ไม่ซื้อเสียง พัฒนาชีวิต โจทย์ใหญ่ “เมืองกล้วยไข่”

ภูมิภาค
15 ก.ย. 67
17:00
198
Logo Thai PBS
ไม่ซื้อเสียง พัฒนาชีวิต โจทย์ใหญ่ “เมืองกล้วยไข่”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง กลุ่มคนรุ่นใหม่ คาดหวังการเมืองท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร หลังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะหมดวาระลงปลายปี 2567 และมีการเลือกตั้งใหม่ ต้นปี 2568 ว่าต้องการที่จะให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม

นายอนัน จันทราภิรมย์ หนึ่งในเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง ให้ความเห็นว่า หลังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร จะครบวาระในวันที่ 20 ธ.ค.2567 นี้ และจะมีการเลือกตั้งใหม่ว่า

อยากให้มีการแข่งขันกันอย่างโปร่งใส่ ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะมองว่าการเลือกตั้ง อบจ.จะนำไปสู่การเมืองใหญ่ระดับประเทศ คือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สส. นั่นเอง

อนัน จันทราภิรมย์ เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง

อนัน จันทราภิรมย์ เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง

อนัน จันทราภิรมย์ เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง

สมาชิกเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนคนกำแพง บอกอีกว่า คนที่จะมาดำรงตำแหน่ง นายก อบจ.ครั้งต่อไปขอให้มีการพัฒนาต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ทั้งเรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องสวัสดิการ เรื่องการท่องเที่ยว และด้านอื่นๆที่จะนำพาจังหวัดกำแพงเพชร ไปสู่การพัฒนาเศษฐกิจที่ดียิ่งขึ้น

จากการสอบถามชาวบ้าน แม้ขณะนี้ใกล้จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง นายก อบจ.กำแพงเพชรแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ที่ประสงค์ หรือแสดงตัวลงสมัครแข่งอย่างชัดเจน จึงมองว่าหากเป็นคนเดิม ก็สานต่อพัฒนาโครงการได้อย่างต่อเนื่องได้ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการเก่าหรือโครงการใหม่

ที่สำคัญ นายก อบจ.จะต้องเข้ากับคั่วการเมืองซีกรัฐบาลได้ เนื่องจากการของบประมาณแต่ระครั้งในการพัฒนาจะได้ไม่มีอุปสรรค และมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้งบจังหวัดกำแพงเพชรจะเพิ่มขึ้น แต่หากได้คนใหม่ ก็ขอให้เข้ามาพัฒนา ด้านต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งทำถนน เส้นทางสายต่างๆให้สะดวก มากกว่าเดิม

ทั้งนี้มองว่า ภาพรวมการเมืองใหญ่ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง และมีความขัดแย้ง จึงทำให้การพัฒนาขณะนี้ไปได้ช้า ก่อให้เกิดสงครามทางความคิด ระหว่างคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาอีกหลายปีลดความขัดแย้งด้านการเมืองในภาพรวม

สำหรับ อบจ.กำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2567 ได้รับการจัดสรรงบประมาณผ่านข้อบัญญัติงบประมาณฯ ทั้งหมด 864 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามากพอสมควร ในการนำมาพัฒนาดูแลประชาชนชาวจังหวัดกำแพงเพชร

ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์ไว้ทั้งหมด 7 ด้าน โดยระบุว่าตามความต้องการของชาวจังหวัดกำแพงเพชร ที่อยากให้มีการผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

1. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

-ก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีเส้นทางที่เป็นถนนลูกรัง ถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางหลวงชนบทที่ได้รับการถ่ายโอน ให้ได้มาตรฐานเพื่อให้การคมนาคมและการขนส่งสินค้ามีความสะดวกรวดเร็วและกระจายความเจริญไปทุกพื้นที่
-พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และใช้ในการเกษตรได้อย่างพอเพียงและ ทั่วถึงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมได้อย่างทันต่อสถานการณ์

-สนับสนุนงบประมาณหรือดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีส่วนร่วมและเกิดประสิทธิภาพ

-สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิชาการเครื่องมือ เครื่องจักร บุคลากรในการพัฒนาหรือดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นในการปรับปรุง-ซ่อมแซมถนนและไหล่ทางที่ชำรุดเสียหาย

-สนับสนุนหน่วยงานราชการระดับภูมิภาคและท้องถิ่นในการดำเนินภารกิจถ่ายโอนด้านผังเมืองรวมเพื่อวางแนวทางพัฒนาเมืองและชุมชนให้มีระเบียบเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต

-สนับสุนนระบบขนส่งมวลชนให้ได้มาตรฐานสามารถรองรับประชาชนผู้มาใช้บริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึงและสะดวกสบาย
-ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษา สิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภารกิจถ่ายโอนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2. ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

-พัฒนาจังหวัดกำแพงเพชรเมืองมรดกโลกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชน โดยการส่งเสริมอาชีพ เสริม

-สร้างประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะดำเนินการดังนี้

-ส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการ ดำเนินชีวิต

-พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ เยาวชน ประชาชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ คนพิการ เพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมและอาชีพหลักเพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนลดปัญหาความยากจน

-สนับสนุนและดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพ แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งการประชาสัมพันธ์และการตลาด

-ส่งเสริมกิจกรรมที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและภาคการเกษตร โดยเน้นเรื่องการมีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาการบริหารจัดการร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

-ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชิงเกษตรผสมผสานให้แพร่หลาย

-ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม อาทิ น้ำพุร้อนพระร่วง เกาะเสือ ให้มีความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับด้านการบริการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและ ใช้เป็นสถานที่ศึกษาของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ได้เพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว

3. ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

-สนับสนุนการจัดการศึกษาของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา โดยดำเนินการประชุมประชาคมในภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มสถานศึกษาทุกอำเภอและประสานงานกับสำนักงานเขตพื้นที่ฯ โรงเรียนทุกแห่ง เพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชรตามความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ให้เด็กนักเรียนได้เรียนอย่างมีคุณภาพที่ดีและเท่าเทียมกัน

-สนับสนุนและช่วยเหลือด้านอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นสื่อทางเทคโนโลยี ด้านการศึกษาให้ทันสมัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทปรับปรุงซ่อมแซมหรือก่อสร้างอาคารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งส่ง-เสริมให้มีครูสอนภาษาเพื่อเตรียมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

-ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้เกิดความเท่าเทียมกัน ทั่วทั้งจังหวัด

-ส่งเสริมการเรียนรู้คู่คุณธรรมโดยความร่วมมือกับสถาบันทางศาสนาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียน เยาวชน เพื่อนำไปปรับใช้กับสังคมครอบครัวได้อย่างมีความสุขลดปัญหาสังคม

-ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายโอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชน ประชาชน ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ได้เข้าถึงและเรียนรู้พัฒนาความคิดเพื่อมิให้เป็นภาระต่อสังคม

-จัดการศึกษาโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรโดยมุ่งให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพโดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เรียนฟรีตลอดหลักสูตรเน้นคุณธรรม วิชาการ ควบคู่การกีฬา ส่งเสริมสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของนักเรียน และส่งเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในด้านกีฬา ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ จากทุกตำบล สนับสนุนให้ชุมชน องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

-ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

-สนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่ เด็กนักเรียน นักศึกษา และผู้ด้อยโอกาส ได้มีโอกาส ทางการศึกษา

-ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กรต่างๆ อย่างบูรณาการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดรวมถึงวัฒนธรรมในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มไทยพื้นเมือง และชนเผ่าที่ราบสูงได้ดำรงไว้สืบทอดสู่ลูกหลานอย่างมีคุณค่าและภาคภูมิใจ

4. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

-สนับสนุนการบริการสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยดำเนินการบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึง ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในภาพรวมของจังหวัด

-ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขการทำงานของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสร้างเครือข่ายอนามัยในท้องถิ่นเพื่อให้ความรู้ในการ ป้องกันโรคการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นฐานรวมถึงการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดต่อ

-สนับสนุนวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ที่จำเป็นด้านการสาธารณสุขเพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันโรค ตลอดจนการปรับปรุงซ่อมแซมหรือก่อสร้างอาคารที่เกี่ยวกับด้านการสาธารณสุข เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในด้านการดูแลประชาชนซึ่งจะเข้าถึงการบริการของภาครัฐได้อย่างทั่วถึงและสะดวกสบาย

-เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนโดยสนับสนุนให้มีอุปกรณ์ในการออกกำลังกายพัฒนาสถานที่ออกกำลังกายกับสถานที่แข่งขันกีฬาและพักผ่อนหย่อนใจเพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพใจที่เข้มแข็ง
อุดหนุนสมาคมกีฬา องค์กรภาครัฐต่างๆ ในการจัดการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นภาพรวมของจังหวัด

-ส่งเสริมให้มีกิจกรรม / โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสังคมสงเคราะห์ให้แก่เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อมีโอกาสพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและครอบครัวมีความอบอุ่นเสริมสร้างครอบครัวที่ดีในสังคม

-ให้ความร่วมมือในการรณรงค์จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเพื่อให้เข้าถึงบริการของรัฐ
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาปัญหาร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

5. ด้านจัดระเบียบชุมชน สังคม และเสริมสร้างความปลอดภัย

-ส่งเสริมและสนับสนุนหรือดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / หน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งและสาธารณภัยต่างๆ

-จัดหา / สนับสนุน เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในท้องถิ่น

-พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-ส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ประชาชน ในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและรักษาแหล่งต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ โดยความร่วมมือของเยาวชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงและมีประสิทธิภาพ

-จัดให้มีกิจกรรมฝึกอบรมในการป้องกันไฟป่าให้แก่ผู้นำชุมชนและสร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาป่า ป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

-ส่งเสริมให้มีการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ จะรักษาให้ป่ามีสภาพอุดมสมบูรณ์อีกทั้งสิ่งมีชีวิตในป่าได้ใช้ประโยชน์อย่างสมดุลทางธรรมชาติ

-ส่งเสริมในเรื่องการบำรุงดินและลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร โดยจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาให้ความสนใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นผลผลิตมีคุณภาพและลดต้นทุนในการผลิตอีกทั้งจะเกิดผลที่ดีต่อการบำรุงดินในระยะยาว

-ส่งเสริมการประหยัดพลังงานและจัดให้มีกิจกรรมเพื่อรณรงค์การแก้ไขภาวะโลกร้อน

7. ด้านการเมืองและการบริหาร

-ดำเนินงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานที่เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจในการตัดสินใจและทำงานเป็นทีมเพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร
-ส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมตัดสินใจในการบริหารงบประมาณและบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

-ประสานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาคมและหน่วยงานราชการ ขยายฐานของการมีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

-พัฒนาการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาและการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาท้องถิ่น เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันลดความซ้ำซ้อนของงานเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรอย่างทั่วถึง

-เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับข้าราชการเพื่อให้มีความตระหนักในการเป็นข้าราชการที่ดี

-เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

-ปรับปรุงและพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง