม (ซ้าย) เปรียบเทียบกับภาพข่าวที่ถูกนำมาจากเฟซบุ๊ก World Forum ข่าวสารต่างประเทศ (ขวา)

ผลกระทบของข้อมูลเท็จนี้เป็นอย่างไร ?

โฆษณาดังกล่าว ถือว่ามีผู้สนใจส่งข้อความสอบถามจำนวนมาก โดยมีผู้ส่งข้อความเข้าไปยังโฆษณาดังกล่าวกว่า 50 คน โดยผู้ที่เข้าไปสอบถามส่วนใหญ่ ล้วนแสดงความสนใจและขอรายละเอียดของการไปทำงานในต่างประเทศกับเพจดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก และเรายังคงพบว่า เพจดังกล่าวยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 16 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา

ภาพบันทึกผู้ที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นในโฆษณาดังกล่าว

ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ?

หากประชาชนสนใจไปทำงานในต่างประเทศ สามารถรับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

✅กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน www.doe.go.th 


✅โทรสายด่วนกรมการจัดหางาน : 1506 กด 2 
✅เว็บไซต์ “ไทยมีงานทำ.doe.go.th” 


✅Mobile Application “ไทยมีงานทำ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

หางานหางานต่างประเทศหางานออนไลน์ออสเตรเลียเชฟทำอาหารพนักงานเสิร์ฟข่าวปลอมเพจปลอมหลอกลวง
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

จากทหารถือปืน เปลี่ยนมาเป็นนักข่าวถือไมค์ สู่การเป็นนักเขียนถือปากกา

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด