รู้ไหม ? ทราบอุณหภูมิร่างกายของ “ไดโนเสาร์” ได้อย่างไร


Logo Thai PBS
แชร์

รู้ไหม ? ทราบอุณหภูมิร่างกายของ “ไดโนเสาร์” ได้อย่างไร

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1598

รู้ไหม ? ทราบอุณหภูมิร่างกายของ “ไดโนเสาร์” ได้อย่างไร
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

น่าประหลาดที่ “ไดโนเสาร์” สูญพันธุ์จากโลกใบนี้ไปถึง 66 ล้านปีมาแล้ว แต่มนุษย์ของเรากลับทราบข้อมูลอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ที่ตายไปจนหมดสิ้นหลายสิบล้านปีได้อย่างไร

การจะทราบอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ได้นั้น ปกติเราใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ แต่สำหรับสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 66 ล้านปีอย่างไดโนเสาร์ ไม่มีทางเลยที่เราจะย้อนเวลาไปใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของไดโนเสาร์ได้

ภาพวาดของ Maiasaura peeblesorum ไดโนเสาร์ปากนกที่มีอุณหภูมิภายในร่างกายของมันสูงถึง 42ºC ภาพวาดโดย Nobu Tamura

แต่มนุษย์กลับทราบถึงอุณหภูมิร่างกายของไดโนเสาร์หลายชนิด เช่น Tyrannosaurus rex มีอุณหภูมิร่างกายที่ 38°C หรือ Maiasaura ที่มีอุณหภูมิร่างกายที่ 42°C จึงนับว่าเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์ที่มนุษย์กลับทราบอุณหภูมิร่างกายของสัตว์เหล่านี้ ทั้งที่พวกมันกลายสภาพเป็นฟอสซิลร่วมหลายสิบล้านปีมาแล้ว

กระดูกของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มีส่วนประกอบของทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ผสมเข้าด้วยกัน ซึ่งย่อมมีธาตุของคาร์บอนและออกซิเจนเป็นส่วนประกอบของกระดูกอยู่แล้ว และอะตอมของคาร์บอนและออกซิเจนเองก็มีหลายไอโซโทป (Isotope) โดยที่อุณหภูมิภายในตัวของสัตว์นั้นสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างพันธะของออกซิเจนและคาร์บอนที่ต่างไอโซโทปกัน เราทราบว่าสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงอัตราส่วนของโมเลกุลออกซิเจน-18 กับคาร์บอน-13 ที่จับตัวกันน้อยกว่าสัตว์ที่มีอุณหภูมิต่ำ และเราพบความสัมพันธ์นี้ในกระดูกของสัตว์ทุกชนิด

นักบรรพชีวินจึงใช้องค์ความรู้นี้ในการหาค่าอุณหภูมิร่างกายของไดโนเสาร์ได้ เนื่องจากโมเลกุลของคาร์บอนและออกซิเจนในซากฟอสซิลนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากที่ไดโนเสาร์ตายลง ดังนั้นอัตราส่วนของอะตอมสองตัวนี้ที่จับพันธะกันก็ย่อมสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวัดอุณหภูมิของไดโนเสาร์ที่ตายไปแล้วได้

ภาพถ่ายของโครงไดโนเสาร์ T Rex ที่มีชื่อว่า Sue ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงไดโนเสาร์ที่่สมบูรณ์ที่สุดในโลก ซึ่งพบว่าภายในร่างกายของ T Rex อยู่ที่ 38ºC ภาพถ่ายโดย Jorge Jaramillo

ถึงแม้ว่าในตอนนี้เราจะทราบว่าไดโนเสาร์มีอุณหภูมิเท่าไหร่บ้าง แต่นั่นยังไม่สามารถที่จะกำจัดข้อถกเถียงว่าไดโนเสาร์แต่ละสายพันธุ์นั้นเป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือว่าสัตว์เลือดเย็นกันแน่ เพราะอุณหภูมิของไดโนเสาร์บางตัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก เช่น Troodon ที่พบว่าบางตัวมีอุณหภูมิตั้งแต่ 29-42°C ซึ่งนับว่าเป็นช่วงอุณหภูมิที่กว้างมาก ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าอุณหภูมิของมันอาจจะลดลงได้มากถึง 13°C หากตัวของมันประสบภาวะขาดแคลนอาหาร

สำหรับการทราบถึงลักษณะทางชีวภาพว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์เหล่านี้เป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือสัตว์เลือดเย็นเราต้องย้อนกลับไปดูที่สายวิวัฒนาการของไดโนเสาร์เหล่านั้น เช่น T. rex เป็นไดโนเสาร์เลือดอุ่นเพราะอยู่สายวิวัฒนาการเดียวกับไดโนเสาร์ที่วิวัฒนาการเป็นนกในปัจจุบัน ซึ่งนกเป็นสัตว์เลือดอุ่น

เราจะเห็นได้ว่าศาสตร์ด้านเคมีสามารถนำมาประยุกต์กับงานด้านบรรพชีวินและชีววิทยาได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการศึกษาและเพิ่มองค์ความรู้ให้กับมนุษยชาติโลก

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : journals, YouTube, science, en.wikipedia

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ไดโนเสาร์อุณหภูมิร่างกายอุณหภูมิวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด