แชร์

Copied!

ตรวจสอบพบ : ภาพอ้าง “รอยเลื่อนสะกาย” คนแห่แชร์กว่าพันครั้ง ที่แท้ภาพ AI

29 มี.ค. 6814:30 น.
สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ#ข่าวปลอม
ตรวจสอบพบ : ภาพอ้าง “รอยเลื่อนสะกาย” คนแห่แชร์กว่าพันครั้ง ที่แท้ภาพ AI

แผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา Thai PBS Verify พบการรายงานอ้างภาพแผ่นดินแยกขนาดใหญ่เป็นภาพของ "รอยเลื่อนสะกาย" ในเมียนมา แต่จากการตรวจสอบพบเป็นเพียงภาพที่สร้างจาก AI เตือนอย่าหลงเชื่อหลังคนแห่แชร์ไปกว่า 1,000 ครั้ง

แผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างรุนแรงเมื่อวานที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดความเสียหายและการสูญเสีย ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น กลับมีการแชร์ภาพที่กำลังเป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย ที่อ้างว่าเป็นภาพของ "รอยเลื่อนสะกาย" (Sagaing Fault) ที่เกิดขึ้นใน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ผ่านมา

แหล่งที่มา : Facebook

กระบวนการตรวจสอบ

เราพบเพจที่ชื่อ "อาสาปทุม" โพสต์ภาพระบุข้อความ "ภาพรอยเลื่อนสะกาย - ยักษ์หลับแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สาเหตุแผ่นดินไหวที่ไทยและเมียนมา" ซึ่งภาพดังกล่าวมีผู้สนใจกดถูกใจไปกว่า 760 ครั้ง และแชร์ภาพดังกล่าวไปแล้วถึงกว่า 1,100 ครั้ง

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงภาพโพสต์ของเพจ

อย่างไรก็ตามเมื่อเรานำภาพดังกล่าวไปทำการตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบภาพของ Google Lens และพบว่าภาพดังกล่าวไปตรงกับแหล่งอื่น ๆ อีก 2 ที่ด้วยกัน ได้แก่ นี่ และ นี่

 

ผลการค้นหาด้วย Google Lens พบภาพที่เหมือนกันจำนวน 2 ภาพ แต่ภาพทั้งสองมีระยะเวลาโพสต์ที่ช้ากว่าโพสต์ของเพจอาสาปทุม
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่า โพสต์จากทั้ง 2 แหล่ง มีการโพสต์ที่ช้ากว่าโพสต์ของเพจ "อาสาปทุม" ที่ได้มีการตรวจสอบ จึงไม่ใช่แหล่งต้นทางของภาพดังกล่าว

เราจึงนำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบภาพจาก AI ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ร้อยละ 99 ถูกสร้างจาก AI ของ midjourney (ลิงก์บันทึก)

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบภาพที่พบว่าเป็นภาพที่ถูกสร้างด้วย AI

รอยแยกลักษณะนี้มีจริงหรือไม่

เราพบว่ารอยแยกที่คล้ายกับภาพดังกล่าว มีอยู่จริงในประเทศจีน โดยเป็นรอยแยกขนาดใหญ่ ในเมืองผิงหลู มณฑลซานซี บนที่ราบสูง Loess ซึ่งเป็นพื้นที่สูงทางตอนเหนือของจีน

รอยแยกดังกล่าวมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 400,000 ตารางกิโลเมตร เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และมีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งไม่ใช่รอยเลื่อนสะกาย และไม่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนสะกายแต่อย่างใด

ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ?

เราสามารถตรวจสอบภาพต่าง ๆ ด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ดังนี้

 

คู่มือฉบับย่อ "ตรวจสอบข่าวปลอมเบื้องต้น" : https://www.thaipbs.or.th/now/content/2010

 

รู้จัก "Metadata" เครื่องมือ Fact check ตรวจสอบภาพจริง-ปลอม : https://www.thaipbs.or.th/now/content/2277

 

จับผิดภาพ #AI อย่างไร ? เรียนรู้ "ประโยชน์-โทษ" เสริมทักษะใหม่ในยุคดิจิทัล : https://www.thaipbs.or.th/now/content/2263