แชร์

Copied!

ตรวจสอบแล้ว คลิปประท้วงตุรกี แท้จริงคือคลิปเก่า โป๊ปฟรานซิสเยือนติมอร์ – เลสเต

18 เม.ย. 6811:29 น.
รอบโลก#ข่าวปลอม
ตรวจสอบแล้ว คลิปประท้วงตุรกี แท้จริงคือคลิปเก่า โป๊ปฟรานซิสเยือนติมอร์ – เลสเต

สารบัญประกอบ

    ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางการเมืองในตุรกี หลังการจับกุมเอเคร็ม อีมาโมกลู นายกเทศมนตรีอิสตันบูล คู่แข่งคนสำคัญของประธานาธิบดีแอร์โดกัน เกิดการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศ แต่กลับมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่บิดเบือนข้อเท็จจริง โดยอ้างว่าเป็นการประท้วงในตุรกี ทั้งที่จริงแล้วเป็นภาพพิธีกรรมทางศาสนาจากเหตุการณ์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนติมอร์-เลสเต

    การจับกุมเอเคร็ม อีมาโมกลู นายกเทศมนตรีของเมืองอิสตันบูล คู่แข่งทางการเมืองคนสำคัญของประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดกัน ส่งผลให้เกิดการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศตุรกี อย่างไรก็ตาม คลิปวิดีโอที่ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นภาพจากการประท้วงในอิสตันบูลและเมืองอื่น ๆ ในตุรกี ที่จริงแล้วเป็นวิดีโอที่แสดงพิธีกรรมทางศาสนาขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนติมอร์-เลสเต ในเดือนกันยายน 2567

    "ชาวตุรกีหลายแสนคนรวมตัวชุมนุมประท้วงการจับกุมนายเอเคร็ม อีมาโมกลู นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลที่ถูกควบคุมตัวไปเมื่อวานนี้และเรียกร้องในประธานาธิบดีลาออก" โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 เขียนคำบรรยาย โพสต์ดังกล่าวแชร์คลิปวิดีโอความยาว 26 วินาที ที่เผยให้เห็นฝูงชนจำนวนมากและขบวนรถเคลื่อนตัวไปตามถนนในเวลากลางคืน

     

    ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ


    คลิปเดียวกันนี้ยังปรากฏพร้อมคำกล่าวอ้างลักษณะเดียวกันในโพสต์ภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ  อาหรับ และ กรีก โดยโพสต์เหล่านี้ปรากฏขึ้นหลังนายกเทศมนตรีเอเคร็ม อีมาโมกลู ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ในข้อหาทุจริตและช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งส่งผลให้เกิดจลาจลในตุรกีที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี (ลิงก์บันทึก)

    อิมาโมกลู นักการเมืองวัย 53 ปี จากพรรคฝ่ายค้านของตุรกี ถูกมองว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญประธานาธิบดีแอร์โดกัน ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของตุรกี อย่างไรก็ตาม คลิปที่ถูกแชร์อย่างแพร่หลายนี้แสดงพิธีกรรมทางศาสนาในติมอร์-เลสเต ไม่ใช่ในตุรกีตามคำกล่าวอ้าง

    การค้นหาภาพแบบย้อนหลังโดยใช้คีย์เฟรมของวิดีโอ พบว่าวิดีโอดังกล่าวถูกแชร์ในติ๊กตอกตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2567 (ลิงก์บันทึก) คำบรรยายใต้วิดีโอชี้ว่า วิดีโอถูกถ่ายไว้ได้ระหว่างที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จเยือนติมอร์-เลสเต

     

    เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ (ซ้าย) และโพสต์ติ๊กตอกในเดือนกันยายน 2567


    เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงประกอบพิธีมิสซาในกรุงดิลี เมืองหลวงของติมอร์-เลสเต โดยรายงานของวาติกันระบุว่า มีประชาชนเข้าร่วมมากกว่า 600,000 คน หรือเกือบครึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลัก (ลิงก์บันทึก)
    ในช่วงวินาทีที่ 14 ของโพสต์ติ๊กตอก ยังปรากฏให้เห็นโปสเตอร์ที่ต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างชัดเจน

     

    ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอก ณ วินาทีที่ 14 ซึ่งเผยให้เห็นโปสเตอร์ต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

    AFP เปรียบเทียบสถานที่ที่ปรากฏในวิดีโอกับภาพในแผนที่กูเกิล ซึ่งยืนยันว่าสถานที่ในวิดีโอคือถนนเส้นหนึ่งในเมืองดิลี เมืองหลวงของติมอร์-เลสเต

    Screenshot comparison of the TikTok video (L) and its corresponding Google Maps street imagery with corresponding elements highlighted by AFP
    Screenshot comparison of the TikTok video (L) and its corresponding Google Maps street imagery with corresponding elements highlighted by AFP

    ก่อนหน้านี้ AFP ได้ตรวจสอบวิดีโอเดียวกันนี้ที่ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นคลิปจากการชุมนุมเพื่อสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์

    ข้อมูลจาก AFP

    สารบัญประกอบ