ปี 68 สิงคโปร์เตรียมส่ง “ดาวเทียม” วงโคจรใกล้โลกเพียง 250 กม. เท่านั้น


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

12 มิ.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ปี 68 สิงคโปร์เตรียมส่ง “ดาวเทียม” วงโคจรใกล้โลกเพียง 250 กม. เท่านั้น

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1277

ปี 68 สิงคโปร์เตรียมส่ง “ดาวเทียม” วงโคจรใกล้โลกเพียง 250 กม. เท่านั้น
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University : NTU) ประเทศสิงคโปร์ ได้ประกาศไทม์ไลน์ว่า เตรียมส่งดาวเทียมดวงแรกของประเทศที่โคจรใกล้โลกมากที่สุด (ประมาณ 250 กิโลเมตร) ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่และการถ่ายภาพคุณภาพสูง โดยวางเป้าขึ้นสู่วงโคจรในเดือน มิ.ย. 68

ดาวเทียมนี้มีชื่อว่า “Elite” (Extremely Low Earth Imaging Technology Explorer) มีขนาดเท่ากับตู้เย็นขนาดเล็ก หนักประมาณ 180 กิโลกรัม โดยดาวเทียมดวงนี้จะเป็นดวงที่ 14 ที่ NTU สร้างขึ้น ซึ่งมีความพิเศษคือ จะโคจรใกล้โลกเพียง 250 กม. เท่านั้น (ส่วนใหญ่ดาวเทียมในอวกาศจะอยู่ห่างจากโลก 500 - 800 กม.) สาเหตุที่ไม่ค่อยมีดาวเทียมโคจรในระดับความสูงนี้เนื่องจากจะถูกล้อมรอบด้วยก๊าซที่มีปฏิกิริยาสูงและแรงเสียดทานในชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจทำให้ไมโครชิปที่ละเอียดอ่อนเสียหายได้

“Elite” (Extremely Low Earth Imaging Technology Explorer) ภาพจาก GAVIN FOO

Lim Wee Seng ซึ่งเป็น Executive Director ของศูนย์วิจัยดาวเทียม NTU กว่าวว่า เป็นเรื่องท้าทายในการพัฒนาดาวเทียมให้โคจรในวงโคจรใกล้โลกแบบนี้ แต่ก็มีข้อดีคือ ดาวเทียมที่มีระยะห่างจากโลกเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับดาวเทียมทั่วไป จะสามารถจับภาพที่มีคุณภาพดีกว่าในความละเอียดสูงสุด 50 ซม. เท่ากัน ช่วยให้สามารถติดตามการแพร่กระจายของเถ้าภูเขาไฟหลังจากการปะทุได้ดีขึ้น เป็นต้น รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมจะเร็วขึ้น เนื่องจากดาวเทียมอยู่ใกล้โลก และยังลดความเสี่ยงต่อการชนกับวัตถุอื่นหรือดาวเทียมที่ไม่ได้ใช้งานด้วย

อนึ่ง ถึงแม้สิงคโปร์จะไม่ใช่ประเทศที่มีท่าอวกาศยาน (Spaceport) แต่ก็เป็นประเทศที่เชี่ยวชาญในการสร้างส่วนประกอบอวกาศที่มีเทคโนโลยีสูงและดาวเทียมขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยีอวกาศทั้งในประเทศ-ต่างประเทศมากกว่า 60 แห่ง และมีผู้เชี่ยวชาญ-นักวิจัยรวมกันมากกว่า 2,000 คน โดยตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา สิงคโปร์ได้สร้างดาวเทียมมากกว่า 30 ดวง


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : straitstimes

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดาวเทียมEliteExtremely Low Earth Imaging Technology ExplorerTechnologyเทคโนโลยีนวัตกรรมInnovationThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด