AI กำลังเปลี่ยนโลก ! ประเทศไทยจึงต้องปรับตัว Thai PBS และ Thai PBS Sci & Tech จึงขอนำผลการศึกษาเชิงลึกสำหรับบริการดิจิทัล ปี 2567 ซึ่งจัดทำโดย ETDA, ศูนย์ AIGC และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในทุกภาคส่วนของไทย ซึ่งเผยให้เห็นถึงทิศทาง - แนวโน้ม การปรับตัวใช้ AI ของหน่วยงานในบ้านเรา ควรดำเนินไปแนวทางใดตามมาอ่านกันได้เลย

ai-technology-microchip
โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาและสำรวจทั้งหมด 3,758 หน่วยงาน ซึ่งแยกเป็น Survey Response 580 หน่วยงาน และ Focus Group 31 หน่วยงาน สำรวจช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2567 เกี่ยวกับความพร้อมขององค์กรใน 5 ด้าน ได้แก่
- ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถองค์กร
- ด้านโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูล
- ด้านบุคลากร
- ด้านเทคโนโลยี
- ด้านธรรมาภิบาล
เพื่อรองรับการนำเข้าและใช้งานองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมี 10 กลุ่มเป้าหมายการสำรวจ ได้แก่
- เกษตรและอาหาร
- การแพทย์และสุขภาวะ
- การศึกษา
- ความมั่นคงและปลอดภัย
- พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- การใช้งานและบริการภาครัฐ
- โลจิสติกส์และการขนส่ง
- ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- อุตสาหกรรมการผลิต
- การเงินและการค้า

qualified-technicians-brainstorm-ways-use-ai-cognitive-computing-extract-usable-information-from-complex-data-team-specialists-implement-artificial-intelligence-process-massive-datasets
ผลการศึกษาการประยุกต์ใช้ AI (AI ADOPTION) ปี 66 - 67
ปี 2566
- 15.2% (86 หน่วยงาน) : Already Adoption ใช้ AI แล้ว
- 56.6% (320 หน่วยงาน) : Under Consideration มีแผนที่จะใช้ AI
- 28.2% (159 หน่วยงาน) : No Need Now ยังไม่มีความต้องการใช้ AI และต้องการการสนับสนุน
ผู้ตอบ 565 หน่วยงาน
ปี 2567
- 17.8% (103 หน่วยงาน) : Already Adoption ใช้ AI แล้ว
- 73.3% (425 หน่วยงาน) : Under Consideration มีแผนที่จะใช้ AI
- 8.9% (52 หน่วยงาน) : No Need Now ยังไม่มีความต้องการใช้ AI และต้องการการสนับสนุน
ผู้ตอบ 580 หน่วยงาน
โดย TOP 3 เป้าหมายองค์กรที่มีการประยุกต์ใช้ AI แล้ว มีดังนี้
- 69.6% เพื่อบริหารจัดการภายในองค์กร
- 59.8% เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือบริการขององค์กร
- 56.8% เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการขององค์กร
ขณะที่ TOP 3 ประเด็นที่องค์กรกำลังพิจารณาจะใช้ AI ได้แก่
- 69.6% กำลังศึกษาข้อมูล AI
- 59.8% รอนโยบายผู้บริหาร
- 56.8% ความคุ้มค่า / งบประมาณ

Technology
สำรวจ 5 ความพร้อมในการประยุกต์ใช้ AI (AI READINESS)
1. ด้านยุทธศาสตร์ & ความสามารถองค์กร
1.1 การวางกลยุทธ์
1.2 กระบวนการ & วัฒนธรรมองค์กร
1.3 สร้างคุณค่าทางธุรกิจ
2. ด้านข้อมูล & โครงสร้างพื้นฐาน
2.1 โครงสร้างพื้นฐาน
2.2 ข้อมูล
3. ด้านบุคลากร
3.1 บุคลากร
3.2 ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีทักษะด้าน AI
4. ด้านเทคโนโลยี
4.1 เทคโนโลยี & แพลตฟอร์ม
4.2 วิจัย & พัฒนา
5. ด้านธรรมาภิบาล
5.1 โครงสร้างธรรมาภิบาล & การกำกับดูแล
5.2 การมีส่วนร่วมของคนใน กระบวนการตัดสินใจ
5.3 การจัดการการดำเนินการ
5.4 การสร้างความเชื่อมั่น
หมายเหตุ : AI Readiness หมายถึง ความพร้อมขององค์กรใน 5 ด้าน เพื่อรองรับการนำเข้าและใช้งานองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญญาประดิษฐ์ (AI)

AI
ความหมายของแต่ละด้าน
1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร (Organization Strategy and Capability)
- ความพร้อมเชิงนโยบายจากผู้บริหาร
- ความชัดเจนของกลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ทำงานในองค์กรและต่อยอดสู่การใช้งานเชิงธุรกิจ
- ความคล่องตัวและความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงนโยบายที่จะส่งผลต่อการยอมรับและนำ AI ไปใช้งาน
2. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูล (Infrastructure and Data)
- โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ที่จำเป็น
- ระบบนิเวศข้อมูล พัฒนาการจัดเก็บ เชื่อมโยง ใช้ประโยชน์ข้อมูล
- ความพร้อมด้านข้อมูล เช่น กระบวนการรับรองคุณภาพของข้อมูล (ทั้งความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูล และความเชื่อถือได้ของข้อมูล เป็นต้น)
3. ด้านบุคลากร (People)
- ศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรในองค์กร ทั้งด้านความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้ประโยชน์จาก AI ในการดำเนินงาน
- ความพร้อมของทีมงานด้านเทคนิค ทักษะจำเป็น
- การเตรียมการเพื่อพัฒนาทักษะของคนในองค์กร
4. ด้านเทคโนโลยี (Technology)
- ความพร้อมของเทคโนโลยีและเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง (ที่มีและใช้งานอยู่ในปัจจุบันขององค์กร)
- ศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาระบบ AI หากมีการพัฒนาเองภายในองค์กร
5. ด้านธรรมาภิบาล (Governance)
- แนวทางปฏิบัติและมาตรการต่าง ๆ ที่องค์กรมีหรือดำเนินการอยู่ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล บริหารความเสี่ยง สร้างการรับรู้ และมาตรฐานจริยธรรมในการให้บริการดิจิทัล
พบว่า TOP 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีความพร้อมเฉลี่ยสูงสุด ปี 2567 ได้แก่
1. กลุ่มการศึกษา 71.2.%
2. กลุ่มการเงินและการค้า 65.5%
3. กลุ่มโลจิสติกส์และการขนส่ง 63.5%
AI READINESS : ปี 2567 องค์กรมีความตระหนักถึงการนำ AI มาใช้งาน และสามารถระบุถึงการ นำมาใช้งานที่เป็นไปได้ในองค์กร อยู่ที่ 55.1% ขณะที่ปี 2566 อยู่ที่ 45.3%
*หมายเหตุ: ประเมินจากองค์กรที่ใช้งาน AI แล้ว (ปี 66 = 86 หน่วยงาน และปี 67 = 103 หน่วยงาน)

it-professionals-using-artificial-intelligence-augmented-reality-hologram
ส่วนแนวโน้มและประเด็นน่าสนใจ (TREND & HIGHLIGHT) กับการประยุกต์ใช้ GEN AI ในอนาคต
พบว่า TOP 3 การประยุกต์ใช้ GEN AI ที่ถูกนำไปใช้ได้แก่
1. ด้านการพัฒนาสินค้าหรือบริการ/ การวิจัยและพัฒนา (18.4%)
2. ด้านการตลาด การขาย และบริการ ลูกค้า (16.7%)
3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความ ปลอดภัยทางไซเบอร์ 13.2% และด้าน กระบวนการผลิต (13.2%)
ขณะที่ TOP 3 อุปสรรคสำคัญก็คือ
1. ขาดบุคลากรที่มีทักษะ (18.3%)
2. กังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของ ข้อมูลและอัลกอริทึมของ AI (14.4%)
3. กังวลเกี่ยวกับคุณภาพของข้อมูล (13.5%)
ขณะที่ GENERATIVE AI กับนโยบายการจ้างงาน ไม่พบหน่วยงานที่มีแผนลดคนทั้งหมดเพราะใช้ GEN AI แทนได้ แต่มีนโยบายลดคนบางส่วน (26%), นโยบายไม่ลดคนและฝึกทักษะ GEN AI เพิ่ม (40%) และยังไม่มีนโยบายใด ( 34%)

business-hand-robot-handshake-artificial-intelligence-digital-transformation
ขณะที่การปรับใช้ AI ETHICS ในองค์กร
TOP 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีความตระหนักรู้และได้นำหลักการ AI Ethics มาปรับใช้ในองค์กรได้แก่
1. กลุ่มการศึกษา
2. กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต
3. กลุ่มการเงินและการค้า
โดยในรายละเอียดพบว่า
16.5%
มีความตระหนักรู้ และได้นำหลักการ AI Ethics มาปรับใช้ในองค์กรแล้ว
19.4%
ยังไม่ทราบว่ามี AI Ethics ของประเทศ
20.4%
มีความตระหนักรู้ แต่ยังไม่ได้นำหลักการ AI Ethics มาปรับใช้
43.7%
มีความตระหนักรู้ และเริ่มวางแนวคิดในการนำ AI Ethics มาปรับใช้ในองค์กร

AI
ด้านการสื่อสารผลของ AI เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการสื่อสาร และรับฟังผลกระทบของการใช้ AI ในกระบวนการทำงานจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- กลุ่มโลจิสติกส์และการขนส่ง
- กลุ่มการแพทย์และสุขภาวะ
- กลุ่มการเงินและการค้า
- กลุ่มความมั่นคงและปลอดภัย
โดยในรายละเอียดพบว่า
14%
มีระบบรองรับการมีส่วนร่วม ในการรับฟังความคิดเห็นของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในและภายนอกองค์กร (Feedback) ต่อกระบวนการ ต่าง ๆ จากการนำ AI ไปใช้งาน (เช่น ระบบการบริหาร การส่งมอบบริการ การจัดทำนโยบาย และการตัดสินใจ)
41%
ยังไม่ได้ดำเนินการด้านการสื่อสารใด ๆ
45%
มีการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสาร

man-shaking-hand-with-robotic-arm
จากผลการศึกษาสู่ 4 ข้อเสนอแนะภาพรวมต่อการส่งเสริม AI
- HUMAN DEVELOPMENT การพัฒนาทักษะ AI ในทุกระดับ
- CONSULTANCY SERVICES หน่วยให้คำปรึกษา และสนับสนุน ให้เกิดสภาพแวดล้อมรองรับการขยายตัวของ AI
- ETHICS & GOVERNANCE จริยธรรมและธรรมาภิบาล AI แนวปฏิบัติ AI Governance
- COST & PRODUCTIVITY ลดต้นทุนของการใช้ AI และการส่งเสริมการใช้ AI ให้เกิดความคุ้มค่า โดยเฉพาะ SMEs
ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริม AI รายสาขา
การเงิน
- กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ ชัดเจนในการใช้ AI
- มีองค์กรเพื่อสนับสนุน AI
- Open Data and Data Sharing
- Sandbox ในวงกว้างมากกว่า กลุ่ม Data Scientist
- นโยบายสนับสนุน SMEs ให้ เข้าถึงเทคโนโลยี AI
- มีมาตรฐานและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริม AI สาขาการเงิน
การแพทย์และสุขภาพ
- มีกลยุทธ์การพัฒนา AI Health Innovation แบบมุ่งเป้า
- Open data และ Data sharing
- พัฒนา AI University
- AI Literacy ของทั้งคนทำงาน ผู้บริหาร และประชาชน
- Build & Buy เพื่อลดเวลาการพัฒนา
- การตรวจสอบการนำ AI ไปใช้ด้านการแพทย์

ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริม AI สาขาการแพทย์และสุขภาพ
ดิจิทัลมีเดีย
- มีโครงการฝึกอบรม หรือการให้ความรู้
- มีหน่วยงานกลางเฝ้าติดตามข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อลดความผิดพลาดของ AI ในการวิเคราะห์
- เสริมภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ออกคำสั่งในการใช้ AI
- พัฒนาโมเดลภาษาไทยที่รองรับการใช้งานจริง
- ส่งเสริมเทคนิคการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความคิดสร้างสรรค์
- มี Ethics Guideline โดยเฉพาะด้าน Digital media

ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริม AI สาขาดิจิทัลมีเดีย
นอกจากแนว - ทิศทาง ยังมีข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริม AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้าน AI ของประเทศแล้ว ไทยยังมี AI Thailand ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 - 2570) อันจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ พัฒนาทักษะบุคลากร นำไปสู่การสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เชื่อมโยงแบบบูรณาการ ส่งผลให้คนไทยพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech