เซนเซอร์เส้นใยแมงมุม บางกว่าผมมนุษย์ 50 เท่า พิมพ์ลงบนผิวหนังได้โดยตรง


Logo Thai PBS
แชร์

เซนเซอร์เส้นใยแมงมุม บางกว่าผมมนุษย์ 50 เท่า พิมพ์ลงบนผิวหนังได้โดยตรง

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1351

เซนเซอร์เส้นใยแมงมุม บางกว่าผมมนุษย์ 50 เท่า พิมพ์ลงบนผิวหนังได้โดยตรง
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พัฒนาเซนเซอร์น้ำหนักเบาและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้รับแรงบันดาลใจจากใยแมงมุม ผสานเข้ากับพื้นผิวชีวภาพได้ดี และใช้เพื่อติดตามผลสุขภาพ

เซนเซอร์เส้นใยแมงมุมสามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวชีวภาพได้หลายประเภท เช่น นิ้วหรือกลีบดอกไม้ เซนเซอร์ได้รับแรงบันดาลใจจากใยแมงมุมที่สามารถปรับตัวและยึดติดกับพื้นผิวได้หลายประเภท ใยแมงมุมเหล่านี้ยังรวมเอาไบโออิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับที่แตกต่างกันด้วย

เส้นใยที่พัฒนาขึ้นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์อย่างน้อย 50 เท่า มีน้ำหนักเบามากจนนักวิจัยสามารถพิมพ์ลงบนเมล็ดที่นุ่มฟูของดอกแดนดิไลออนโดยตรง โดยไม่ทำให้โครงสร้างของดอกไม้พังทลาย และเมื่อพิมพ์บนผิวหนังมนุษย์ ไฟเบอร์เซนเซอร์จะปรับตามผิวหนัง ทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยของเซนเซอร์ที่ถูกพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์เส้นใยลงบนนิ้วของมนุษย์สามารถใช้เป็นเครื่องตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องได้

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีสวมใส่มากมายที่มีเซนเซอร์แบบฝังสำหรับตรวจสุขภาพ แต่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจทำให้ไม่สบายตัว และทำให้รู้สึกถึงการมีอยู่ของอุปกรณ์ได้ เส้นใยแมงมุมเซนเซอร์จึงตอบโจทย์ผู้ใช้ที่ไม่ต้องการให้มีอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ นักวิจัยทำการพัฒนาเซนเซอร์ด้วยการใช้ไบโออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้มองไม่เห็น จึงไม่ก่อให้เกิดการรบกวน อีกทั้งยังมีความยั่งยืนและไม่สิ้นเปลือง

เส้นใยอิเล็กทรอนิกส์ชีวภาพที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์สามารถชะล้างออกได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน และสร้างขยะน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการซักผ้า 1 ครั้งที่สร้างของเสียจากเส้นใยระหว่าง 600 ถึง 1,500 มิลลิกรัม นั้น เซนเซอร์เส้นใยแมงมุมผลิตขยะได้น้อยกว่ามาก

การใช้เทคนิคการผลิตที่เรียบง่ายของนักวิจัย ทำให้สามารถวางเซนเซอร์ได้เกือบทุกที่และซ่อมแซมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่หรือโรงงานผลิตแบบรวมศูนย์ เซนเซอร์สามารถผลิตได้ตลอดเวลาตามความต้องการ อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลเสียและการปล่อยมลพิษน้อยที่สุด

ที่มาข้อมูล: scitechdaily, cam, techexplorist
ที่มาภาพ: cam
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด