ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สวยสะกดใจ ! “รองเท้านารีคางกบ” กล้วยไม้งามป่าดิบชื้นเมืองไทย


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

17 ก.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

สวยสะกดใจ ! “รองเท้านารีคางกบ” กล้วยไม้งามป่าดิบชื้นเมืองไทย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1610

สวยสะกดใจ ! “รองเท้านารีคางกบ” กล้วยไม้งามป่าดิบชื้นเมืองไทย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

พรรณไม้น่ารู้ ! ชวนยลความงาม “รองเท้านารีคางกบ” ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paphiopedilum callosum (Rchb.f.) Stein กล้วยไม้ป่าพันธุ์งามที่พบได้ในป่าดิบชื้นทั่วประเทศ

ชื่ออื่น : แมงภู่ (ลำปาง), รองเท้านาง, รองเท้านารีคางกบ (ทั่วไป), เอื้องคางกบ, เอื้องคางคก (เชียงใหม่)

รองเท้านารีคางกบ ภาพจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

“รองเท้านารีคางกบ” กล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จ.ระนอง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 500 - 1,300 เมตร  เป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนลาย หลังใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเดี่ยวที่ปลายยอด ก้านดอกตั้งตรง สีม่วงเข้ม ยาว 25-30 เซนติเมตร มีขน กลีบเลี้ยง กลีบบนแผ่กว้าง สีขาว และมีขีดสีเขียวแกมม่วงแดงตามยาว กลีบดอกรูปขอบขนานโค้ง ขอบกลีบมีตุ่มสีน้ำตาลเข้มเป็นมันและมีขน กลีบกระเป๋า สีม่วงแดงแกมน้ำตาล ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร พบทั่วประเทศ ตามป่าดิบชื้น

รองเท้านารีคางกบ ภาพจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ช่วงเวลาในการออกดอก กรกฎาคม – สิงหาคม

การปลูกและการขยายพันธุ์ “รองเท้านารีคางกบ”

ควรปลูกในโรงเรือนที่มีการพรางแสง ถ้าจะให้ดีควรมีหลังคากันฝน อากาศถ่ายเทได้สะดวก รดน้ำสม่ำเสมอ ปลูกในกระถางพลาสติก หรือกระถางดินเผา วัสดุปลูกที่ควรระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้ดี ทนทาน ที่นิยมใช้ได้แก่ โฟม ถ่านกาบมะพร้าวสับ ออสมันดา ใบทองหลาง ใบก้ามปูผุ รดน้ำวันละครั้งในตอนเช้า ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

รองเท้านารีคางกบ ภาพจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อนึ่ง ทั่วโลกพบกล้วยไม้รองเท้านารีแล้ว 5 สกุล (genus) รวม 137 ชนิด (species) ในประเทศไทย พบเพียงสกุลเดียวคือสกุล Paphiopedilum รวม 17ชนิด (จากทั้งหมด 66 ชนิดทั่วโลก)

📌อ่าน : พบ "กบใบไม้-รองเท้านารีคางกบ" บ่งชี้ป่าฮาลา-บาลายังสมบูรณ์


Thai PBS Sci & Tech พรรณไม้น่ารู้

📌อ่าน : สวยสะพรั่ง ! รู้จัก “บัวสุทธาสิโนบล” (ม่วงกษัตริย์)

📌อ่าน : งามสะกดใจ ! “เทพมาศ” พืชหายากถิ่นเดียวของไทย

📌อ่าน : ชมความงาม “เอื้องคำฝอย” กล้วยไม้อิงอาศัยหายากของไทย

📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “ก้านเกาสตุภะ” ชูช่ออวดโฉมความงดงามทั่วผืนป่าดอยหัวหมด

📌อ่าน : พืชชนิดใหม่ของโลก ! “เปราะอาจารย์สุมนต์” พืชถิ่นเดียวในไทย จาก จ.สกลนคร

📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “สิงโตกำมะหยี่” กล้วยไม้ถิ่นเดียวของไทย


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, อุทยานหลวงราชพฤกษ์

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รองเท้านารีคางกบกล้วยไม้ป่ากล้วยไม้พรรณไม้น่ารู้พรรณไม้พฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด