ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตรวจพบ “ดาวแคระน้ำตาล” ที่อายุน้อยและอยู่นอกทางช้างเผือกของเราเป็นครั้งแรก


Logo Thai PBS
แชร์

ตรวจพบ “ดาวแคระน้ำตาล” ที่อายุน้อยและอยู่นอกทางช้างเผือกของเราเป็นครั้งแรก

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1813

ตรวจพบ “ดาวแคระน้ำตาล” ที่อายุน้อยและอยู่นอกทางช้างเผือกของเราเป็นครั้งแรก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ตรวจพบ “ดาวแคระน้ำตาล” ที่อยู่นอกทางช้างเผือกของเราเป็นครั้งแรก

ดาวแคระน้ำตาลคือดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มขนาดที่เล็กเกินกว่าที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันไฮโดรเจนภายในใจกลางของมันได้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดอย่างดาวพฤหัสบดี ตามทฤษฎีเราควรจะพบดาวฤกษ์กลุ่มนี้ค่อนข้างมากในเอกภพเนื่องจากว่าเป็นกลุ่มที่มีมวลน้อยและเกิดขึ้นได้ค่อนข้างง่าย แต่ในความเป็นจริงมันเป็นดาวที่ตรวจจับยากที่สุดเพราะว่ามันไม่เปล่งแสงในตัวเอง มีมวลน้อย และมักพบมันลอยโดดเดี่ยวไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น

NGC_602_Comparing_Hubble_s_Webb_s_view

เมื่อเร็ว ๆ นี้นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ส่องเข้าไปในบริเวณกระจุกดาว NGC602 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอบนอกของ Small Magellanic Cloud (SMC) กาแล็กซีบริวารที่ห่างจากโลกไปประมาณ 200,000 ปีแสง นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าสภาพแวดล้อมของกาแล็กซี NGC602 มีสภาพคล้ายกับกาแล็กซีของจักรวาลในยุคแรกเริ่ม เพราะว่าดาวฤกษ์มีธาตุหนักอยู่น้อย และเต็มไปด้วยก๊าซที่กลายสภาพเป็นไอออนคล้ายกับบริเวณที่ก่อกำเนิดดาวฤกษ์

Artist’s_conception_of_a_brown_dwarf_like_2MASSJ22282889-431026

ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ได้ช่วยให้นักดาราศาสตร์พบสัญญาณของดาวแคระน้ำตาลในกาแล็กซี เมื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่ามันเป็นดาวแคระน้ำตาลที่มีมวลประมาณ 13-75 เท่าของดาวพฤหัสบดี ดาวแคระน้ำตาลดวงนี้อยู่ในสถานะ “Candidate” รอการตรวจสอบโดยทางสมาคมดาราศาสตร์สากล (International Astronautical Congress) เพื่อยืนยันการค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ต่อไป

NGC_602_NIRCam_and_MIRI_image

การค้นพบครั้งนี้แสดงถึงศักยภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ที่มีศักยภาพสูงกว่ากล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกอย่างมาก และสามารถระบุดาวแคระน้ำตาลที่ตรวจจับได้ยากและอยู่ไกลกว่า 200,000 ปีแสงได้ ทำให้นักดาราศาสตร์กลับมาสำรวจข้อมูลบนท้องฟ้าเก่า ๆ อีกครั้งหนึ่งและพบว่าครั้งหนึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็เคยตรวจจับสัญญาณของดาวฤกษ์ขนาดเล็กที่มีมวลต่ำและอายุน้อยในดาราจักรแห่งนี้ได้ ซึ่งหมายความว่าการเกิดขึ้นของดาวแคระน้ำตาลสอดคล้องกับกับทฤษฎีที่ว่า ดาวแคระน้ำตาลเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซคล้ายกับดาวฤกษ์ทั่วไปเพียงแต่ว่ามันไม่สามารถที่จะรวมมวลได้มากพอที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้เท่านั้น

การค้นพบนี้ทำให้เรารับทราบถึงศักยภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ รวมไปถึงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่สามารถระบุตำแหน่งที่ก่อเกิดดาวฤกษ์และเราอาจจะสามารถสังเกตเห็นกระบวนการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์และดาวแคระน้ำตาลในช่วงเวลาที่ก่อกำเนิดขึ้นมาก็ได้แบบภาพวิดีโอความละเอียดสูงผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศศักยภาพสูงเหล่านี้

เรียบเรียงโดย จิรสิน อัศวกุล
พิสูจน์อักษร ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : esa

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดาวแคระน้ำตาลทางช้างเผือกกาแล็กซีทางช้างเผือกเจมส์ เว็บบ์กล้องเจมส์ เว็บบ์กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ James Webb Space TelescopeJames WebbอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Space - Astronomy
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด