เหตุผลที่ “ส้ม” ถูกขายในถุงตาข่ายสีแดง


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

2 ก.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

เหตุผลที่ “ส้ม” ถูกขายในถุงตาข่ายสีแดง

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1552

เหตุผลที่ “ส้ม” ถูกขายในถุงตาข่ายสีแดง
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไม ? “ส้ม” (Orange) จึงมักขายในถุงตาข่ายสีแดง ทั้ง ๆ ที่ Packaging อื่นก็มีอีกมากมาย Thai PBS Sci & Tech พาไปหาคำตอบให้หายสงสัยจากงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร i-Perception โดยเหตุผลก็คือ เป็นกุศโลบายของผู้ผลิตส้มและซูเปอร์มาร์เก็ตใช้เพื่อหลอกประสาทสัมผัสของเราและ (หวังว่า) จะทำให้เราซื้อผลไม้มากขึ้นนั่นเอง !

ผลส้มในตาข่ายสีแดง

สำหรับการใช้ตาข่ายพลาสติกสีแดงหรือสีส้มคลุมผลส้มนั้นงานวิจัยดังกล่าวเผยว่า จะช่วยให้เปลือกส้มดูมีสีส้มเข้มขึ้น ทำให้ผลไม้ดูชุ่มฉ่ำและน่ารับประทานมากขึ้น หากผลส้มยังไม่สุก ตาข่ายสีแดงนั้นจะทำให้สีเขียวของผลส้มดูจางลงและเพิ่มความสดใสของสีส้ม ทำให้ผลดูสุกและน่ารับประทานมากขึ้น

ในทำนองเดียวกัน “มะนาว” มักถูกใส่ในถุงตาข่ายสีเหลืองเพื่อให้มีสีธรรมชาติมากขึ้น หากใส่ในถุงสีแดง “มะนาว” จะดูเป็นสีส้มและไม่สวยงาม

An image highlighting the deceptive oranges of Gegenfurtner Unripe green orange (A) within the orange net, (B) in isolated view, and (C) with a Munker-net. ภาพจาก Gegenfurtner i-Perception2024 (CC BY 4.0)

โดยหลักการนี้ใช้หลักการของภาพลวงตาคอนเฟตตี (Confetti Illusion) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสายตาที่การรับรู้สีได้รับอิทธิพลอย่างมากจากบริบทโดยรอบ ดังเช่นตัวอย่างในภาพลวงตานี้ ลูกบอลสีกลาง ๆ จะถูกวางไว้ในตารางของเส้นที่มีสีต่างกัน เมื่อเส้นสีใดสีหนึ่งอยู่ด้านหน้า สีของลูกบอลจะดูกลมกลืนไปกับสีของเส้น

ในการศึกษาวิจัยใหม่นี้ นักจิตวิทยา Karl R. Gegenfurtner จากมหาวิทยาลัย Giessen ประเทศเยอรมนี ได้อธิบายรายละเอียดว่าถุงสีส้มของซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ประโยชน์จากภาพลวงตาของคอนเฟตตีอย่างไร

ส้มแมนดาริน

“ตนเองไปตลาดเพื่อซื้อน้ำส้ม พบว่าที่ร้านขายส้มไม่มีส้มสุกสวย ๆ เลย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในช่วงฤดูร้อนของเยอรมนี แต่เมื่อแวะไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต กลับพบว่าดูเหมือนจะมีส้มสุกเหลือเฟือ ทำให้ซื้อมาหลายลูกซึ่งบรรจุในตาข่ายส้มเพื่อสะดวกในการถือ แต่เมื่อแกะส้มออกจากตาข่ายก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อพบว่าส้มแต่ละลูกซึ่งมีสีสวยงามภายในตาข่าย กลับกลายเป็นสีเขียวเข้ม”

ส้ม

นำมาสู่การวิจัยและได้ผลสรุปว่า การดูดซึมสีเพียงอย่างเดียวมีผลอย่างมากต่อลักษณะสี โดยเปลี่ยนสีส้มอมเขียวให้กลายเป็นสีส้มที่สวยงาม ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าผู้ขายผลไม้ตระหนักถึงเรื่องนี้มานานแล้ว เมื่อมองดูในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป จะเห็นได้ว่าผลไม้และผัก (เช่น มะนาว หัวหอม บวบ หรือแม้แต่มันฝรั่ง) มักถูกบรรจุในถุงตาข่ายที่มีสีเหมือนตัวอย่างซึ่งสมบูรณ์แบบและน่ารับประทาน

นอกจากนี้งานวิจัยยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ภาพลวงตาคอนเฟตตีนี้มีพื้นฐานมาจากหลักการที่ว่า สมองของเราได้รับการตั้งโปรแกรมให้ประมวลผลการมองเห็นรอบข้างและการรับรู้สี โดยพื้นฐานแล้ว สมองของเรามุ่งที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับเราซึ่งสามารถเข้าใจได้ ในทำนองเดียวกัน ระบบการมองเห็นของเราถูกเชื่อมโยงไว้เพื่อรับรู้ความสม่ำเสมอและการเปลี่ยนแปลงที่ราบรื่น ดังนั้น เมื่อวางตาข่ายสีแดงคลุมผลส้ม จึงทำให้สมองของเรารวมสีที่อยู่ติดกันเข้าด้วยกันเพื่อลดความซับซ้อนของสิ่งที่เราเห็น


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : journals.sagepub, iflscience 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ส้มOrangeถุงตาข่ายสีแดงภาพลวงตาคอนเฟตตีConfetti Illusionวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ