ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

10 Passwords ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ปี 2024 ใช้เวลาแฮกไม่ถึง 1 วินาที


Logo Thai PBS
แชร์

10 Passwords ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ปี 2024 ใช้เวลาแฮกไม่ถึง 1 วินาที

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1914

10 Passwords ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ปี 2024 ใช้เวลาแฮกไม่ถึง 1 วินาที
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

การตั้ง “พาสเวิร์ด” (Password) หรือ “รหัสผ่าน” ที่มีคนใช้มากที่สุดในปี 2024 เปิดเผยออกมาแล้ว พบว่า 123456 ยังครองแชมป์พาสเวิร์ดยอดนิยม

NordPass เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการรหัสผ่าน (Password) จากทีมพัฒนา NordVPN ร่วมมือกับนักวิจัยอิสระเพื่อเผยแพร่การศึกษาเกี่ยวกับ 200 รหัสผ่านที่พบบ่อยที่สุดที่ใช้ในปี 2024

รหัสผ่านยอดนิยม ปี 2024

และนี่คือ 10 รหัสผ่านที่พบบ่อยที่สุดในโลกในปี 2024 ซึ่งทั้ง 10 รหัสผ่านนี้ แฮกเกอร์ใช้ระยะเวลาในการถอดรหัสไม่ถึง 1 วินาที

  1. 123456 จำนวนครั้งที่ใช้ 3,018,050 ครั้ง
  2. 123456789 จำนวนครั้งที่ใช้ 1,625,135 ครั้ง
  3. 12345678 จำนวนครั้งที่ใช้ 884,740 ครั้ง
  4. password จำนวนครั้งที่ใช้ 692,151 ครั้ง
  5. qwerty123 จำนวนครั้งที่ใช้ 642,638 ครั้ง
  6. qwerty1 จำนวนครั้งที่ใช้ 583,630 ครั้ง
  7. 111111 จำนวนครั้งที่ใช้ 459,730 ครั้ง
  8. 12345 จำนวนครั้งที่ใช้ 395,573 ครั้ง
  9. secret จำนวนครั้งที่ใช้  363,491 ครั้ง
  10. 123123 จำนวนครั้งที่ใช้  351,576 ครั้ง
10 Password ยอดแย่ ปี 2024.jpg

สำหรับแชมป์ของปีนี้ “123456” เคยขึ้นสู่อันดับหนึ่งของชาร์ตถึง 5 ครั้ง จากทั้งหมด 6 ครั้ง ที่ NordPass จัดทำรายชื่อขึ้น การศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่า 86% ของการโจมตีทางไซเบอร์ มักจะเลือกใช้ข้อมูลประจำตัวที่ถูกขโมยมา 18% สินค้าที่ขายทั่วไปบน Dark Web เป็นบัญชีออนไลน์ อีเมล และรหัสผ่าน

นอกจากนี้ รหัสผ่านอย่างคำว่า "iloveyou" และ "fuckyou" ก็ยังติดอันดับ 1 ใน 200 รหัสผ่านยอดนิยมเช่นกัน ขณะที่ บางรหัสผ่านเป็นความสนใจเฉพาะกลุ่ม เช่น "pokemon" "naruto" "samsung" และ "minecraft" และพบว่าบางคนที่ใช้รหัสผ่านที่ดูเหมือนปลอดภัยแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ อย่างเช่น "P@ssw0rd"

เมื่อมาดูอันดับรหัสผ่านยอดนิยมของแต่ละประเทศ ก็พบความสนใจที่อิงกับวัฒนธรรมของประเทศ ๆ นั้น อย่างเช่น สหราชอาณาจักร มีคำว่า “liverpool” อยู่อันดับหัวตาราง ขณะที่ชาวออสเตรเลีย ใช้ว่า “lizottes” ซึ่งเป็นชื่อร้านอาหารและสถานที่แสดงดนตรีสดที่ปัจจุบันเรียกว่า Flamingos Live

ส่วนรายชื่อของประเทศอื่น ๆ เช่น ฟินแลนด์และฮังการี มีคำว่า “salasana” และ “jelszo” อยู่อันดับต้น ๆ ซึ่งทั้งสองคำแปลเป็นไทยได้ว่า “รหัสผ่าน” ขณะที่ ประเทศไทย รหัสผ่านไม่ได้แตกต่างจากอันดับทั่วโลกมากนัก

NordPass เปิดเผยว่าได้ใช้ฐานข้อมูลขนาด 2.5TB ของ “แหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ” ซึ่งบางแหล่งพบในเว็บมืด รหัสผ่านเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้นที่แฮกเกอร์จะค้นหาได้ ดังนั้นเป็นอันเข้าใจตรงกันว่า หากรหัสผ่านของคุณอยู่รายการเหล่านี้ ควรรีบเปลี่ยนและใช้รหัสที่คาดเดาได้ยาก

ตั้ง Password อย่างไร ให้ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์

  • ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อน
    รหัสผ่านของคุณควรมีความยาวอย่างน้อย 20 ตัวอักษรและประกอบด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษผสมกัน หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลที่คาดเดาได้ง่าย เช่น วันเกิด ชื่อ หรือคำทั่วไป
  • ห้ามใช้รหัสผ่านซ้ำ
    อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลาย ๆ ไซต์หรือบริการ หากบัญชีหนึ่งถูกบุกรุก บัญชีทั้งหมดของคุณอาจตกอยู่ในความเสี่ยง
  • ตรวจสอบรหัสผ่านของคุณ
    ใช้เวลาในการประเมินสภาพรหัสผ่านของคุณเป็นประจำ ระบุรหัสผ่านที่ไม่รัดกุม เก่า หรือใช้ซ้ำ และปรับปรุงด้วยรหัสผ่านใหม่และซับซ้อนเพื่อประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน
    สร้างและจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละบัญชีของคุณด้วยความช่วยเหลือของ NordPass เครื่องมือเหล่านี้สามารถสร้าง ดึงข้อมูล และจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนให้คุณได้

 

ที่มาข้อมูล : Nordpass

อ่านข่าวที่น่าสนใจ :
รวมเทคนิคและเครื่องมือที่เหนือกว่า “รหัสผ่าน”
เตือนการแฮ็กแบบใหม่ด้วย AI เดารหัสผ่านได้แม่นยำมากกว่า 90%
แจ้งความออนไลน์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ที่เว็บไซต์ สตช. เท่านั้น !

อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของ Thai PBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/news/playlists/SciAndTech

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci And Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci & Tech Thai PBS Sci And Tech Cyber SecurityPasswordพาสเวิร์ด
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด